Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
เพชรบุรี…ดีจังถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้…ดีจัง | ชุมชน 3 ดี
เพชรบุรี…ดีจังถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้…ดีจัง

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ18813195_1387065601387736_3191314074927345085_n

 

ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง เรียนรู้แล้วลองทำตาม เกิดความรู้ตามมามากมาย นำเสนอนโยบายต้นแบบ ๑ ชุมชน ๑ พื้นที่สร้างสรรค์ ต่อสาธารณะ

 

2555 สร้างกระแสสังคม ด้วยกระบวนการความร่วมมือของ 5 พลัง ได้แก่ พลังวัฒนธรรม พลังชุมชน พลังเครือข่าย พลังเยาวชน และ พลังสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ใช้สื่อสร้างสรรค์ทั้ง 5 อันได้แก่ สื่อวิถีชุมชน สื่อภูมิปัญญา สื่อศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชนท้องถิ่น และ สื่อ ICT เพื่อเปิดเส้นทางพื้นที่สร้างสรรค์ 5 ยิ้ม คือ ถนนยิ้ม แม่น้ำยิ้ม ตลาดยิ้ม วัดยิ้ม ชุมชนยิ้ม สร้างความหมายใหม่ เพชรบุรี ดีจัง

 

2556 ปรากฏการณ์เมือง 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ขยายพื้นที่สร้างสรรค์ทั่วจังหวัดเพชรบุรี เกิดกลุ่มเยาวชนกว่า 30 กลุ่ม ในพื้นที่ 8 อำเภอ สร้างความสัมพันธ์ด้วยการร้อยเรียง เชื่อมโยง เครือข่าย เพชรบุรี ดีจัง จากภูเขาถึงทะเล เปลี่ยนความห่างไกลเป็นความใกล้ชิดกัน

 

2557 – 2558 เพชรบุรี เมืองมีชีวิต แกนนำเยาวชนเครือข่าย สร้างสรรค์กิจกรรม นำสื่อ ศิลปะมาขับเคลื่อนชุมชน ผ่านการเรียนรู้สื่อ ศิลปะชุมชน นำมาออกแบบ ผลิตอย่างสร้างสรรค์ และจัดกิจกรรมสื่อสาร ผลิตซ้ำ ทำแล้วก็ทำอีก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 5 ปี เมืองเพชรบุรีกลับมีชีวิตชีวาเห็นได้

 

2559 ชุมชนสร้างสรรค์ ปีที่ 6 ของ เพชรบุรี ดีจัง พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เริ่มขยายผลกว้างขึ้นในชุมชน หลายพื้นที่มีการทำงานร่วมกันของกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน ร่วมกันพัฒนาชุมชนของตน สร้างพื้นที่เรียนรู้ในชุมชนในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบทและความสนใจ เป็นพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต

 

2560 จากการเรียนรู้ชุมชนของกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้เรามีความตั้งใจว่า จะชักชวนกันนำความรู้ที่ได้รับ มาออกแบบเพื่อสื่อสารเรื่องราวของชุมชน เพชรบุรี ดีจัง สู่สาธารณะให้มีคุณค่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนจะออกมาในรูปแบบไหนนั้น ขอได้โปรดติดตามกันต่อไป ซึ่งโครงการเพชรบุรี ดีจัง ปีที่ 7 จะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนกรกฏาคมนี้จ้ะ

ข้อมูลจาก กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี18835509_1387065454721084_8312609569790218259_n

บทความที่เกี่ยวข้อง

29 พ.ค. เยาวชนบางกอกนี้…ดีจัง  และชุมชนวัดอัมพวา จัดกิจกรรม อัยย๊ะ เยาวชนเปิดท้าย สไตล์สื่อสร้างสรรค์ โดยรวมพลเยาวชนจาก 3 พื้นที่ นั่นคือบางพลัด บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย  เปิดท้ายสื่อสร้างสรรค์ บอกเล่าเรื่องดีๆ กิจกรรมดีๆ เด็กๆมีพื้นที่ได้เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ขับเคลื่อนชุมชนให้มีชีวิต ด้วย 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยการสนับสนุนของเครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง   มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และสถาบันสือเด็กและเยาวชน ติดตามกิจกรรม https://www.facebook.com/profile.php?id=100005934120805&fref=photo    

