
ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง”
โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน
เริ่มต้นคิด…
ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก
“แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป”
จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ และการเรียนการสอนก็คิดว่ามันไม่ได้ผลกระทบอะไร มันก็เชื่อมโยงต่อกัน พอผ่านไปสักระยะหนึ่งเขาก็เริ่มเข้าใจ คิดว่ามันน่าจะเป็นแนวทางใหม่สำหรับในการจัดการศึกษา
“หากเราเคยทำยังไงก็ยังทำแบบนั้นไปทั่วมันก็จะแก้ปัญหาของชาติไม่ได้”
หลังจากทำไปแล้วผู้ปกครองก็เห็นว่าเราทำจริง ก็เริ่มหันมาให้ความร่วมมือให้กำลังใจทั้งคุณครูและทีมแกนนำ ตอนแรกก็ โดนผลกระทบอยู่พอสมควรวิธีแก้ปัญหาก็คือพูดคุย ทั้งพูดคุยเป็นการส่วนตัว และพูดคุยในระบบ ใครไม่เห็นด้วยตรงไหนเพราะอะไรเราก็ถามถามทีละขั้นทีละตอนทีละกิจกรรม ที่ไม่เห็นด้วยเพราะเพราะอะไร ขอให้เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นตัวตั้งอย่าเอาความสุขส่วนตัวเป็นตัวตั้งถ้าอธิบายได้ว่ามันไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมผมยินดีที่จะแก้ไขแต่ถ้ายังชี้ไม่ได้ว่าส่วนรวมเสียอะไรก็ยังยืนยันที่จะทำต่อ
กิจกรรมที่เด่นมากคือ กิจกรรมฟายเดย์อีสฟายเดย์ เกิดจากแนวคิดที่ว่าวันศุกร์คือวันบินใช้แนวคิดจากการที่ได้ไปดูงานที่ปีนังที่จอร์จทาวน์เขาหยุดปิดเมืองทำกิจกรรมกันในวันอาทิตย์ปิดถนนหลักของเมืองและให้ประชาชน ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แล้วแต่ครอบครัวแล้วแต่ความถนัดหลากหลาย ก็เลยได้แนวคิดนั้นมาแล้วมาปรับใช้ในโรงเรียน โดยให้สักวันนึงเป็นวันที่อิสระเสรีทั้งครูและนักเรียน บนหลักการที่มีเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแต่งกายเรื่องการออกแบบกิจกรรมให้เป็นอิสระของครูกับนักเรียนได้คิด ร่วมกันคิดว่า ศุกร์นี้จะทำอะไรไปที่ไหนถ้าอยู่ในห้องเรียนก็ต้องเป็นการเรียนที่เรียนได้ปฏิบัติได้ฝึกถ้าเป็นเรื่องของการสร้างทักษะการอ่านก็ให้เด็กได้ฝึกการอ่านจริงๆ ถ้าเรื่องของการคิดก็ให้คิด ถึงจะอยู่ในห้องก็ตามแต่กระบวนการต้องเป็นการฝึก แต่ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ออกนอกห้องเรียน ออกนอกโรงเรียนเลยก็ได้ไปเรียนพอกลับมา ก็จะกลับมาสรุปบทเรียนการกลับมาใครได้ข้อมูลอะไรก็มาล้อมวงกันเป็นกลุ่มว่าไปวันนี้ได้อะไรให้ทุกคนได้มีสิทธิ์พูดถ้าไม่พูดก็เขียน จากนั้นก็จะออกมาเป็นบทสรุปว่าไปวันนี้ได้อะไร หลังจากทำกิจกรรม ฟายเดย์นี้ ประเมินโดยทางกายภาพที่สัมผัสได้ ความพึงพอใจของครูและนักเรียนชัดมากเด็กมีความสุขมากเมื่อถึงวันศุกร์ เขาจะยิ้มแย้มแจ่มใสตื่นเต้นว่าจะได้ไปที่ไหนอย่างไรและที่สำคัญเขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะไปไหน ทำมาเต็มที่ 1 เทอมที่ผ่านมาประเมินดูแล้วมั่นใจว่าโครงการนี้กิจกรรมนี้จะต้องสานต่อไปตลอดและมันมาตอบโจทย์ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของรัฐบาลด้วย ซึ่งเราจะทำลึกกว่าของเขาด้วยซ้ำ
สิ่งที่เห็นพัฒนาของเด็กคือ 1 เด็กกล้าออกแบบ เด็กกล้าบอกว่าอยากจะเรียนอะไร ซึ่งอาจจะต่างกันในแต่ละครั้งแต่สุดท้ายเขาก็จะหาบทสรุปได้ว่าจะไปไหนก่อนหลัง ประการที่ 2 เวลาที่มาสรุปบทเรียนเมื่อคุณครูตั้งโจทย์ว่า เธอไปเธอจะต้องเก็บข้อมูลทุกเรื่องที่เธอเห็นมันเป็นการฝึกให้เด็กเกิดการสังเกตทักษะทางวิทยาศาสตร์เกิดเลยไปให้เก็บบันทึกจำตามความเข้าใจไม่ว่าเห็นอะไรทุกมิติ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องบุคคล เรื่องต่างๆที่เห็นให้เก็บมาเมื่อเด็กเก็บข้อมูลทุกอย่างเด็กก็จะมีอะไรมาพูดมาแล้วทุกคนมันทำให้เด็กอยากจะแย่งกันพูดเวลาสรุปเรียนคิดว่าเป็นกระบวนการที่มองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่าเด็กกล้าพูดเพราะพูดในสิ่งที่เขาเพิ่งผ่านมาไม่ต้องคิดอะไรมากเราในสิ่งที่เขาไปพบไปเห็นมา เด็กก็จะเกิดกระบวนการสังเกตและจดบันทึกและสอดคล้องกับปรัชญาโรงเรียน เด็กได้สิ่งเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังมาแชร์กันไปที่เดียวกันหัวหมออาจจะต่างกันเป็นกระบวนการที่ประเมินแล้วไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ว่าเด็กทำได้ อย่างน้องอนุบาล ให้ถอดบทเรียน เรื่องบอกซิว่าสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงให้วาดภาพออกมาปรากฏว่ามีเด็กตอบว่าต้นไม้ทำให้เกิดเสียงซึ่งคุณครูก็ถามว่ามันเกิดเสียงได้อย่างไร ตัว ครูก็ตั้งคำตอบไว้แต่คำตอบที่เด็กตอบมันตรงกันข้าม เด็กเขาบอกว่าเอาอะไรไปเคาะมันก็เกิดเสียงเด็กเขียนสิ่งที่อยู่รอบตัวว่ามันใช่หมดเลย รถต้นไม้ถังขยะเขาวาดรูปออกมาหมดเพราะเสียงมันเกิดจากการกระทบกันของวัตถุ นั่นคือเด็กเขาไปถึงขนาดนั้นอย่างนี้เป็นต้น
ล่าสุดเราถอดบทเรียนบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้กีฬาภายในนั้นเป็นฐาน หลังจากแข่งกีฬาเสร็จเรียบร้อยก็มาถอดบทเรียนกัน ก็มีการออกแบบ มายแม๊พปิ้ง วงกลมซ้อนกัน หลายวง มีชิ้นงานมากมายเกิดขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำทั้งระบบมันได้ผลเกินคาดเพราะเด็กเราสามารถเขียนเชื่อมอยู่ได้ กีฬามันเชื่อมไปสู่การเรียนรู้ 4 ด้านอย่างไร ด้านความรู้ที่เขากำลังใช้กับ อย่าง 4H ด้านความรู้คือ Head เด็กเขาจะบอก ได้ว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาอะไรบ้างเขาก็บอกมาอันที่ 2 ก็คือเรื่องของค่านิยมคุณธรรมน้ำใจนักกีฬาเอชตัวที่ 2 Heart คือเรื่องหัวใจส่วนอันที่ 3 คือการปฏิบัติคือ Hand เขาได้ทำอะไรบ้างเขาก็จะบอกว่าได้เป็นนักกีฬาที่เป็นกองเชียร์ นวดให้เพื่อน ฝ่ายหาน้ำ ก็แตกออกมา และอันสุดท้ายก็คือสุขภาพ เอชตัวที่ 4 คือ Health เจาได้อะไร จากวงหรอ 4 เอช ก็จะไปสู่วงล้อคุณลักษณะ 8 ประการ ก็จะให้เขาบอกว่า 8 ประการได้กี่ข้อก็เขียนออกมา สุดท้ายตบด้วยวงล้อ ความเป็นพลเมืองให้เขาบอกให้ได้ว่าอะไรคือความรับผิดชอบจากกระบวนการแข่งกีฬา ให้เขาอธิบายว่าความรับผิดชอบคือยังไงการมีส่วนร่วมคือยังไงเขามีส่วนร่วมอะไรและสุดท้ายความเป็นธรรมในการแข่งกีฬาเขามองอย่างไรตอนที่เขาแข่งขันได้รับความเป็นธรรมจากกรรมการไหมหรือว่าการได้รับรางวัลต่างๆเขาพอใจไหม เรื่องของความเป็นไปด้วยความเสมอภาคเป็นตรงไปตรงมาไหมอันนี้คือสิ่งที่เราถอดกันมันเป็นอะไรที่มีความสุขมากในความรู้สึกของผอ.