
เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138 ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
รุจจิราภรณ์ พรมมิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ ที่มีความสำคัญในการทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ เพราะช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็กได้ ทั้งยังเป็นที่เตรียมความพร้อมเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีทักษะทุกด้านพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับต่อไป เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่าร้อยละ 90 มาจากครอบครัวรากหญ้าที่เป็นกลุ่มประชากรจำนวนมากที่สุดในประเทศ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เด็กกลุ่มนี้ถือเป็นเด็กกลุ่มใหญ่ที่เราเรียกได้ว่าเป็น “ความหวังของแผ่นดิน”
รุจจิราภรณ์ บอกอีกว่า ครูผู้ดูแลเด็ก คือกลุ่มคนเล็กๆที่แบกความรับผิดชอบอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยเพราะหน้าที่ของเราคือการสร้างชาติ และแน่นอนว่าการสร้างคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากนักเพราะพวกเราต่างทำหน้าที่นี้ด้วยหัวใจที่ยินดียิ่ง พวกเรามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ฝึกฝน ตั้งใจพัฒนา และลับคมอาวุธทางปัญญาของตนเองเสมอ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างคน สร้างชาติ ซึ่งเราเชื่อมั่นเหลือเกินว่า เด็กจะดีได้เพราะมีครูดีคอยอบรมสั่งสอน
โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปีที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้มีพลังใจพลังกายในการทำหน้าที่สร้างคน สร้างชาติต่อไปได้ เพราะการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าวทำให้เราได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการและสร้างพื้นที่ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยแนวคิด 3 ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดีและภูมิดี ทำให้เราได้คิดวิเคราะห์หาต้นทุน 3 ดีในท้องถิ่นของเรา เพื่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพและมีพัฒนาการสมวัย
ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการมหัศจรรย์สื่อ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ณ ผืนแผ่นดินถิ่นล้านนาจากทั้ง 51 ศพด. คือการผลิตและใช้สื่อที่มีชื่อว่า “สืบฮีตสานฮอย ………” มาส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่นอย่างมีคุณภาพให้กับเด็กๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของพวกเรา ซึ่งพวกเราได้ใช้หลักแนวคิด 3ดีและได้ค้นพบว่าผืนแผ่นดินถิ่นล้านนานี้มีของดีที่เป็นเอกลักษณ์มีคุณค่า และมีเสน่ห์มาสร้างสรรค์เป็นสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์จาวยองแห่งเมืองหละปูน , วิถีไตลื้อ ไตพวนแห่งเมืองภูกามยาว(พยาว) , จ้องก้านไม้ป๋ายกระดาษบ่อสร้างแห่งนครพิงค์ , เครื่องถ้วยก๋าไก่เขลางค์นคร , ปู่ม่าน ย่าม่านแห่งน่านนคร ,เรื่องเล่าประวัติศาตร์เมืองศรีสัชชนาลัย , ตำนานชาละวันเมืองพิจิตร , ผ้าหม้อฮ้อมเมืองแป่ หรือมนต์เสน่ห์ชาติพันธุ์อันหลากหลายจากแดนเชียงรายรฤก เป็นต้น
ด้านคุณครูนิภาพร ปาระมี แห่งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรง สังกัดเทศบาลตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการผลิตสื่อ ‘สืบฮีตสานฮอย จาวยองน้อยเมืองหละปูน หรือ ตุ๊กตาจาวยองจากถุงเท้า’ ว่า สื่อชื้นนี้เกิดจากแอบเห็นเด็กๆ นำถุงเท้าที่เพื่อนถอดแล้วเก็บใส่กระเป๋าไม่หมด นำมาสวมมือแล้วเอามาพูดคุยเล่นกับเพื่อน ตนจึงเกิดแนวคิดนำถุงเท้ามาทำตุ๊กตา โดยเริ่มจากเป็นตัวสัตว์ก่อน เมื่อนำมาใช้เล่านิทานก็พบว่า เด็กๆ ชอบมากและสามารถดึงดูดความสนใจจากพวกได้เป็นอย่างดี ตนจึงต่อยอดจากตุ๊กตารูปสัตว์สู่การทำตุ๊กตาจาวยอง โดยนำเศษผ้าฝ้ายทอมือที่เป็นเอกลักษณ์ชาวยองมาตกแต่งเพิ่มกับถุงเท้าจนเป็น ตุ๊กตาจาวยองที่สวยงาม และนำไปสู่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กๆ โดยใช้หลักแนวคิด 3ดี จากโครงการฯ เพื่อเป็นฐานเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือเด็กๆ ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรง จะได้เรียนรู้ซึมซับวิถีแห่งวัฒนธรรมอันดีงามของจาวยอง ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงภาษาพูดแบบจาวยอง การแต่งกายแบบจาวยอง อาหารการกินแบบจาวยอง รวมถึงวิถีชีวิตฮีตฮอยจาวยอง เป็นต้น
คุณครูนิภาพร เล่าต่ออีกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นการถ่ายทอดผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยใช้ตุ๊กตาจาวยองจากถุงเท้าเป็นสื่อการเรียนรู้ อย่างการเล่านิทาน โดยนอกจากใช้ตุ๊กตาจาวยองเป็นตัวละครแล้ว เรื่องราวที่นำมาเล่าก็ยังเป็นเรื่องราวของจาวยองด้วยเช่นกัน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายก็นำการละเล่นแบบจาวยองมาให้ เด็กได้เล่น แม้แต่ด้านโภชนาการเด็กๆ ก็จะได้ทำอาหารพื้นบ้านจาวยองและรับประทานร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการทั้งหมด ตนได้มีการออกแบบกิจกรรมเพื่อเชื่อมร้อยให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วน ร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรม ทั้งการนำพ่ออุ้ย แม่อุ้ยมาเล่านิทานพื้นบ้านจาวยองให้เด็กฟัง ด้านผู้ปกครองก็จะสาธิตและร่วมทำอาหารพื้นบ้านจาวยอง ผู้นำชุมชนเป็นวิทยากรพาเด็กๆ ไปเรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมฮีตฮอยจาวยองในหมู่บ้าน เป็นต้น
“จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยการใช้สื่ออย่าง สรรค์ดัง ทำให้เด็กๆมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้นเป็นลำดับ สำหรับผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจมากที่ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรงได้สร้างกระบวนการ เรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยนำรากเหง้าของวัฒนธรรมจาวยองมาเป็นฐาน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งกระบวนการจัดกิจกรรรมทั้งหมดที่ได้เล่ามานั้น นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กๆ แล้ว ยังสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของวิถีชีวิตจาวด้วย เช่นกัน” คุณครูนิภาพร บอกเล่าอย่างภูมิใจ
“มหัศจรรย์สื่อ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปีที่ 2” เป็นโครงที่ทำให้เกิดกระบวนการเชื่อมโยงของสื่อสร้างสรรค์ที่มอบคุณค่าแห่ง การเรียนรู้ให้กับทุกช่วงวัยได้อย่างน่ามหัศจรรย์
เรื่องโดย : รุจจิราภรณ์ พรมมิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย อบต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน
“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]
วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ความเป็นมา แนวคิดและหลักการ 3 ดี แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น […]
เครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม และวัดนาพรม จัดกิจกรรม “นาพันสามปันสุข” เปิด “โครงการท่องเที่ยววิถีไทย วิถีพุทธ วิถีพอเพียง อย่างยั่งยืน” และ วัดนาพรมประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “อาคารพิพิธภัณฑ์ชาวนา” ณ ตลาดน้ำนาพันสาม วัดนาพรม อ.เมืองเพชรบุรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 โดยมีกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” ของเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และกิจกรรมของนักศึกษาสาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี เข้าร่วมด้วย กิจกรรมนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “นาพันสามปันสุข” และนายชัยยะ อังกินันทน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” และทั้ง 2 ท่านก็ได้เดินเยี่ยมชมซุ้มกิจกรรมของเครือข่ายเพชรบุรี…ดีจัง อย่างใกล้ชิดโดยมีท่านวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี คุณศรีสมร เทพสุวรรณ์ และแกนนำเยาวชน ฝ้ายยย ย. Tanyim Sirikwan และ Sunisa […]
20 ก.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมออกบูธงาน “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด งานนี้จัดขึ้นเพื่อประกาศการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการรวมพลังระหว่างภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐในการทำงานพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกระตุ้น เศรษฐกิจฐานราก และสร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายการประสานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยสรุปความว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสดใส ดีใจที่เห็นทุกคนมีรอยยิ้ม หน้าตามีความสุข วันนี้เรามาร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ สร้างพลังเพื่อทำความดีให้ประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง หรือข้าราชการ แต่ทำเพื่อประชาชนทุกคน ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำประชานิยม เพราะประชานิยมเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความนิยมต่อภาครัฐ โดยรัฐบาลนี้เป็นความร่วมมือของรัฐบาลกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา ภายในงาน สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนพาภาคีเครือข่ายร่วมออกงานด้วย อาทิ กลุ่มเพชรบุรี…ดีจัง นำพวงมโหตร มาจัดกิจกรรมให้คนภายในงานร่วมตัดและนำกลับไปเป็นที่ระลึก เป็นอีกสื่อดี ที่ทางสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่าย เปิดเมือง 3 ดีวิถีสุข นั่นคือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ส่งผ่านแนวคิดให้กับผู้เข้าร่วมงาน ขอบคุณภาพประกอบจาก กลุ่มลูกหว้า