น้องแซค เริ่มต้นเข้ากิจกรรมกับเครือข่ายสร้างสรรค์โดยการให้สัมภาษณ์เรื่องเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง “ผมเป็นรุ่นแรกที่ได้ไปเมืองทองในการนำผลิตภัณฑ์นักเรียนไปจำหน่าย หลังจากนั้นก็ได้ทำงานภายนอกโดยได้ร่วมงานกับ มพด. โดยมีพี่หนิง (ดวงใจ ที่ยงดีฤทธิ์) เป็นคนให้คำปรึกษาและสนับสนุนกลุ่มของผม  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสัญจร กิจกรรมออกบูทศิลปะต่างๆ” การทำงานในกลุ่มเด็ก มองเห็นว่าการทำงานของเครือข่ายพื้นที่สร้างสรรค์ ทำให้เด็กๆมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์  ให้โอกาสให้ทุกๆคนในสังคมได้มีส่วนร่วม และแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ “ผมคิดว่าทำอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์และมีการแบ่งปันโอกาสแห่งความสุขให้กับทุกคน” กิจกรรมศรีสะเกษติดยิ้มที่กำลังทำนั้นเด็กๆกลุ่มเยาวชนพลเมืองสร้างสุข ได้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ไว้และกิจกรรมที่กำลังดำเนินการตอนนี้คือ กิจกรรมตลาดบ้านฉันปันยิ้มที่จะรวมเด็กๆและผู้คนในชุมชนตลาดสดราษีไศลมาทำกิจกรรมร่วมกันโดยการบูรณากลางตลาดสดให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์โดยการนำศิลปะเข้าไปสู่ตลาดนำไปสู่การนำเสนองานศรีสะเกษติดยิ้มปี 2 การทำกิจกรรมครั้งนี้  ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน และสนับสนุนบุตรหลานเข้ามาทำกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์และยังเกิดความภาคภูมิใจในตัวของบุตรหลาน “ตอนนี้น้องๆที่เขามาในกลุ่มเราคุยกันว่าพ่อแม่พี่น้องใครในกลุ่มบ้านใครมีอะไรดีๆที่อยากมีพื้นที่ในการมาขายมาโชว์สินค้าบ้าง อยากให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการออกมาทำกิจกรรมกับลูกๆ มาเห็นว่าลูกทำอะไร เริ่มเอาครอบครัวที่สนใจ และชุมชนยังเป็นกำลังหลักในเรื่องการนำเสนอภูมิปัญญา” การทำกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆของคนในสังคม รวมทั้งได้แนวคิดในการต่อยอด “ผมคิดว่าเมื่อตัวเองได้เป็นนักปกครองอย่างที่หมาย ตามที่ผมได้เรียนมา ผมจะสนับสนุนเขตปกครองของตนเองให้เป็นตัวอย่างพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กอย่างแน่นอน” โดยก่อนที่เข้ามาทำกิจกรรมก็ยังไม่มีคนรู้จักกลุ่มเยาวชน หลังจากที่มาทำกิจกรรมคนในสังคมเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยให้บุตรหลานมาร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้น เมื่อถามว่าคิดว่าทำไมเราและคนอื่นต้องทำกิจกรรม น้องแซคได้เล่าว่า “ผมคิดว่าเรามีแรงบันดาลใจผลักดัน ยกตัวอย่างผมเองได้แรงบันดาลใจจากครู (นายอุดมวิทย์ สุระโคตร ) ผอ. โรงเรียน บ้านกระเดาอุ่มแสง และที่สำคัญ พี่หนิง (ดวงใจ เที่ยงดีฤทธิ์) ที่สนับสนุนและไม่ทิ้งเด็กๆ วันที่ไปสัมมนาที่กรุงเทพ พี่หนิงร้องให้และพูดว่าท้อ ผมเลยได้แรงบันดาลใจที่จะช่วยกันทำงานที่จะรวมพลังเด็กๆในการทำงานทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสังคมบ้านเรา” […]

19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560

เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 โดยทีมโค้ชชิ่งโครงการไอซีทีแฮปปี้ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้จัดการประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี : สื่อดี พื้นที่ ภูมิดี เพื่อร่วมจัดทำและวางแผนการทำโครงการปี 2559 ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ซึ่งในปีนี้โครงการแต่ละโรงเรียนมุ่งเน้นเชิงลึกและชัดเจนมากขึ้นมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อในการบูรณาการรายวิชาและการ สร้างสื่อสร้างสรรค์ภายใต้กระบวนการสอนแบบ PBL การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน บรรยากาศในการประชุมเป็นกันเอง สบายๆ คุณครูได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วยค่ะ และทางโครงการฯ ยังได้มอบสื่อความรู้ใหม่ๆ Roll up ชุดใหม่ ของที่ระลึก ฯลฯ เพื่อให้ครูแกนนำ นำไปใช้ในกิจกรรมภายใต้โครงการฯ   ข้อมูลและภาพจาก Icthappy