Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ฮัมดี ขาวสะอาด : ผู้นำเยาวชนมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้ | ชุมชน 3 ดี
ฮัมดี ขาวสะอาด : ผู้นำเยาวชนมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้

จากเยาวชนมุสลิมที่เกือบเข้าสู่กระบวนการ   กลายเป็นผู้นำที่ใช้พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กสร้างสันติภาพในใจคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้   

“ ถ้าไม่มีวิธีการหรือสิ่งอื่นใดในการสร้างสันติภาพ  ผมจะเข้าสู่กระบวนการ” 

      ชายหนุ่มในวัย 25 ปีที่พยายามค้นหาวิธีการสร้างสันติภาพมาตลอดชีวิตบอก    

การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กใน 3 จังหวัดว่ายากแล้ว   การเปิดใจผู้คนยากยิ่งกว่า… 

ฮัมดีในวัยเด็กมีโอกาสได้คลุกคลีกับคุณพ่อผู้มีจิตสาธารณะ   ฮัมดีจึงซึมซับความเป็นจิตอาสามาจากคุณพ่อเต็มๆ   ฮัมดี หรือ แบร์ดีของเยาวชนใต้  เป็นคนมีจิตใจดี ซื่อสัตย์ ละเอียดอ่อน มีน้ำใจ  คิดบวก

มีเหตุและผล ประนีประนอม  เข้าใจความหลากหลายของผู้คน เข้าถึงผู้คนชุมชน เคารพชุมชน   เป็นคนให้โอกาสคน    ยืดหยุ่น     มองจังหวะในการเข้าพัฒนางานได้ดี   เปิดกว้างไม่ติดกรอบใดๆ   มีมุมมองเชิงการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม มุ่งมั่นในการทำงานช่วยเหลือคนอื่น  เชื่อในวิธีการสันติวิธีเพื่อสร้างสันติภาพ   

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ฮัมดีเป็นกลายแกนนำในการทำกิจกรรรมต่างๆของโรงเรียนตั้งแต่ม.ต้น จนถึงเรียนมหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในกลุ่มเยาวชนของชุมชนศรัทธาทำงานพัฒนาชุมชน 

“ ผมเป็นแกนนำรวมกลุ่มเด็กต่างจังหวัดยากจนที่เข้ามาเรียนในเมืองทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมทำให้พวกเรามีข้าวกิน เกิดการเรียนรู้ และเกิดประสบการณ์ที่หาจากบทเรียนไม่ได้ในห้องเรียน ”         

จากการได้รับรู้สถานการณ์ความทุกข์ยากลำบากผู้คนของ 3 จังหวัด ฮัมดี ในวัย 25 ปี พยายามค้นหาวิธีเพื่อสร้างสันติภาพในดินแดนสามจังหวัดชายแดนใต้มาตลอดชีวิต  และตั้งใจว่าถ้าไม่มีวิธีการหรือหนทางอื่นใดในการสร้างสันติภาพแล้ว เขาจะเข้าสู่กระบวนการ    

ระหว่างช่วงทางสองแพร่งในอุดมการณ์ที่แน่วแน่เพื่อค้นหาวิธีการสร้างเปลี่ยนแปลงให้เกิดสันติภาพ   ในปีพ.ศ. 2553 ฮัมดีอายุ 23 ปีได้เลือกเข้ามาทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ( มพด. ) ในหน้าที่การสร้างกลไกชุมชนเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก   และฮัมดีได้ค้นพบวิธีการที่เขาค้นหามานาน และเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่การสร้างสันติภาพในที่สุด    

“ ในพื้นที่ 3 จังหวัดใต้การเปิดพื้นที่สำหรับเด็กเยาวชนว่ายากแล้ว  แต่การเปิดพื้นที่ในใจคน( ผู้ใหญ่ )ยากยิ่งกว่า   ผมเชื่อมั่นว่าการเปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้ผู้คนไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร  จะติดยา  จะทำผิด หรือถูกฎหมาย  จะเป็นอย่างไรก็ตาม ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกัน  แลกเปลี่ยน สร้างความสัมพันธ์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของหนทางที่จะสันติภาพให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ”

“ การสื่อสารที่สร้างสรรค์ จะช่วยนำสันติภาพมาสู่ 3 จังหวัดชายแดนใต้    เราจะสร้างให้เด็กเยาวชนของเราเป็นนักสื่อสารที่ดี  มีจิตสำนึก  สื่อสารเรื่องราวที่ดีของบ้านเราสู่ผู้อื่น  พลังของเยาวชนจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างสันติภาพเกิดขึ้นในที่สุด”   

