Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
เปิดห้องเรียน ! Spark U ปลุก ใจ เมือง | ชุมชน 3 ดี
เปิดห้องเรียน ! Spark U ปลุก ใจ เมือง

600612_news1เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น

23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี

2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา

8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน
อ.จะนะ จ.สงขลา

14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้

เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข ความหวังในพื้นที่ภาคใต้”…แล้วพบกัน!

600612_news2

600612_news3

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปิด ตลาดนัดมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำเสนอผลงาน นิทรรศการ สร้างแรงบันดาลใจสร้างเด็กให้มีภูมิคุ้มกันตามแนวคิด 3 ดี 9 มิ.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรม “ตลาดนัดมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำเสนอผลงาน นิทรรศการ สรุปประสบการณ์ความรู้ จากการนำแนวคิด3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ไปปรับประยุกต์ใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า 200 ศูนย์ทั่วประเทศ การ จัดงานครั้งนี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้ครูผู้แลเด็ก รวมถึงการนำเสนอแนวคิด ชุดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อีกท้ังเป็นการเผยแพร่ แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างกลไกการทำงาน พัฒนาเด็กและองค์ความรู้ร่วมกัน นายพศุตม์ เกิดศรีพันธ์ คุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนพิทักษา เขตบางพลัด ผู้คิดค้น PVC แคน ซึ่งประยุกต์ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว มาทำเครื่องดนตรี ไล่เสียงโน้ตดนตรีโด เร ซึ่งเด็กๆชอบเล่นกันมาก “การ ประยุกต์ใช้ ทำให้เราสามารถทำของให้เด็กๆเล่นได้ และเครื่องดนตรีชนิดนี้ให้เสียงที่เพราะและเป็นเสียงที่ไม่เคยได้ยิน เด็กจะชอบมาตี แม้จะไม่เป็นเพลงแต่เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้เรื่องเสียง การจับไม้ตีว่าควรจับแบบไหน […]

มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: […]

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย   “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา   ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร   กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]