Japanดีจัง (1)
พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา
ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น
ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย
สายแรก เดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อร่วมเวิร์คชอปนิทานเพลงกับกลุ่มรักษ์ลาหู่ ณ หมู่บ้านสุดชายแดนไทย-พม่า บ้านกองผักปิ้ง และ แกน้อย อ.เชียงดาว Suzumura Nodoka สาวน้อยน่ารักเป็นนักวาดการ์ตูน เล่านิทาน และทำกิจกรรมศิลปะกับผู้พิการทางสมองที่องค์กรการกุศล Tanpopo-No-Ye และอีกหนึ่งหนุ่มไฟแรง Nishimura Akihiro จบการศึกษาดนตรีด้านเปียโน มาร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์กับเด็กๆ หลายต่อหลายโครงการ ทั้งคู่พกพาความหนุ่มสาวมาเรียนรู้โลกกว้าง ใช้ชีวิตบนดอย เต้นรำร้องเพลงลาหู่ กินน้ำพริกลาหู่ เปิดโลกนิทานและเสียงเพลงร่วมกับเด็กลาหู่
สายที่สอง เป็นรุ่นซีเนียร์หน่อย ชายหนุ่มทั้งคู่สนใจในประเด็นศิลปะสำหรับเด็กเมือง Kojima Takashi เป็นนักดนตรีแนวร่วมสมัยที่ทำงานองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ Cobon เพื่อทำกิจกรรมดนตรีศิลปะกับเด็กในเมืองโอซากา มาพร้อมกับคู่หู Takuro Iwabuchi ทำงานด้านเขียน ด้านหนังสือ และ ศิลปะ ทั้งสองคนคิดโปรแกรมและคู่มือเวิร์คชอปศิลปะชื่อว่า “อะไรกันเนี่ย! What’s Cool!” เพื่อเปิดโลกศิลปะไร้รูปแบบให้เป็นโลกเรียนรู้จินตนาการสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ สองหนุ่มนี้มาทำเวิร์คชอปกับก๊วนเด็กแพร่งแก๊งอาสารักยิ้ม อยู่ที่สามแพร่ง
ทั้งสองสาย จะกลับมารวมกันเพื่อนำเสนอผลงานที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำงานร่วมกับเพื่อนภาคีพื้นที่นี้…ดีจังและเด็กๆ ทั้งจากหมู่บ้านลาหู่และชุมชนสามแพร่ง ในงาน ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร 11-12 มีนาคมนี้ (ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด พกพาหัวใจมาก็พอ)
มาพบเพื่อน Japanดีจัง ที่สามแพร่งกัน
ติดตามรายละเอียดการเวิร์คชอปJapanดีจังในแต่ละสายตอนต่อไปก่อนมาชมผลงานพวกเขาที่ ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร นะครับ
เรื่องและภาพจาก Vorapoj Osathapiratana
พื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้วิถีสุขภาวะ ของชุมชน เริ่มวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ณ พื้นที่ใจกลางเมืองเพชรบุรี • ทอดน่องท่องชุมชนและตลาดเก่า ฟังเรื่องเล่าของการเปลี่ยนแปลง อุดหนุนพ่อค้าแม่ขายในท้องถิ่น ยินดีต้อนรับทุกท่านทุกวัน • ค้นหามุมบันดาลใจ สร้างงานศิลปะอย่างวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนบทความ หรือบทกวี มุมสุนทรีย์มีให้เลือกมากมาย • ชมงานศิลปะเชิงช่างหลากหลาย ที่ช่างศิลป์พื้นบ้านหลายท่านสร้างสรรค์ไว้ให้เป็นมรดกเมือง ในวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี • ร่วมกิจกรรม “เพื่อความเข้าใจในสายน้ำเพชร” ล่องเรือคายัคกับชมรมมหิงสาสายสืบ และชมนิทรรศการศิลปะที่ระเบียงแกลลอรี่ • อิ่มอร่อยกับอาหารรสชาติดี ตำหรับและฝีมือคนในชุมชนปรุงเอง หรือร่วมเรียนรู้วิธีทำกับกิจกรรมเวิร์คช็อปอาหารที่บ้านเรียนรู้ตั้งสวัสดิรัตน์ • สนุกสนานกับการปั้นดินให้ดัง และดำน้ำกับครูเจี๊บ สมบัติแม่น้ำเพชร ไขข้อข้องใจมีอะไรซ่อนอยู่ใต้แม่น้ำเพชร • ชมการสาธิต หรือ ร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปงานศิลปะงานช่างเมืองเพชรฝีมือคุณเอง ที่สามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ด้วย (มีทุกวันเสาร์) • ร่วมกิจกรรมถนนจักรยาน สนุกสนานกับการปั่นหลายรูปแบบ ปั่นออกกำลังกาย ปั่นไปไหว้พระ ปั่นไปเรียนรู้ ปั่นไปดูงานศิลปะ • […]
เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]
ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง” โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน เริ่มต้นคิด… ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก “แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป” จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ […]
20 ก.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมออกบูธงาน “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด งานนี้จัดขึ้นเพื่อประกาศการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการรวมพลังระหว่างภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐในการทำงานพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกระตุ้น เศรษฐกิจฐานราก และสร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายการประสานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยสรุปความว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสดใส ดีใจที่เห็นทุกคนมีรอยยิ้ม หน้าตามีความสุข วันนี้เรามาร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ สร้างพลังเพื่อทำความดีให้ประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง หรือข้าราชการ แต่ทำเพื่อประชาชนทุกคน ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำประชานิยม เพราะประชานิยมเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความนิยมต่อภาครัฐ โดยรัฐบาลนี้เป็นความร่วมมือของรัฐบาลกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา ภายในงาน สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนพาภาคีเครือข่ายร่วมออกงานด้วย อาทิ กลุ่มเพชรบุรี…ดีจัง นำพวงมโหตร มาจัดกิจกรรมให้คนภายในงานร่วมตัดและนำกลับไปเป็นที่ระลึก เป็นอีกสื่อดี ที่ทางสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่าย เปิดเมือง 3 ดีวิถีสุข นั่นคือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ส่งผ่านแนวคิดให้กับผู้เข้าร่วมงาน ขอบคุณภาพประกอบจาก กลุ่มลูกหว้า