เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน
วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม การเสียสละช่วยเหลือซึ่งกัน “หลากหลาย แต่เข้าใจ” เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การเคารพสิทธิในความเป็นพลเมือง “ปัญหานี้ ใครแก้”ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการมีจิตอาสาร่วมสร้างสรรค์ชุมชนตกเย็นล้อมวงชวนคุย ฟังเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ “ย่านบางกอกน้อย ย่านบางกอกใหญ่” โดยปราชญ์ชุมชน
วันที่ 21 มิถุนายน 2558ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ย่านบางกอกน้อย ย่านบางกอกใหญ่โดยน้องได้เรียนรู้ ถึงความเป็นมาของชื่อชุมชน,ประวัติความเป็นมาของชุมชน,วิถีชีวิตของคนในชุมชนจากอดีตสู่ปัจจุบัน,ประเพณี วัฒนธรรมและศาสนาของคนในชุมชน,การทำกิจกรรมของชุมชน,สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดความภาคภูมิใจ / สิ่งที่มีอยู่และไม่เกิดความพึงพอใจ
และมอบภารกิจให้น้องได้ปฏิบัติในการตามหายิ้มแต่ละชุมชน5 ภารกิจคือ
1.ตะลอนแชะภาพหายิ้ม (เพื่อนำมาเล่าสื่อสารสู่สาธารณะ)
2.แวะชม ชวนคุยและชื่นชม
3.มองแล้วชื่นชอบ…ไม่แช่มชื่นเมื่อมองเห็น
4.เบิกบานยิ้ม จะดีจังถ้าไม่เป็นแบบนี้
5.ร้อยเรื่องราวเล่าผ่านงานศิลป์ “ชุมชนยิ้ม ชุมชน 3ดี ชุมชนนี้…ดีจัง”
โดยแบ่งเยาวชนออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ไปเรียนรู้ชุมชน 9 ชุมชน (เขตบางกอกน้อย) ได้แก่ ชุมชนวัดโพธิ์เรียง,ชุมชนวัดครุฑ,ชุมชนวัดอัมพวา,ชุมชนวัดดงมูลเหล็ก,ชุมชนวัดรวกสุทธาราม,ชุมชนวัดมะลิ,ชุมชนวัดไชยทิศ,ชุมชนวัดสุวรรณาราม(ชุมชนบ้านบุ),ชุมชนตรอกข้าวเม่า
กลุ่มที่ 2 ไปเรียนรู้ชุมชน 9 ชุมชน (เขตบางกอกใหญ่) ได้แก่ ชุมชนตรอกกระจก,ชุมชนวัดสังข์กระจาย,ชุมชนหลังโรงกรองน้ำ,ชุมชนวัดท่าพระ,ชุมชนหลังวัดใหม่วิเชียร,ชุมชนตรอกตาแทน,ชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์,ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม,ชุมชนวัดโมลี
ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้ชุมชน เรียนรู้สังคม และได้รู้จักการแบ่งปันให้กับคนอื่น เรียนรู้ที่จะเป็นจิตอาสา ร่วมสร้างชุมชนยิ้ม ชุมชน 3 ดี
กลุ่มเด็กเมือง ชวนตะลอนเพลินชมเมืองยิ้ม โคราชดี๋ดอกเด่ เพลินฟังประวัติศาสตร์ถนนจอมพล 4 ประตูเมืองโคราช แวะเที่ยวMuseum & เสมาลัย story house วันละ 2 รอบ ในวันเสาร์อาทิตย์ 28-29 มกราคมนี้ แล้วไปเพลินต่อที่ลานย่าโม เทศกาลงานยิ้ม โคราช 2017 มาเดี่ยวก็ไม่เหงา มาเป็นคู่ก็สนุก มาเป็นกลุ่มก็เพลินดี จองตะลอนได้ที่ 0872519768 ชวนมาเพลินกับเรื่องราวโคราชยิ้มกันค่ะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ FB:https://www.facebook.com/profile.php?id=100005330894729
“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้ มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’” นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี ของชุมชนวัดอัมพวา เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง บอกเล่า ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้ เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เกมต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด “ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ” …ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์ ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้ ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ “ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้ ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน ทำกิจกรรมกับพี่ๆ เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง ความคิดผมก็เปลี่ยน ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’” […]
เริ่มเสาร์อาทิตย์นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬมีงานชุมชนสร้างสรรค์ส่งท้ายปีเก่ามาเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคนร่วมแบ่งปัน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับคำสั่งไล่รื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า …. งาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ เป็นงานที่ศิลปิน นักออกแบบ นักจัดการทางศิลปะ ร่วมมืกับชาวบ้านเวิร์คชอปทำแพคเกจจิ้งสินค้าภายในชุมชน จัดทำของที่ระลึกและศิลปะทำมืออีกมากมายไว้รอต้อนรับเพื่อนๆ เสาร์อาทิตย์ 24-25 ธันวานี้ เบื้องหลังความคิดที่มาของงานจากปากคำ Roj Siam Ruay ผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ กล่าวไว้น่าสนใจมาก “การสร้างอัตลักษณ์อย่างง่าย : ให้จำคำนี้ไว้ “แวดล้อมคือตัวตน” ทุกสิ่งอันจะช่วยกันเล่าและเกลี้ยกล่อมให้คนดูงาน เข้าใจและนึกไปถึงถิ่นฐานที่มาได้ ในภาพเป็นชุดตรายางจากสิ่งรายรอบของชุมชนป้อมมหากาฬ(บางส่วน) มีคน เด็ก แมว ต้นไม้ สุ่มไก่ ศาลพระภูมิ พวงมะโหตร ฯลฯ เมื่อมันทำงานพร้อมๆกัน ‘ภาพจำติด’ จะสร้างให้ผู้ที่เคยสัมผัสพื้นที่เข้าใจได้ว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับชาวป้อมมหากาฬ ที่มาของแบบนั้นเป็นต้นทุนเรื่องราวที่ดี เป็นเรื่องจริง ปรากฏจริง แล้วยิ่งถ้าไม้ที่ทำด้ามตรายาง เป็นไม้ที่เหลือจากการไล่รื้อด้วยล่ะ? คุณว่ามันจะเป็นที่อื่นได้ไหม?” ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ มาหากันนะ … ส่วนงาน ต่อ […]
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ […]