วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
ความเป็นมา
แนวคิดและหลักการ 3 ดี
แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี
เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง
พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม
ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น การส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ ตระหนักในประวัติศาสตร์ชุมชนของตนเอง การอนุรักษ์ศิลปะดนตรีพื้นบ้าน การทำเกษตรอินทรีย์และพัฒนาชุมชนโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมให้เด็กได้สร้างสื่อที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง เช่น ละคร หนังสั้น ในขณะเดียวกันก็มีหลายๆองค์กรที่ทำกิจกรรมที่เน้นการสร้างกลไกปกป้องเด็กและเยาวชนจากสื่อที่มีพิษภัย การฝึกอบรมครูให้มีทักษะในการสอนกระบวนการเท่าทันสื่อแก่เด็กในโรงเรียน ภาคีเครือข่ายของสสย.ที่มาร่วมสัมมนาในครั้งนี้ มีการทำงานในหลากหลายระดับทั้งในระดับ ระดับจังหวัดและระดับชุมชน (ในระดับชุมชนอาจครอบคลุมถึงโรงเรียนและครอบครัว)
เรียนรู้และการมุ่งสู่ความยั่งยืนในอนาคต
ประเด็นที่ได้เรียนรู้คือแม้ว่าการดำเนินงานอาจจะพบอุปสรรคปัญหามากมาย แต่ยังมองเห็นแง่ที่งดงาม ความหวังจากผลงานที่ออกมาจากหลายๆโครงการ
จากการสัมมนาพบว่า กิจกรรมที่แต่ละโครงการ แต่ละองค์กรดำเนินการอยู่สร้างความสุขกายสุขใจแก่เด็ก เยาวชน คนในชุมชน และผู้จัดกิจกรรมเอง ทุกคนได้เรียนรู้ มีความสุข สนุกสนานและได้มีโอกาสพัฒนากาย จิต สังคม ปัญญาไปพร้อมๆกัน หลายกิจกรรมที่ดำเนินการเน้นการปลุกจิตสำนักให้รักบ้านเกิด หวงแหนในวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเอง เช่น ชุมชนชาวเยอ(ชนพื้นบ้านในเขตจังหวัดศรีสะเกษ) หรือ ของกลุ่มชนเผ่าที่หลากหลายชาติพันธุ์ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หลายกิจกรรมสร้างและพัฒนาให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปด้านที่ดีขึ้น เช่น การลดขนมกรุบกรอบที่ไร้ประโยชน์ การงดการดื่มน้ำอัดลม การที่สมาชิกในครอบครัวให้ความสำคัญกับการจัดเวลาให้แก่กันและกัน มีกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น และรวมถึงการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ทางความคิดของสมาชิกในชุมชน การรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ที่ชุกชุมด้วยยาเสพติด ภัยอันตรายต่างๆ กลายสภาพเป็นพื้นที่ที่เปิดสำหรับทุกคนในชุมชน สรุปได้ว่าข้อดีเด่นของกิจกรรมที่สร้างจากแนวคิด 3 ดี ทำให้คนในชุมชนและผู้ทำกิจกรรมมีความสุข และยังสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่พฤติกรรมด้านบวกของคน ครอบครัวและชุมชนอีกด้วย
ความยั่งยืนเป็นประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คำถามมีอยู่ว่าทำอย่างไรคนในชุมชนจึงจะสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมที่มีคุณค่างดงามดังที่ได้กล่าวแล้วได้เองอย่างต่อเนื่อง ในที่สัมมนามีการกล่าวถึงการสร้างแกนนำกลุ่มเยาวชน การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนโดยให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกิจกรรม 3 ดีให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การดำเนินการ การติดตามประเมินผล เพราะเยาวชนจะต้องมารับผิดชอบชุมชนของตนเองในอนาคต รวมถึงประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนี่ง ได้แก่ การผลักดันแผนการทำงานพัฒนาเด็กและเยาวชนเข้าสู่นโยบายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด) เพื่อให้การดำเนินการมีเจ้าภาพและงบประมาณที่ชัดเจนสม่ำเสมอต่อเนื่อง
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]
เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม […]
มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่ ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60 ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: […]
เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 โดยทีมโค้ชชิ่งโครงการไอซีทีแฮปปี้ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้จัดการประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี : สื่อดี พื้นที่ ภูมิดี เพื่อร่วมจัดทำและวางแผนการทำโครงการปี 2559 ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ซึ่งในปีนี้โครงการแต่ละโรงเรียนมุ่งเน้นเชิงลึกและชัดเจนมากขึ้นมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อในการบูรณาการรายวิชาและการ สร้างสื่อสร้างสรรค์ภายใต้กระบวนการสอนแบบ PBL การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน บรรยากาศในการประชุมเป็นกันเอง สบายๆ คุณครูได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วยค่ะ และทางโครงการฯ ยังได้มอบสื่อความรู้ใหม่ๆ Roll up ชุดใหม่ ของที่ระลึก ฯลฯ เพื่อให้ครูแกนนำ นำไปใช้ในกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ข้อมูลและภาพจาก Icthappy