ติดต่อ : www.iamchild.org / www.facebook.com/iamchildpage สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกตอกย้ำว่าเป็นพื้นที่ในสภาวการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอข่าวในสื่อกระแสหลัก ที่นำเสนอภาพข่าวแห่งความรุนแรง เป็นส่วนน้อยที่จะมีการเสนอภาพข่าวที่เป็นด้านบวก แต่ผู้คนในพื้นที่แห่งนี้ก็ยังคงอยู่ด้วยกันอย่างปกติ แม้ว่าการใช้ชีวิตประจำวันจะถูกกดดันด้วยความหวาดกลัวจากสื่อ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กจัดทำ “โครงการพลังเด็ก – เยาวชนผสานชุมชนเข้มแข็ง สร้างพื้นที่สุขภาวะเพื่อสันติภาพชายแดนใต้” ซึ่งนำโดยเด็กเยาวชน จนเกิดความเปลี่ยนแปลง นั่นคือสามารถประสานรอยร้าวความแตกแยกของหมู่บ้านที่เกิดจากภาวะการเมือง ให้กลับมามีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ดึงเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงจากนักสูบ – นักเสพยารุ่นใหม่มาสู่กิจกรรมสร้างสรรค์ มีภูมิคุ้มกันจากอบายมุข ขับเคลื่อนหมู่บ้านชุมชนสู่สุขภาวะดี ผ่านการขับเคลื่อนโดยใช้หลักคิดหรือ “เครื่องมือ 3 ดี” เพื่อ ขับเคลื่อนตำบลต้นแบบในการพัฒนาเด็กโดยพลังเด็กและเยาวชน และเครือข่ายคนทำงานด้านเด็ก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการสร้างกระแสคลื่นสร้างสรรค์สันติภาพโดยคนในพื้นที่ ดังต่อไปนี้ 1.บ้านบาโงปะแต ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส บ้านบาโงปะแต ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากชุมชนอื่นทั้งความรุนแรงและยาเสพติด ส่งผลให้เยาวชนส่วนใหญ่ขาดสิ่งยึดเหนี่ยว ต่างคนต่างอยู่ บ้างก็เสพยา จนเหลือกลุ่มเยาวชนน้ำดีน้อย เริ่มจากกลุ่มเยาวชนนี้ รวมตัวกันเล่นกีฬา […]
ติดต่อ : www.facebook.com/TawanokDJung พื้นที่ดีๆ ที่เกิดจากความร่วมมือของทั้งคนในชุมชน ครู และตัวเยาวชนเอง ร่วมมือร่วมใจกันทำพื้นที่สร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด 3 ดี เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็ก เยาวชน และคนในชุมชน ที่สามารถเป็น ผู้สื่อสารเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนของตนเอง เช่น การรู้และต่อยอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การรู้จักการใช้สื่อ และทำสื่อเป็น รวมทั้งสามารถบูรณาการ กระบวนการทักษะรู้เท่าทันสื่อและความเป็นพลเมือง โดยนอกเหนือจากเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนและครอบครัว ยังมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั่นคือเป็นพื้นที่ต้นแบบในระดับชุมชนและร่วมมือกันผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อชุมชนของตนเอง จนกลายเป็น 11 พื้นที่ดีๆ ในภาคตะวันออก ภายใต้ชื่อ ตะวันออกดีจัง 1. บ้านเนินไทร (ข้าวสัมมาชีพ) ชุมชน จ.สระแก้ว 2. ศิลปะหน้าสถานีรถไฟ กลุ่มรักการอ่าน สื่อ/พื้นที่สาธารณะ จ.สระแก้ว 3. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา ชุมชน จ.ระยอง 4. […]
สื่อธรรมชาติ อย่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กๆและครอบครัว ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ป่า โดยใช้ห้องเรียนธรรมชาติ เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับเด็กและครอบครัว สนับสนุนให้เแหล่งเรียนรู้เขาใหญ่ดีจังเป็นพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็กและครอบครัว รวมถึงพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ชุมชนรอบเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ง่าย จนกลายเป็นเครือข่ายเขาใหญ่ดีจัง เครือข่ายคนทำงานด้านเด็กและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานคือ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ ใน “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากการรวมกลุ่มที่หลากหลายกลุ่มร่วมกันจัดห้องเรียน 1. กลุ่มไม้ขีดไฟ ที่ตั้ง : อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ติดต่อ : http://www.fai-dee.com / http://www.facebook.com/maikeedfaigroup กลุ่มคนเล็กๆ ในหมู่บ้านทำงานเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เชื่อว่า “เด็กและเยาวชนคือพลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ” จึงรวมตัวกันจัดค่ายอบรมแบบมีส่วนร่วม, ละครบอกเล่าเรื่องราวของธรรมชาติ เพื่อฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ และสร้างจำสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ป่าไม้ 2. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่ ที่ตั้ง : อ.เมือง และ อ. ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ติดต่อ : http://www.facebook.com/Rak.Khaoyai.Group กลุ่มรักษ์เขาใหญ่ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนท้องถิ่นที่อยู่รอบๆ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ปราจีน บุรี สระบุรี นครนายก และนครราชสีมา […]
