“ สื่อมีเยอะ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป”
พี่โก๋ หรือ จันทรกานทิยมภา กลุ่มหนอนไม้อดีตสมาชิกกลุ่มมะขามป้อมที่ทำงานด้านละครเพื่อการพัฒนา ได้ผันชีวิตตัวเองออกไปทำกิจกรรมอิสระเพื่อพัฒนาเด็ก
มาดูกันว่าในนิทานมีอะไร
ถ้านึกย้อนไปตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายนิทานถือว่าเป็นความสุขของเด็ก เพราะเป็นสายใยสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกถ้ามาโรงเรียนก็จะเป็นครูกับลูกศิษย์ เราจะใช้ตัวนิทานสอนเด็ก พอเด็กได้ฟังสอนเรื่องอะไรเด็กก็จะเชื่อในนิทาน แต่ในนิทานมักมีความเชื่อหลายอย่าง นิทานพื้นบ้านที่นำมาสอนเด็กได้
“การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เด็กเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรักในนิทาน พอตักอุ่นๆของพ่อแม่และ มีนิทานกับเสียงนุ่มๆ ของพ่อแม่ พอเด็กได้ฟังเด็กก็จะเป็นเพลินและหลับไปโดยมีมีนิทาน มีตักอุ่น เสียงนุ่มๆ ที่เป็นเหมือนยานอนหลับให้ลูกได้มีมีความสุขนั่นเอง”
นิทานสอนได้หลายอย่าง สอนเรื่องภาษา ศิลปะ จินตนาการ และเด็กมักจะมีจินตนาการที่มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ใหญ่คิดไม่ถึงในจินตนาการของเด็ก ถ้าเราจะแยกจินตนาการ ก็เป็นจินตนาการแบบอิสระ และ จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์
จินตนาการแบบอิสระก็คือ เด็กในวัยเล็กๆ1-2 ขวบ เด็กอาจจะยังไม่มีประสบการ์โดยตรง จินตนาการเด็กจะมีอิสระ จินตนการเรื่องอะไรก็ได้ที่เด็กได้ฟัง
จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เด็กโตมากหน่อย ที่ผ่านประสบการณ์และเอาประสบการณ์ที่เค้าพบเห็น พอเราเล่านิทานอะไรให้ฟัง เค้าก็จะร้อง อ๋อ และนึกเชื่อมโยงไปได้ เพราะฉะนั้น นิทานหนึ่งเรื่องสามารถสอนเด็กได้หลายอย่าง
เลือกนิทานอย่างไรให้เหมาะกับเด็ก
การเลือกนิทานเราจะต้องเลือกนิทานที่ไม่ยาวมาก ต้องสั้นๆ มีความสนุก เพราะในนิทานเด็กต้องการความสนุก ความมหัศจรรย์ ตลกขบขัน เด็กต้องการเล่นกับตัวละคร และจินตนาการของเด็กเอง
<span “=””>สิ่งที่เราควรคำนึงในการเลือกนิทานคือ 1.ต้องสนุก 2.เด็กต้องมีส่วนร่วม 3.ต้องมีสาระ ไม่ต้องมากแต่นิทานเรื่องนั้นจะต้องสอนอะไรเด็กได้บ้าง
เคล็ดลับการเล่านิทานให้สนุก ทำอย่างไร
<span “=””>การเล่านิทานมีหลายรูปแบบ เล่าปากเปล่า เล่าโดยใช้สื่อ เล่าโดยใช้หนังสือ หรืออาจจะใช้ศิลปะเรื่องของดนตรี และก็สื่อใกล้ตัว ที่พอจะหยิบมาทำตัวละคร และดนตรีจะทำให้ตื่นเต้นมากขึ้น และถ้าใครร้องเพลงเป็น เล่นดนตรีเป็น ก็จะช่วยให้นิทานเรื่องนั้นๆสนุกมากยิ่งขึ้น
ถ้าคนเล่ามีความคิดสร้างสรรค์ แค่สวมถุงมือข้างเดียวเป็นตัวละครได้เยอะแยะเลย ถ้าใช้มือ ใส่ถุงมือเข้าไปเป็นปลาหมึก เป็นรูปอะไรก็ได้ สิ่งที่จะช่วยสร้างความสนุกจะอยู่ที่ถุงมือ ถ้าเอาถุงมือเข้ามาประกอบในการเล่านิทาน
นิทานกับโลกยุคใหม่
ถ้ามองย้อนไปในการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและมีจินตนาการนั้นมีโครงการ book start ให้พ่อแม่ที่ตั้งท้องเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ในท้อง เด็กก็จะซึมซับมาเรื่อยๆจนเด็กคลอดออกมา จนเด็กโต เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการทางด้านภาษาดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้อ่านตั้งแต่ตั้งท้อง
“ในปัจจุบันสื่อมีเยอะ และเครื่องมือเทคโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป หนังสือเด็กจะไม่สนใจจะไม่ค่อยจับ ถ้าพ่อแม่ปล่อยเด็กแบบนี้นานๆไปเด็กก็จะอยู่หน้าจอทีวี หน้าจอคอมพิวเตอร์ นานๆไปจินตาการเด็กจะน้อยลง ภาษาที่เค้าใช้ก็จะใช้ภาษาที่เข้ามาตามคอมพิวเตอร์ ภาษาวัยรุ่น ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ที่อยากพัฒนาเด็กหานิทานพื้นบ้าน ก็ได้ นิทานเล่มเล็กๆ ถ้าเด็กเล็กก็เลือกนิทานภาพ เพราะภาพจะทำให้เด็กสนุก และเล่านิทานให้เด็กฟังแค่วันละครั้งก่อนนอน เด็กก็จะติดนิสัยรักการอ่านขึ้นมาได้ทันที” พี่โก๋กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของนิทาน
เพราะสื่อและเทคโนโลยีที่มาเร็วจนแทบจะตั้งแนวรบด้านข้อมูลข่าวสารแทบไม่ทันของทั้งโลกโซเชียลมีเดีย ว่าที่ทีวีดิจิตอลที่จะเกิดอีกไม่กี่ปี แต่ไม่ว่าโลกการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน ลองเชื่อมสายใยรัก ด้วยการเล่านิทานสักเรื่องก่อนนอนให้ลูกได้ฟัง เชื่อว่าแนวรบด้านความอบอุ่นของครอบครัวยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
สุมาลี พะสิม // สัมภาษณ์
สวิชญา ชินพงศธร //- ถ่ายภาพ
สิรินาถ น้อยมูลศรี//เรียบเรียง
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ […]
สสย.จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการในเรื่อง พลัง 3 ดี กับการสร้างพลเมืองเด็ก ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2257 ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ จุดประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้คือ การเรียนรู้แนวคิดและหลักการของชุมชน 3 ดีและการสร้างพลเมืองเด็ก รวมถึงการสร้างวิทยากรในหัวข้อทั้งสอง เพื่อให้สามารถไปเผยแพร่ขยายผลต่อในระดับชุมชนได้
พื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้วิถีสุขภาวะ ของชุมชน เริ่มวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ณ พื้นที่ใจกลางเมืองเพชรบุรี • ทอดน่องท่องชุมชนและตลาดเก่า ฟังเรื่องเล่าของการเปลี่ยนแปลง อุดหนุนพ่อค้าแม่ขายในท้องถิ่น ยินดีต้อนรับทุกท่านทุกวัน • ค้นหามุมบันดาลใจ สร้างงานศิลปะอย่างวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนบทความ หรือบทกวี มุมสุนทรีย์มีให้เลือกมากมาย • ชมงานศิลปะเชิงช่างหลากหลาย ที่ช่างศิลป์พื้นบ้านหลายท่านสร้างสรรค์ไว้ให้เป็นมรดกเมือง ในวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี • ร่วมกิจกรรม “เพื่อความเข้าใจในสายน้ำเพชร” ล่องเรือคายัคกับชมรมมหิงสาสายสืบ และชมนิทรรศการศิลปะที่ระเบียงแกลลอรี่ • อิ่มอร่อยกับอาหารรสชาติดี ตำหรับและฝีมือคนในชุมชนปรุงเอง หรือร่วมเรียนรู้วิธีทำกับกิจกรรมเวิร์คช็อปอาหารที่บ้านเรียนรู้ตั้งสวัสดิรัตน์ • สนุกสนานกับการปั้นดินให้ดัง และดำน้ำกับครูเจี๊บ สมบัติแม่น้ำเพชร ไขข้อข้องใจมีอะไรซ่อนอยู่ใต้แม่น้ำเพชร • ชมการสาธิต หรือ ร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปงานศิลปะงานช่างเมืองเพชรฝีมือคุณเอง ที่สามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ด้วย (มีทุกวันเสาร์) • ร่วมกิจกรรมถนนจักรยาน สนุกสนานกับการปั่นหลายรูปแบบ ปั่นออกกำลังกาย ปั่นไปไหว้พระ ปั่นไปเรียนรู้ ปั่นไปดูงานศิลปะ • […]