“…เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย”
เตือนใจ สิทธิบุรี หรือ หลายๆคนเรียกเธอว่า “ป้าป้อม” อดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์การทำงานพัฒนาและงานค่ายกิจกรรมเห็นต้นทุนทางสังคมของบ้านเกิดจึงมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเชื่อมโยงคนในชุมชน ทั้ง 3 วัยมาเป็นครอบครัวเดียวกัน
เริ่มทำงานครั้งแรก ในปี 2530 กับกลุ่มสื่อเพื่อการพัฒนา (AMED) ทำงานกับชาวบ้านในชุมชนแออัด ได้ฝึกกระบวนการคิด และกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนถึงปี 2536 เปลี่ยนมาทำงานที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีโอกาสเดินทางไปการทำงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เพิ่มพูนทักษะ เทคนิคการทำงานพัฒนา การประสานงานในพื้นที่ และมีเครือข่ายการทำงานมากขึ้น ก่อนกลับมาเป็นบัณฑิตอาสา กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) และร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ในการทำงานพัฒนาที่บ้านเกิด ในตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ทำให้เห็นทุนทางสังคม และศักยภาพของพื้นที่ในด้านเกษตร เกิดตกผลึกทางความคิด จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัว ที่บ้านเกิดของตนเอง ด้วยการยึดอาชีพเกษตร ทำสวนยาง ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ควบคู่การทำงานพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น
เกิดก่อสวนยางยิ้ม
ต้นทุนชีวิตของ “ป้าป้อม” ที่สั่งสมมาก่อนจะเปิดใต้ถุนบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้นั้นก็ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งเรื่องน้ำ ความมั่นคง ผู้หญิง ผักพื้นบ้าน เรื่องอาหาร ตั้งแต่ปี 2548
“เราเหนื่อยเราก็หยุด พอเราหายเหนื่อยเราก็ลุกขึ้นมาทำใหม่ ตอนนั้นก็ไปใช้ใต้ถุนอนามัย ใช้ลานวัดทำกิจกรรม แต่งานจัดการมันเยอะ ก็เลยปรับมาทำที่บ้านเพราะพื้นที่กว้าง ใช้ใต้ถุนบ้านนี่ละ เป็นลานเล่นให้กับเด็กๆ ที่ทำกิจกรรม แล้วก็เริ่มมาจับเรื่องเด็กเป็นหลัก”
หลังช่วงการปันผลประจำปีของกลุ่มออมทรัพย์ที่ป้าป้อมร่วมดำเนินงานอยู่นั้น ได้แลกเปลี่ยนและตกลงร่วมกันว่า จะนำเงินปันผล ที่ปกติจะแบ่งให้แก่สมาชิกเป็นจำนวนเงินเท่าๆกันนั้น ไปสร้างกิจกรรมการจัดค่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่แทน เพื่อสร้างการเรียนรู้ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคน 3 วัย 3 ศาสนา ในชุมชน จึงกลายเป็น สวนเรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะทัง
และได้ร่วมแนวคิดการทำพื้นที่สร้างสรรค์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาชน(สสย.) โดยโครงการรณรงค์พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน “พื้นที่นี้…ดีจัง”จึงร่วมเป็นภาคีเครือข่ายพื้นที่นี้…ดีจัง จนปัจจุบัน 4 ปีแล้ว
ทุกวันนี้บริเวณใต้ถุนบ้านของป้าป้อม เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นห้องสมุดของชุมชนที่มีชีวิต เป็นแหล่งเรียนรู้ และทำกิจกรรมยามว่างของเด็กเยาวชน และคนในชุมชน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ทั้ง โครงการปิดเทอม เปิดตา เปิดใจ กับกาลละเล่นพื้นฐานลานสร้างสุข โครงการปิดเทอม เปิดตา เปิดใจ กับขนมพื้นบ้านอาหารท้องถิ่น โครงการศาสนาสัมพันธ์กับการสร้างสุขในชุมชน โครงการมโนราห์เรียนร้องร้อยรำ สื่อสร้างสุข ฯลฯ โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เชื่อมโยงคน 3 วัย ทั้งเด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพื่อสร้างความรัก ความอบอุ่นในชุมชน เพื่อเป็นเกราะป้องกันปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และค่อยๆ กลายเป็น “สวนยางยิ้ม” ในที่สุด
