“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ” ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ
ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน
ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก ) ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข
ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว เด็กๆมี
พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี
“ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น”
ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน
จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา ป้าหมี
ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน ใช้ห้องพักขนาด
3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา “ พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี”
“ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ”
ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น ป้าหมีเป็นหนึ่งในแกนนำหลัก ที่ลุกขึ้นมาเดิน
สำรวจชุมชนสำมะโนครัว เพราะป้าหมีเชื่อว่า ปัญหาเด็กและชุมชนจะไม่ถูปแก้ไข ถ้าชุมชนที่อยู่ไม่เป็นชุมชนของกทม. ป้าหมีจึงเดินหน้าร่วมกับแกนนำอีก 11 คนขอยื่นการตั้งตั้งชุมชนวัดดวงแขเป็นชุมชนของกทม. เกือบ 10 กว่าปีของการทำงานเพื่อเด็กและชุมชน ป้าหมียังคงไม่ท้อถอยยังคงทำงานต่อเนื่องมาตลอดถึงแม้ชีวิตจะรุ่มลุ่มๆดอนๆ แต่ป้าหมีบอกเสมอว่า
“เด็กๆได้ดีสักคนสองคน ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ”
“ เมื่อก่อนหนูอายมากเลยนะที่จะต้องบอกกับเพื่อนว่าบ้านหนูอยู่ในสลัมดวงแข (ชุมชนวัดดวงแข )ไม่อยากให้เพื่อนมาที่บ้าน ตอนนี้เพื่อนๆไม่เพียงแค่มาที่บ้านหนู แต่ยังมาช่วยหนูพัฒนาชุมชน อีกด้วย” จากน้องบิว (ศิริรัตน์ หนูทิม) เด็กในชุมชนแออัดเมืองที่ไม่เคยมีความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในที่อยู่ของตนเอง มีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นแกนนำเยาวชนชุมชนวัดดวงแข ที่มีความภาคภูมิใจ ภูมิใจรักในชุมชนแออดัดที่ตนเองอยู่ มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะไปให้ถึงฝัน แกนนำเด็กหลักที่สร้างการเปลี่ยนแปลงชุมให้กับชุมชนแออัด กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและชุมชน เป็นคนที่ลุกขึ้นมาบอกใครๆเรื่องปัญหาชุมชนตนเอง เชิญชวนผู้คนมาร่วมช่วยพัฒนาชุมชน สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน สร้างความรู้สึกรักชุมชนให้ผู้คนในชุมชน บิวเล่าว่า “ ตอนเด็กๆ ก็เข้ามาเล่น และทำกิจกรรมที่บ้านพัก ( ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ) บ่อยๆ แต่ก็เข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เวลาบ้านพักมีกิจกรรมที่ไหนก็จะได้ไปกับป้าหมี ป้าติ๋ม หยก ต้องยอมรับว่าช่วงเวลานั้น ไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะเรียนต่อ ม.ปลายสายอะไร จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหม หนูยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตหนูจะทำไงต่อ แม่ให้เรียนก็เรียน ถ้าไม่ให้เรียนก็ออกมาทำงาน” จนบิวได้ไปเข้าค่ายสื่อสารสร้างสรรค์ ในค่ายบิวได้เรียนรู้ศิลปะหลายอย่าง ร่วมทั้งการสื่อสารด้วย บิวก็เริ่มรู้แล้วว่าเราสนใจเรื่องอะไร […]
เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]
20 ก.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมออกบูธงาน “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด งานนี้จัดขึ้นเพื่อประกาศการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการรวมพลังระหว่างภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐในการทำงานพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกระตุ้น เศรษฐกิจฐานราก และสร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายการประสานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยสรุปความว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสดใส ดีใจที่เห็นทุกคนมีรอยยิ้ม หน้าตามีความสุข วันนี้เรามาร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ สร้างพลังเพื่อทำความดีให้ประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง หรือข้าราชการ แต่ทำเพื่อประชาชนทุกคน ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำประชานิยม เพราะประชานิยมเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความนิยมต่อภาครัฐ โดยรัฐบาลนี้เป็นความร่วมมือของรัฐบาลกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา ภายในงาน สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนพาภาคีเครือข่ายร่วมออกงานด้วย อาทิ กลุ่มเพชรบุรี…ดีจัง นำพวงมโหตร มาจัดกิจกรรมให้คนภายในงานร่วมตัดและนำกลับไปเป็นที่ระลึก เป็นอีกสื่อดี ที่ทางสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่าย เปิดเมือง 3 ดีวิถีสุข นั่นคือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ส่งผ่านแนวคิดให้กับผู้เข้าร่วมงาน ขอบคุณภาพประกอบจาก กลุ่มลูกหว้า
20 สิงหาคม 2559 นี้พบกันครับ ณ สวนสาธารณะเขาแคน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ……………………………….. 1. สนุกมือทำ กับ ฐานกิจกรรมมากมายที่ขนมาเพื่อทุกคน ให้ทุกท่านได้ลงมือทำ อาหาร ศิลปะ ประดิษฐ์ ระบายสี ทำเอง ภูมิใจได้ของ กลับบ้าน 2. สนุกชม ดนตรีมากความสามารถจากกลุ่มวัยรุ่นที่รวมกลุ่มรวมตัวกัน มากมายในห้องซ้อมดนตรี อ.ปากช่อง พร้อมความสนุครบวัย เพราะเรามี ลิเก ศิลปะร่วมสมัย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ชมดี 3 สนุกช๊อบ ในตลาดนัดคุณหนู ที่จะชวนน้องๆค้นของเก่า เอามาขาย เรียนรู้การหา และการออม (ครอบครัวใดสนใจ เปิดแผงให้น้องๆได้เรียนรู้ ติดต่อจองพื้นที่ด่วนๆ รับจำนวนจำกัด 081-7321412) และพี่เศษสุดๆ กับการขนหนังสือมือสองมาจำน่ายในราคาเล่มล่ะ 1 บาท จากมูลนิธิกระจกเงา ………………………… ปล. งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมดีๆให้เด็ก […]