ฮัมดีเป็นคนเบื้องหลังที่คอยผลักดัน ให้แนวคิดการทำงาน เปิดโอกาส สนับสนุน เป็นเพื่อนร่วมเดินทางในการสร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ให้เกิดกลุ่มอิงะกัมปง  และกำลังมุ่งมั่นสร้างกลุ่มเยาวชน

จิตอาสารุ่นใหม่ทั้งในมหาวิทยาลัย ของ๓จังหวัด  และนอกระบบ ภายใต้ชื่อ ธนาคารใจอาสา  และฮัมดียังเป็นผู้นำทางความคิดที่ขับเคลื่อนสร้างสันติภาพด้วยการเปิดพื้นที่สำหรับเด็กเยาวชน  ผลักดันให้เด็กเยาวชนเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กใน  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  มุ่งหวังว่าการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์

จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ให้เยาวชน เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างความสัมพันธ์ของผู้คนใน 3 จังหวัด และจะเกิดสันติภาพในที่สุด      

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ สื่อมีเยอะ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป” พี่โก๋ หรือ จันทรกานทิยมภา กลุ่มหนอนไม้อดีตสมาชิกกลุ่มมะขามป้อมที่ทำงานด้านละครเพื่อการพัฒนา ได้ผันชีวิตตัวเองออกไปทำกิจกรรมอิสระเพื่อพัฒนาเด็ก มาดูกันว่าในนิทานมีอะไร ถ้านึกย้อนไปตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายนิทานถือว่าเป็นความสุขของเด็ก เพราะเป็นสายใยสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกถ้ามาโรงเรียนก็จะเป็นครูกับลูกศิษย์ เราจะใช้ตัวนิทานสอนเด็ก พอเด็กได้ฟังสอนเรื่องอะไรเด็กก็จะเชื่อในนิทาน แต่ในนิทานมักมีความเชื่อหลายอย่าง นิทานพื้นบ้านที่นำมาสอนเด็กได้ “การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เด็กเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรักในนิทาน พอตักอุ่นๆของพ่อแม่และ มีนิทานกับเสียงนุ่มๆ ของพ่อแม่ พอเด็กได้ฟังเด็กก็จะเป็นเพลินและหลับไปโดยมีมีนิทาน มีตักอุ่น เสียงนุ่มๆ ที่เป็นเหมือนยานอนหลับให้ลูกได้มีมีความสุขนั่นเอง” นิทานสอนได้หลายอย่าง สอนเรื่องภาษา ศิลปะ จินตนาการ และเด็กมักจะมีจินตนาการที่มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ใหญ่คิดไม่ถึงในจินตนาการของเด็ก ถ้าเราจะแยกจินตนาการ ก็เป็นจินตนาการแบบอิสระ และ จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ จินตนาการแบบอิสระก็คือ เด็กในวัยเล็กๆ1-2 ขวบ เด็กอาจจะยังไม่มีประสบการ์โดยตรง จินตนาการเด็กจะมีอิสระ จินตนการเรื่องอะไรก็ได้ที่เด็กได้ฟัง จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เด็กโตมากหน่อย ที่ผ่านประสบการณ์และเอาประสบการณ์ที่เค้าพบเห็น พอเราเล่านิทานอะไรให้ฟัง เค้าก็จะร้อง อ๋อ และนึกเชื่อมโยงไปได้ เพราะฉะนั้น นิทานหนึ่งเรื่องสามารถสอนเด็กได้หลายอย่าง เลือกนิทานอย่างไรให้เหมาะกับเด็ก การเลือกนิทานเราจะต้องเลือกนิทานที่ไม่ยาวมาก ต้องสั้นๆ […]

สสย.จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการในเรื่อง พลัง 3 ดี กับการสร้างพลเมืองเด็ก ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2257 ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ จุดประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้คือ การเรียนรู้แนวคิดและหลักการของชุมชน 3 ดีและการสร้างพลเมืองเด็ก รวมถึงการสร้างวิทยากรในหัวข้อทั้งสอง เพื่อให้สามารถไปเผยแพร่ขยายผลต่อในระดับชุมชนได้

Japanดีจัง (1) พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย […]

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข     ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี “ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น” ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด 3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา   “  พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี”  “ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ” ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  […]