แต่งแต้มต่อเติม
หลังจากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคีพื้นที่สร้างสรรค์ หรือที่เรียกกันว่า “พื้นที่นี้…ดีจัง” ป้าป้อม ก็ทำกิจกรรมกับโรงเรียน วัด อนามัย หลังจากนั้นก็ขยายแนวคิดการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์สู่หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัดใกล้เคียง
จากแนวคิดที่จะขยายงานนี้เอง จึงเกิดงานระดับจังหวัด “พัทลุงยิ้ม” เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 56
“ตอนแรกที่จะทำในเมือง ก็กังวลบ้างเพราะใช้พลังเยอะและมีเงื่อนไขไม่น้อยทีเดียว แต่ก็อุ่นใจเพราะเรามีเครือข่ายพื้นที่นี้ ดีจัง ในตำบลต่างๆ ที่เราไปร่วมทำกิจกรรมไว้แล้ว พอเริ่มลงมือทำก็มีการขยายกลุ่ม ทั้งคนร่วมจัด คนที่มาร่วมเรียนรู้ มีทั้งโรงเรียน ชุมชน ที่สำคัญก็คือคนขาดพื้นที่แบบนี้ ไม่เคยมีกิจกรรมให้เด็กๆและครอบครัวได้ทำร่วมกัน พอเข้ามาร่วมกิจกรรมกับเราแล้วคำตอบคือมันใช่สิ่งที่เขาค้นหาอยู่
การจัดงานครั้งนี้ได้มากกว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้มาก มากกว่าที่เราคิดไว้อีก เป้าหมายงานในครั้งนี้ที่ตั้งไว้เดิมแค่ชวนเพื่อนเครือข่ายยิ้มในพัทลุงที่เราเคยยิ้มสัญจรไปด้วยกัน มาพบ มารวมกัน มาแลกเปลี่ยน กัน โดยจะชวนกลุ่มเรียนรู้ในพื้นที่ยิ้มสัญจรมาเรียนรู้ร่วมกันเท่านั้น แต่เมือถึงเวลาที่จะจัดงานจริงๆ ทางทีมงานมาคุยกันเพื่อเตรียมงาน เราชวนเพื่อนกลุ่มใหม่มาด้วย เกิดการเพื่อนชวนเพื่อน ทำให้ในงานมีความหลากหลายทั้งบนเวทีและในลานเล่น ลานแบ่งปัน”
ภาคีร่วมจัดงานครั้งนี้มีทั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเมือง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบล สถาบันครอบครัวเข้มแข็งพัทลุง และทีมงานชุมทางเขียนด้วยแสง และเพื่อนเครือข่ายชุมชน ภายในงานมีการแสดงและการละเล่นต่างๆ เช่น ลิเกฮูลู จ.พัทลุง ละครใบ้ จากกลุ่มมาหยา จ.กระบี่ Orchestra โรงเรียนสตรีพัทลุง ละครสร้างสรรค์ จากกลุ่มข้าวยำละครเร่ จ.ปัตตานี – หุ่นเงา กลุ่มลูกขุนน้ำ จ.นครศรีธรรมราช – วงดนตรี วงโฮป แฟมิลี่
ซุ้มกิจกรรมตามรอยขนมพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น จ.พัทลุง ถุงผ้าเก็บรัก เข็มกลัดชิ้นเดียวในโลก ผ้ามัดย้อมเก็บสุข เพ้นท์สีก้อนหิน – ผ้าบาติก กังหัน ความรู้ ว่าวไทย ทิชชู่มหัศจรรย์ ศิลปะชูใจ ตุ๊กตาปูนพาสเตอร์ ชวนน้องกินผัก โปสการ์ดเดินทางของกลุ่มศิลปินเขียนด้วยแสง ร้อยลูกปัดหลากสี โมบายเดินเผา ส่งเสริมการอ่าน การเล่านิทานพื้นเมือง นิทานทุ่งซ่า – ของเล่นเดินทาง- นวดแลกเล่า – นิทานมีชีวิต ฯลฯ
“เราได้คุยกับเพื่อนใหม่ สิ่งที่เราได้รับกลับมามันเป็นบวกทำให้คนทำงานได้คิด ได้วางแผนต่อว่าจะทำอะไรต่อ แล้วในงานนี้ทำให้เราได้เพื่อนใหม่ทั้งนักพัฒนารุ่นใหม่ เครือข่ายศิลปินที่ถึงเวลาที่เราจะต้องคุยกัน จะร่วมกันทำเรื่องดีๆ เหล่านี้ต่อได้อย่างไร เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย”
งานนี้อาจจะเรียกได้ว่าได้เปิดเวทีให้คนที่มีหัวใจ มีแนวคิดคล้ายกันได้มาพบกันและถึงเวลาที่ทุกกลุ่มจะมาคุยกันเพื่อก้าวต่อไปอย่างไร จะมีพื้นที่สร้างสรรค์ในพื้นที่ไหนอีกบ้าง ต้องติดตาม
อ้างอิง “พื้นที่สร้างสรรค์”
แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ให้ความหมาย “พื้นที่สร้างสรรค์ว่า” เป็นพื้นที่สร้างประสบการณ์ สร้างโอกาสให้เด็กได้เติบโตพัฒนาตามวัย มุ่งตอบสนองความต้องการของเด็ก ครอบครัว ชุมชน
โครงการรณรงค์พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน “พื้นที่นี้…ดีจัง” ได้นิยามพื้นที่สร้างสรรค์จากการประชุมระดมสมองของภาคีเครือข่ายร่วมกันว่า “เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน”
พื้นที่ทางกายภาพ นั่นคือพื้นที่สำหรับเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งบ้าน โรงเรียน และชุมชน ต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย เด็กๆ ทำกิจกรรมได้ตามวัยอย่างอิสระและสร้างสรรค์
พื้นที่ทางความคิด นั่นคือเปิดเวทีให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออก แสดงความสามารถ มีสวนในการตัดสินใจ จัดกระบวนการ จัดกิจกรรมของตนเอง สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก ส่งเสริมให้ค้นพบศักยภาพและคุณค่าของตนเอง
พื้นที่ทางสื่อ นั่นคือสื่อนับเป็นบริบททางสังคมที่เป็นสาธารณะ ทุกคนสามารถรับและเข้าถึงได้ สื่อสาธารณะทุกประเภทจึงควรมีหน้าที่แบ่งปันพื้นที่ให้กับเด็กอย่างพอเพียง
พื้นที่ทางสังคม นั่นคือเปิดโอกาสให้เด็กมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการแบ่งปัน จัดสรรทรัพยากรในสังคม มีส่วนกำหนดทิศทางในการบริการหรือสวัสดิการสำหรับเด็ก
สัมภาษณ์ – สุมาลี พะสิม เจ้าหน้าที่จัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
ภาพประกอบ – หนุมานชาญสมร ชวิน ถวัลย์ภิยโย, Lookkhunnam Kiriwong
“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ” ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก ) ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว เด็กๆมี พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี “ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น” ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา ป้าหมี ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน ใช้ห้องพักขนาด 3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา “ พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี” “ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ” ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น […]
“…เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย” เตือนใจ สิทธิบุรี หรือ หลายๆคนเรียกเธอว่า “ป้าป้อม” อดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์การทำงานพัฒนาและงานค่ายกิจกรรมเห็นต้นทุนทางสังคมของบ้านเกิดจึงมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเชื่อมโยงคนในชุมชน ทั้ง 3 วัยมาเป็นครอบครัวเดียวกัน เริ่มทำงานครั้งแรก ในปี 2530 กับกลุ่มสื่อเพื่อการพัฒนา (AMED) ทำงานกับชาวบ้านในชุมชนแออัด ได้ฝึกกระบวนการคิด และกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนถึงปี 2536 เปลี่ยนมาทำงานที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีโอกาสเดินทางไปการทำงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เพิ่มพูนทักษะ เทคนิคการทำงานพัฒนา การประสานงานในพื้นที่ และมีเครือข่ายการทำงานมากขึ้น ก่อนกลับมาเป็นบัณฑิตอาสา กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) และร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ในการทำงานพัฒนาที่บ้านเกิด ในตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ทำให้เห็นทุนทางสังคม และศักยภาพของพื้นที่ในด้านเกษตร เกิดตกผลึกทางความคิด จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัว ที่บ้านเกิดของตนเอง ด้วยการยึดอาชีพเกษตร ทำสวนยาง ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ควบคู่การทำงานพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น […]
กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง หมู่บ้านปาโงปะแต ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส จากเยาวชนไม่ถึง 10 คนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่รอดพ้นจากอิทธิพลของยาเสพติด จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ (เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และไม่ได้เรียน ) ขี้อาย พูดไม่เก่ง กลัวผู้คน ( มีอาการเป็นไข้ บางคนหายใจ ไม่ออก เมื่อพบเจอผู้คน ) จากเยาวชนที่ถูกสงสัยเรื่องก่อความรุนแรง สู่แกนนำเด็กเยาวชนที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย ปลอดยาเสพติด 100% สร้างกองทุนเพื่อช่วยเด็กเยาวชนในชุมชนที่ยากจนไม่ได้เรียนหนังสือ และผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงพื้นที่สีแดง ทั้งเรื่องยาเสพติด ความรุนแรง ความหวาดระแวงกันและกัน กลายเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อแบ่งปันช่วยเหลือทำงานร่วมกันระหว่างราชการกับชุมชน จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ ไม่รู้จักเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ กลายเป็นผู้สร้างสื่อสร้างสรรค์หนังสั้นอนา ซีสที่สร้างผลกระทบลดเรื่องยาเสพติดในชุมชนได้อย่างแนบเนียน เป็นกลุ่มเด็กเยาวชนกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมา การทำงานจิตอาสาเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปฏิเสธเสื้อกันหนาวไม่กี่ตัวที่ได้รับบริจาค เพื่อการส่งต่อ และเริ่มต้นงานเล็กๆ ด้วยจิตอาสาเกินร้อย แบกไม้กวาดไม้ถูพื้นลงพื้นที่ทำความสะอาดโรงเรียนที่น้ำท่วม( หลังน้ำลด ) กลายเป็นผู้จุดประกายงานจิตอาสาเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ […]
เปิด ตลาดนัดมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำเสนอผลงาน นิทรรศการ สร้างแรงบันดาลใจสร้างเด็กให้มีภูมิคุ้มกันตามแนวคิด 3 ดี 9 มิ.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรม “ตลาดนัดมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำเสนอผลงาน นิทรรศการ สรุปประสบการณ์ความรู้ จากการนำแนวคิด3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ไปปรับประยุกต์ใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า 200 ศูนย์ทั่วประเทศ การ จัดงานครั้งนี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้ครูผู้แลเด็ก รวมถึงการนำเสนอแนวคิด ชุดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อีกท้ังเป็นการเผยแพร่ แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างกลไกการทำงาน พัฒนาเด็กและองค์ความรู้ร่วมกัน นายพศุตม์ เกิดศรีพันธ์ คุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนพิทักษา เขตบางพลัด ผู้คิดค้น PVC แคน ซึ่งประยุกต์ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว มาทำเครื่องดนตรี ไล่เสียงโน้ตดนตรีโด เร ซึ่งเด็กๆชอบเล่นกันมาก “การ ประยุกต์ใช้ ทำให้เราสามารถทำของให้เด็กๆเล่นได้ และเครื่องดนตรีชนิดนี้ให้เสียงที่เพราะและเป็นเสียงที่ไม่เคยได้ยิน เด็กจะชอบมาตี แม้จะไม่เป็นเพลงแต่เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้เรื่องเสียง การจับไม้ตีว่าควรจับแบบไหน […]