และคุณครูสำราญซึ่งเป็นแกนนำในเรื่องของการสร้างความเป็นพลเมือง มันมองเห็นอนาคต ถ้าเราทำแบบนี้อย่างต่อเนื่องดิตเมืองคงจะเป็นเด็กที่รอบด้านมีมิติทางความคิดมีมิติที่เชื่อมโยงเด็กกล้าแสดงออกกล้าพูด นี่คือสิ่งที่เด็กเกิดขึ้น ผอ.ได้กล่าวถึงท้ายอย่างน่าสนใจว่า
“ถ้าเราต้องการจะสร้างเด็กมีคุณภาพ คุณภาพไม่ใช่แค่ในเรื่องของการ สอบได้คะแนนเยอะ แต่ว่าคุณภาพน่าจะเป็นคนที่สมบูรณ์ คิดเป็นวิเคราะห์เป็นรับผิดชอบต่อส่วนรวม แก้ปัญหาด้วยเหตุด้วยผล กล้าที่จะนำเสนอความคิดเห็นของตนเองต่อบุคคลอื่นและปกป้องความไม่เป็นธรรม ถ้าเห็นอะไรที่ไม่ถูกต้องที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ของเขาเขากล้าที่จะออกไปอธิบายชี้แจง แต่จะไม่ส่งเสริมในลักษณะของความก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงแต่จะให้ใช้ ที่สำคัญที่อยากเห็นที่สุดคืออยากเห็นเด็กโรงเรียนเมืองคงทุกคนจบออกไป ไม่ว่าจะไปเรียนที่ไหนจะต้องเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเด็กแนวหน้า คำว่าแนวหน้าไม่ได้ใช่ว่าเรียนวิชาการเก่ง แต่จะต้องเป็นเด็กที่มีความเป็นผู้นำเป็นคนที่กล้าพูดกล้าแสดงออก มีทักษะในการทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย”
น้องแซค เริ่มต้นเข้ากิจกรรมกับเครือข่ายสร้างสรรค์โดยการให้สัมภาษณ์เรื่องเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง “ผมเป็นรุ่นแรกที่ได้ไปเมืองทองในการนำผลิตภัณฑ์นักเรียนไปจำหน่าย หลังจากนั้นก็ได้ทำงานภายนอกโดยได้ร่วมงานกับ มพด. โดยมีพี่หนิง (ดวงใจ ที่ยงดีฤทธิ์) เป็นคนให้คำปรึกษาและสนับสนุนกลุ่มของผม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสัญจร กิจกรรมออกบูทศิลปะต่างๆ” การทำงานในกลุ่มเด็ก มองเห็นว่าการทำงานของเครือข่ายพื้นที่สร้างสรรค์ ทำให้เด็กๆมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ให้โอกาสให้ทุกๆคนในสังคมได้มีส่วนร่วม และแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ “ผมคิดว่าทำอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์และมีการแบ่งปันโอกาสแห่งความสุขให้กับทุกคน” กิจกรรมศรีสะเกษติดยิ้มที่กำลังทำนั้นเด็กๆกลุ่มเยาวชนพลเมืองสร้างสุข ได้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ไว้และกิจกรรมที่กำลังดำเนินการตอนนี้คือ กิจกรรมตลาดบ้านฉันปันยิ้มที่จะรวมเด็กๆและผู้คนในชุมชนตลาดสดราษีไศลมาทำกิจกรรมร่วมกันโดยการบูรณากลางตลาดสดให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์โดยการนำศิลปะเข้าไปสู่ตลาดนำไปสู่การนำเสนองานศรีสะเกษติดยิ้มปี 2 การทำกิจกรรมครั้งนี้ ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน และสนับสนุนบุตรหลานเข้ามาทำกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์และยังเกิดความภาคภูมิใจในตัวของบุตรหลาน “ตอนนี้น้องๆที่เขามาในกลุ่มเราคุยกันว่าพ่อแม่พี่น้องใครในกลุ่มบ้านใครมีอะไรดีๆที่อยากมีพื้นที่ในการมาขายมาโชว์สินค้าบ้าง อยากให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการออกมาทำกิจกรรมกับลูกๆ มาเห็นว่าลูกทำอะไร เริ่มเอาครอบครัวที่สนใจ และชุมชนยังเป็นกำลังหลักในเรื่องการนำเสนอภูมิปัญญา” การทำกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆของคนในสังคม รวมทั้งได้แนวคิดในการต่อยอด “ผมคิดว่าเมื่อตัวเองได้เป็นนักปกครองอย่างที่หมาย ตามที่ผมได้เรียนมา ผมจะสนับสนุนเขตปกครองของตนเองให้เป็นตัวอย่างพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กอย่างแน่นอน” โดยก่อนที่เข้ามาทำกิจกรรมก็ยังไม่มีคนรู้จักกลุ่มเยาวชน หลังจากที่มาทำกิจกรรมคนในสังคมเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยให้บุตรหลานมาร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้น เมื่อถามว่าคิดว่าทำไมเราและคนอื่นต้องทำกิจกรรม น้องแซคได้เล่าว่า “ผมคิดว่าเรามีแรงบันดาลใจผลักดัน ยกตัวอย่างผมเองได้แรงบันดาลใจจากครู (นายอุดมวิทย์ สุระโคตร ) ผอ. โรงเรียน บ้านกระเดาอุ่มแสง และที่สำคัญ พี่หนิง (ดวงใจ เที่ยงดีฤทธิ์) ที่สนับสนุนและไม่ทิ้งเด็กๆ วันที่ไปสัมมนาที่กรุงเทพ พี่หนิงร้องให้และพูดว่าท้อ ผมเลยได้แรงบันดาลใจที่จะช่วยกันทำงานที่จะรวมพลังเด็กๆในการทำงานทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสังคมบ้านเรา” […]
ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ “เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้ เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด” หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔
เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม […]
“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้ มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’” นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี ของชุมชนวัดอัมพวา เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง บอกเล่า ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้ เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เกมต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด “ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ” …ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์ ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้ ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ “ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้ ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน ทำกิจกรรมกับพี่ๆ เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง ความคิดผมก็เปลี่ยน ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’” […]