“พ่อแม่หนูทำอาชีพอะไรกันบ้างจ้า?” เสียงคุณครูถามนักเรียนในชั้นเรียน เป็นคำถามที่มีความเงียบเป็นคำตอบให้กับคุณครู
คุณครูโรงเรียนบ้านเทิน จ.ศรีสะเกษ เล่าให้เราฟังว่า …..เด็กๆ ที่นี่ไม่เคยพูดถึงอาชีพพ่อแม่ตนเองเลย เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ พ่อแม่มีอาชีพเข็นบะหมี่ขายที่ กทม.และเมืองใหญ่ต่างๆ หลายต่อหลายรุ่น เด็กๆ อายและไม่ภูมิใจที่มีพ่อแม่เข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย
“เหนื่อยใจไม่รู้จะบอก จะสอนเด็กๆ อย่างไร?” คุณครูกล่าว
กระบวนการ “สื่อสร้างสรรค์” ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) จึงเริ่มต้นขึ้น……….
เริ่มจากการ…..เหมารถบัสหนึ่งคัน พาเด็กๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ เดินทางสู่เมืองหลวง…..ค้นหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว เพื่อเก็บข้อมูลทำหนังสั้น ให้เด็กๆ ได้สืบค้นที่มาของบะหมี่ จากต้นทางแหล่งผลิต มาถึงรถเข็นของคนขายบะหมี่ และที่สุดมาสู่บะหมี่ในชามของลูกค้า
เริ่มต้นการเดินทางสู่เมืองกรุง…..แสงแดดที่ร้อนแรง รถรามากมาย ฝุ่นควันคละคลุ้ง ผู้คนขวักไขว่แออัดยัดเยียด ต่างคนต่างต้องดิ้นรนเร่งรีบ ทำให้เด็กๆ หลายคนไม่สบาย เมารถ เมาผู้คน แต่ภาระกิจการตามหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว ยังต้องเดินหน้าต่อไป
ครั้นเด็กเหลือบไปเห็นรถเข็นบะหมี่เกี๊ยวคันแรก การทักทายและการค้นข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ จึงเริ่มขึ้น หลังเด็กๆ ได้ฟังคำบอกเล่าของคนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย ต่างอึ้งจนพูดแทบไม่ออก เด็กบางคนถึงกับก้มหน้าน้ำตาคลอ
การที่เด็กๆ ได้เห็นกับตาของตนเองว่า คนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขายในเมืองกรุง ช่างอดทนเหลือเกิน นอนไม่กี่ชั่วโมง ตื่นตั้งแต่ตีสี่ตีห้า เตรียมข้าวของ ต้องทนร้อน ทนฝุ่นควัน ทนกับผู้คนมากหน้าหลายตา เสี่ยงอันตรายกับการถูกรถเฉี่ยวชน กว่าจะได้เงินแต่ละบาท และยิ่งไปกว่านั้น เงินทั้งหมดต้องเก็บสะสม ส่งให้ลูกและพ่อแม่ที่บ้านนอก
เด็กอีกคน เมื่อเหลือบเห็นรถเข็นขายบะหมี่เกี๊ยวอีกคันหนึ่งผ่านมา เมื่อเดินเข้ามาใกล้ๆ เห็นหน้าตาชัดเจน จึงจำได้ว่าเป็นพ่อแม่ของตนเอง จึงวิ่งเข้าไปกอดพ่อแม่บนถนน และร้องไห้ด้วยความสงสารอย่างจับใจ พร้อมกับสำนึกในบุญคุณของพ่อแม่ที่ทนลำบากเพื่อตนเอง
เด็กๆ ที่ร่วมขบวนการทำหนังสั้นหลายคนได้พบเจอพ่อแม่ของตนเองบนท้องถนน ในขณะที่กำลังขายบะหมี่อยู่ ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ ที่หลับที่นอนของพ่อแม่ ซึ่งแออัดและไม่สะดวกสบาย
…..น้ำตาแห่งจิตสำนึกของเด็กๆ ไหลออกมาโดยไม่ต้องบอกสอน
“จากนี้ไป คงไม่ต้องพร่ำสอนให้เด็กๆ ภูมิใจในอาชีพ และคนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขายอีกต่อไป” คุณครูเอื้อนเอ่ยหลังเหตุการณ์
สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะทางปัญญาบนฐานชุมชน วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีดีจัง วันที่ 1 – วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 : “วันปันยิ้ม” รู้จักทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 08.00 น. ลงทะเบียน 09.00 น. รู้จักแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) แนะนำเครือข่ายพื้นที่นี้…ดีจัง ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ฯ 10.00 น. รู้จักทักทาย สื่อความหมาย “ต่างคนต่างมาจากทุกสารทิศ ด้วยชีวิตจิตใจสร้างสรรค์ชุมชน” 12.00 น. อาหารกลางวัน 13.00 น. เปิดตลาดนัด “บ้านเธอ บ้านฉัน เราปันยิ้ม” 17.00 น. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิต […]
เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม […]
อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]
ผ่านไปแล้วกับการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ถอดบทเรียน-กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมเครือข่าย สสย. ภายใต้ชื่อ “3 ดี ดีจัง Young แจ๋ว “ เพื่อถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานปีที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15-17 กพ. 60 ซึ่งงานนี้จัดโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ร่วมกับสโมสรพื้นที่นี้ดีจัง โดยมีภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับสสย. กว่า 120 คนทั่วประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในวันแรกได้ร่วมกันปักหมุด Young แจ๋ว 3 ดี ไตรพลวัต (เยาวชน กิจกรรม ชุมชน) นวัตกรรม Young แจ๋วร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของเครือข่าย วันที่สอง วันนี้เติมความแจ๋ว จากการฟังบทเรียนการทำงานเยาวชน สื่อ และชุมชน จากคุณโจ้ ปลื้มจิต สยามกัมมาจล, คุณเปี๊ยก สมเกียรติ สำนักข่าวพลเมือง ไทยพีบีเอส และคุณต่อ ระพีพัฒน์ เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนวงย่อยร่วมกัน หลังจากนั้นภาคีเครือข่ายได้ปักหมุดต้นทุนในพื้นที่จนกลายเกิดเรื่องแจ๋วๆให้กับเด็ก เยาวชนและคนในพื้นที่ และทำอย่างไร? ที่จะให้(เยาวชน+กิจกรรม+ชุมชน) […]