ติดต่อ : http://www.facebook.com/phetburideejung จากจุดเริ่มต้นของการรวมตัวของกลุ่มเด็กและเยาวชน ในจังหวัดเพชรบุรี กลายเป็นโครงการสานต่อวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี ด้วยสื่อ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา ต่อยอดขยายผลสู่การดำเนินโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ “เพชรบุรี…ดีจัง” ปี 2554 กลุ่มเยาวชนจาก 8 อำเภอร่วมกันเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชนของตนเอง 1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์สร้างนวัตกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ต้นแบบ ยกขบวนเปิดพื้นที่สร้างสรรค์กลางเมือง เพชรบุรี…ดีจัง ถนนยิ้มได้ นำเสนอสื่อศิลปะของชุมชนต้นแบบ ปี 2555 กลุ่มเยาวชนต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์จาก 8 อำเภอ รวมตัวกันเป็นเเครือข่ายเพชรบุรี…ดีจัง ออกค้นหา 5 พลัง 5 สื่อในชุมชน ติดยิ้ม 5 พื้นที่ วัด ถนน ชุมชน แม่น้ำ ตลาด จัดมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี…ดีจัง ทั้งเมือง ปี 2556 เครือข่ายเพชรบุรี…ดีจัง กลุ่มเยาวชนต้นแบบ กระจายพื้นที่สร้างสรรค์ติดยิ้มไปทั่วพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ทั้งภูเขา […]
ติดต่อ : http://www.facebook.com/sumnara.nara หลังจบการศึกษาพวกเขากลับมาพัฒนาชุมชนที่เกิดและเติบโต ด้วยความตั้งใจในการเปิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อเยาวชนรุ่นน้องได้ใช้และเข้าใจบ้านเกิดของตัวเอง โดยใช้ป่าฮาลาบาลา เป็นสื่อในการเรียนรู้ อนุรักษ์ และให้ความสำคัญกับสิ่งมีค่าในบ้านตนเอง เมื่อเข้าใจ จะเกิดความภาคภูมิใจ พร้อมค้นคว้าและสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านการร่วมมือจาก คนเฒ่าคนแก่ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ปราชญ์ชาวบ้าน และใช้สื่อศิลปะสร้างสรรค์ อาทิ ภาพถ่าย โปสการ์ด การวาดภาพระบายสี เป็นเครื่องมือบอกเล่าเรื่องราว เพื่อเรียนรู้ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์บ้านเกิด และเกิดสำนึกพลเมืองที่มาจากจิตสำนึกของตนเองอย่างแท้จริง
ชวนมองทั่วประเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติม
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเรื่องเล่นของเด็กๆ ไม่จำกัดเพศ อายุ “มาร่วมแลกเปลี่ยน” กับงานสัมมนานานาชาติ “สิทธิการเล่นของเด็กในภาวะวิกฤติ” International Seminar on Access to Play in Crisis วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องสมรรถนานา โรงแรมนูโวซิตี้ สามเสนซอย 2 เขตพระนคร กรุงเทพฯขอเพียงคุณเห็นว่าเรื่องเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กๆทุกคนบนโลก ในงานสัมมนาคุณจะได้ความรู้จาก “งานวิจัยการเล่นของเด็กในสภาวะวิกฤติ”?? โดย นักวิจัยจาก 6 ประเทศ ??️ ??️️ ??️ ?? ??️ ??️ (ญี่ปุ่น,เนปาล,อินเดีย,ไทย,เลบานอน,ตุรกรี,) และสาระความรู้เรื่องการเล่นอีกมากมาย *****มีล่ามแปลภาษา อังกฤษ-ไทย ตลอดทั้งงาน***** สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ : คุณสุนีย์ สารมิตร 02- 433-6292 กด 0
อ่านเพิ่มเติม
19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560
อ่านเพิ่มเติม
เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น 23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี 2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา 8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน อ.จะนะ จ.สงขลา 14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข […]
อ่านเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]
อ่านเพิ่มเติม
