
“ยงยุทธ” ยกพื้นที่รองเมือง ต้นแบบโมเดล “เมือง 3 ดี” ดึงเยาวชนหลุดจากปัจจัยเสี่ยงในชุมชน ประกาศสานฝันเด็กไทย ผลักดันสู่นโยบายระดับชาติ “สสส.” ปักหมุดขยายพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็กทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 3 เมษายน ณ บริเวณย่านถนนรองเมือง (ข้างกำแพงสถานีรถไฟหัวลำโพง) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ไปรษณีย์ไทย จัดงาน “รองเมือง…เรืองยิ้ม” ตอน ปทุมวัน…ปันยิ้ม โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายสังคม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมรับข้อเรียกร้องจากเด็ก เยาวชน ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์ เมือง 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เพื่อเป็นกลไกให้เยาวชนได้มีพื้นที่เชิงบวก ในการสร้างสรรค์กิจกรรม เรียนรู้ทักษะชีวิตและพัฒนาจิตสำนึกพลเมือง
ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า เด็ก เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้มีสุขภาวะที่ดี มีการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี ที่ สสส. และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินการอยู่นับเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ โดยให้เด็กเป็นผู้สร้างสรรค์สื่อและเรียนรู้จากชุมชน ขณะเดียวกันก็ดึงภูมิปัญญาและศักยภาพของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งนอกจากเด็กได้เรียนรู้การเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบแล้ว ยังสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัวและชุมชน และเป็นโอกาสให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม มาร่วมมือกันในการฟื้นฟูสิ่งดีๆ ในชุมชนให้กลับคืนมา จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่รองเมืองแห่งนี้ ก็เป็นที่ประจักษ์ว่ายุทธศาสตร์เมือง 3 ดี ช่วยทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงและปัญหาภายในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนในหลายมิติ ตนเชื่อว่าหากมีการทำงานร่วมกันลักษณะนี้ทุกชุมชน ทุกจังหวัด จะช่วยสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนทางสังคมอย่างดียิ่ง ในนามรัฐบาลพร้อมสนับสนุนให้เกิดความครอบคลุมในระดับท้องถิ่น และขยายไปสู่นโยบายระดับชาติต่อไป
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า เมือง 3 ดี คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่หรือชุมชนใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. สื่อดี มีสื่อทั้งกระแสหลัก/สื่อท้องถิ่นที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับทุกคน 2. พื้นที่ดี ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมออกแบบและใช้ประโยชน์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และ 3. ภูมิดี มีทักษะคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ เป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ครอบครัวและชุมชน ปีที่ผ่านมา สสส.ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี ทำให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ 24 โครงการ รวม 107 พื้นที่ ใน 38 จังหวัด อาทิ จ.เพชรบุรี นครราชสีมา อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ มีเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า 5,000 คน ครอบครัวเข้าร่วมกว่า 20,000 คน เกิดแกนนำเด็กเยาวชนที่มีบทบาทเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นในชุมชน และดึงดูดให้ผู้ใหญ่เข้ามามีบทบาทพัฒนาพื้นที่ แก้ปัญหาอบายมุขและลดพื้นที่เสี่ยงสำหรับเด็ก ในบางพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทางความคิด ความเชื่อ พลังของเด็กยังช่วยเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เชิงบวกลดความขัดแย้งลงอย่างได้ผล นอกจากนั้นยังส่งผลไปถึงการปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและครอบครัว เช่น ชุมชนสะพานปลา จ.สมุทรปราการ พัฒนา จากพื้นที่ทิ้งขยะเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของชุมชน โดยการดำเนินงานในระยะต่อไปของ สสส. จะร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ ทำงานเชิงรุกเชื่อมกับทุกภาคส่วน เพื่อขยายพื้นที่สร้างสรรค์เมือง 3 ดี ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