“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้ มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’” นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี ของชุมชนวัดอัมพวา เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง บอกเล่า ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้ เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เกมต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด “ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ” …ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์ ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้ ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ “ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้ ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน ทำกิจกรรมกับพี่ๆ เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง ความคิดผมก็เปลี่ยน ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’” […]
อ่านเพิ่มเติม
ะ 3 มิ.ย. นี้เวลา 17.00 นี้เป็นต้นไป กลุ่มไม้ขีดไฟจัดกิจกรรมดีๆเพื่อเด็กและครอบครัวค่ะ “เดิ่นนี้ดีจัง ตอน มหัศจรรย์การเล่น” จูงมือกันมา ทำกิจกรรมสนุกๆที่สวนไฟฝัน พาลูกมาฟังนิทาน จากครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เพลินฟังเดี่ยวขิม และดนตรีสบายๆแบบครอบครัว ชมละครหุ่นเงา กระตุ้นจินตนาการ พ่อโอ๊ค จากพระนครนอนเล่น มาเล่าเรื่องเล่นแล้วลูกได้อะไร และมากมายกิจกรรม ลงมือทำ ศิลปะ ประดิษฐ์ ทำขนม ลงมือทำ ลงมือทาน ทำฟรี ดูฟรี ตลอดงาน กลุ่มไม้ขีดไฟฝากบอกว่าอยากชวนทุกคนมาจริงๆนะคะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ https://web.facebook.com/maikeedfaigroup/?pnref=story
อ่านเพิ่มเติม
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) จัดอบรม กระบวนการ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ให้กับเยาวชนจำนวน 40 คน จาก 5 เมืองประกอบด้วย ชุมแสง นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.2560 ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการอบรมมีกิจกรรมเรียนรู้เพื่อตระหนักถึงพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน ฝึกการคิด การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เห็นพลังของกลุ่ม ในการอบรมเยาวชน 3 ดี
อ่านเพิ่มเติม
มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่ ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60 ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: […]
อ่านเพิ่มเติม
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมกับชุมชนวัดดวงแข เตรียมจัดงาน “มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม” ซึ่งคราวนี้มาในตอน “เรื่องกินเรื่องใหญ่” นำเสนอการทำงานพัฒนาเด็กและวิถีชุมชนภายใต้เรื่องราวของอาหารการกินอยู่ ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว พบกับกิจกรรม work shop อาหารวัฒนธรรม ,ทัวร์ชมชุมชน ,การแสดงเด็ก ,ร้านอาหารชุม ,ชมแลนด์มาร์ครองเมือง ++ พบกันวันที่ 2 เมษายน 2560 เวลา 15.00-19.00 น. ณ ถนน รองเมือง ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข ติดตามความเคลื่อนไหว้ที่ https://www.facebook.com/iamchildpage/
อ่านเพิ่มเติม
เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง” มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]
อ่านเพิ่มเติม
Japanดีจัง (1) พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย […]
อ่านเพิ่มเติม
จังหวัดเพชรบุรี โดยเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสมทบสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัท เอกชน ชุมชนพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม ด้านเอกชนเจ้าของที่ดิน 2 แปลงให้ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลเป็นลานกิจกรรม สืบเนื่องจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ริเริ่มจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แต่ปีนี้ทาง สสส. ลดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย ด้านกิจกรรมในปีนี้ นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง […]
อ่านเพิ่มเติม