“สำหรับชุมชนวัดดวงแข และชุมชนโดยรอบพื้นที่รองเมืองแห่งนี้ มีการปรับสภาพแวดล้อมบ้านเรือนและชุมชน ผ่านงานศิลปะและกระบวนการมีส่วนร่วม เริ่มจากแกนนำเด็กที่เข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาสื่อที่เหมาะสม ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานเพื่อชุมชน เกิดเป็นกลุ่มอาสาสมัคร ครบครัวอาสาสมัคร เยาวชนอาสา อาสาสมัครจากธนาคารจิตอาสา อาสาสมัครจากภาคธุรกิจ ประชาสังคม กว่า 700 คน” ทพ.กฤษดา กล่าว
รศ.ดร.โคทม อารียา ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวว่า มูลนิธิฯ นำแนวคิดเมือง3ดีวิถีสุข มาทำงานร่วมกับ 4 ชุมชนในย่านนี้ คือ ชุมชนวัดดวงแข ซึ่งเป็นตัวอย่างให้เพื่อนชุมชนข้างเคียงประกอบด้วย ชุมชนจรัสเมือง ตรอกสลักหิน และแฟลตรถไฟ พร้อมกับสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของทุกชุมชนในเขตปทุมวันรวม 17 ชุมชน การทำงานเน้นกระบวนการสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ถนนรองเมือง ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2556 มีการดำเนินการ อาทิ เชิญชวนครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรม “เมนูเรืองยิ้ม” ให้เด็กได้รับความรู้เรื่องโภชนาการ การรับประทานอาหารเช้า และอาหารที่มีประโยชน์ กิจกรรม “ร้านเรืองยิ้ม” เกิดจากที่เด็กๆ ได้ลงพื้นที่สำรวจร้านอาหารอร่อย สะอาด ราคาเหมาะสม มาคัดเลือกพร้อมมอบใบประกาศและจัดทำเป็นแผ่นพับเผยแพร่ จัดประกวด “บ้านเรืองยิ้ม” ส่งเสริมสุขอนามัยบ้านและชุมชนที่สะอาดและปลอดภัย ซึ่งช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และต่อยอดเป็น “ชุมชนเรืองยิ้ม” ที่มีการพัฒนาพื้นที่ในชุมชนให้สะอาด สวยงาม แต่งแต้มสีสันบนกำแพงตลอดทางเดินในชุมชน จากนั้นมีการพัฒนาพื้นที่รอบๆ ชุมชน คือ “กำแพงหัวลำโพงเรืองยิ้ม” ที่มีแต่ขยะ กลิ่นเหม็น น่ากลัวในเวลากลางคืน มาเป็นกำแพงที่สวยงาม สดใส เป็นพื้นที่เรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ให้กับเด็ก เยาวชน และชาวชุมชนในขณะนี้
ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ “เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้ เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด” หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔
Japanดีจัง (1) พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย […]
19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560
กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง หมู่บ้านปาโงปะแต ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส จากเยาวชนไม่ถึง 10 คนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่รอดพ้นจากอิทธิพลของยาเสพติด จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ (เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และไม่ได้เรียน ) ขี้อาย พูดไม่เก่ง กลัวผู้คน ( มีอาการเป็นไข้ บางคนหายใจ ไม่ออก เมื่อพบเจอผู้คน ) จากเยาวชนที่ถูกสงสัยเรื่องก่อความรุนแรง สู่แกนนำเด็กเยาวชนที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย ปลอดยาเสพติด 100% สร้างกองทุนเพื่อช่วยเด็กเยาวชนในชุมชนที่ยากจนไม่ได้เรียนหนังสือ และผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงพื้นที่สีแดง ทั้งเรื่องยาเสพติด ความรุนแรง ความหวาดระแวงกันและกัน กลายเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อแบ่งปันช่วยเหลือทำงานร่วมกันระหว่างราชการกับชุมชน จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ ไม่รู้จักเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ กลายเป็นผู้สร้างสื่อสร้างสรรค์หนังสั้นอนา ซีสที่สร้างผลกระทบลดเรื่องยาเสพติดในชุมชนได้อย่างแนบเนียน เป็นกลุ่มเด็กเยาวชนกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมา การทำงานจิตอาสาเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปฏิเสธเสื้อกันหนาวไม่กี่ตัวที่ได้รับบริจาค เพื่อการส่งต่อ และเริ่มต้นงานเล็กๆ ด้วยจิตอาสาเกินร้อย แบกไม้กวาดไม้ถูพื้นลงพื้นที่ทำความสะอาดโรงเรียนที่น้ำท่วม( หลังน้ำลด ) กลายเป็นผู้จุดประกายงานจิตอาสาเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ […]