Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
เพชรบุรี…ดีจังถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้…ดีจัง | ชุมชน 3 ดี
เพชรบุรี…ดีจังถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้…ดีจัง

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ18813195_1387065601387736_3191314074927345085_n

 

ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง เรียนรู้แล้วลองทำตาม เกิดความรู้ตามมามากมาย นำเสนอนโยบายต้นแบบ ๑ ชุมชน ๑ พื้นที่สร้างสรรค์ ต่อสาธารณะ

 

2555 สร้างกระแสสังคม ด้วยกระบวนการความร่วมมือของ 5 พลัง ได้แก่ พลังวัฒนธรรม พลังชุมชน พลังเครือข่าย พลังเยาวชน และ พลังสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ใช้สื่อสร้างสรรค์ทั้ง 5 อันได้แก่ สื่อวิถีชุมชน สื่อภูมิปัญญา สื่อศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชนท้องถิ่น และ สื่อ ICT เพื่อเปิดเส้นทางพื้นที่สร้างสรรค์ 5 ยิ้ม คือ ถนนยิ้ม แม่น้ำยิ้ม ตลาดยิ้ม วัดยิ้ม ชุมชนยิ้ม สร้างความหมายใหม่ เพชรบุรี ดีจัง

 

2556 ปรากฏการณ์เมือง 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ขยายพื้นที่สร้างสรรค์ทั่วจังหวัดเพชรบุรี เกิดกลุ่มเยาวชนกว่า 30 กลุ่ม ในพื้นที่ 8 อำเภอ สร้างความสัมพันธ์ด้วยการร้อยเรียง เชื่อมโยง เครือข่าย เพชรบุรี ดีจัง จากภูเขาถึงทะเล เปลี่ยนความห่างไกลเป็นความใกล้ชิดกัน

 

2557 – 2558 เพชรบุรี เมืองมีชีวิต แกนนำเยาวชนเครือข่าย สร้างสรรค์กิจกรรม นำสื่อ ศิลปะมาขับเคลื่อนชุมชน ผ่านการเรียนรู้สื่อ ศิลปะชุมชน นำมาออกแบบ ผลิตอย่างสร้างสรรค์ และจัดกิจกรรมสื่อสาร ผลิตซ้ำ ทำแล้วก็ทำอีก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 5 ปี เมืองเพชรบุรีกลับมีชีวิตชีวาเห็นได้

 

2559 ชุมชนสร้างสรรค์ ปีที่ 6 ของ เพชรบุรี ดีจัง พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เริ่มขยายผลกว้างขึ้นในชุมชน หลายพื้นที่มีการทำงานร่วมกันของกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน ร่วมกันพัฒนาชุมชนของตน สร้างพื้นที่เรียนรู้ในชุมชนในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบทและความสนใจ เป็นพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต

 

2560 จากการเรียนรู้ชุมชนของกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้เรามีความตั้งใจว่า จะชักชวนกันนำความรู้ที่ได้รับ มาออกแบบเพื่อสื่อสารเรื่องราวของชุมชน เพชรบุรี ดีจัง สู่สาธารณะให้มีคุณค่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนจะออกมาในรูปแบบไหนนั้น ขอได้โปรดติดตามกันต่อไป ซึ่งโครงการเพชรบุรี ดีจัง ปีที่ 7 จะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนกรกฏาคมนี้จ้ะ

ข้อมูลจาก กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี18835509_1387065454721084_8312609569790218259_n

บทความที่เกี่ยวข้อง

เริ่มเสาร์อาทิตย์นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬมีงานชุมชนสร้างสรรค์ส่งท้ายปีเก่ามาเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคนร่วมแบ่งปัน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับคำสั่งไล่รื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า …. งาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ เป็นงานที่ศิลปิน นักออกแบบ นักจัดการทางศิลปะ ร่วมมืกับชาวบ้านเวิร์คชอปทำแพคเกจจิ้งสินค้าภายในชุมชน จัดทำของที่ระลึกและศิลปะทำมืออีกมากมายไว้รอต้อนรับเพื่อนๆ เสาร์อาทิตย์ 24-25 ธันวานี้ เบื้องหลังความคิดที่มาของงานจากปากคำ Roj Siam Ruay ผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ กล่าวไว้น่าสนใจมาก “การสร้างอัตลักษณ์อย่างง่าย : ให้จำคำนี้ไว้ “แวดล้อมคือตัวตน” ทุกสิ่งอันจะช่วยกันเล่าและเกลี้ยกล่อมให้คนดูงาน เข้าใจและนึกไปถึงถิ่นฐานที่มาได้ ในภาพเป็นชุดตรายางจากสิ่งรายรอบของชุมชนป้อมมหากาฬ(บางส่วน) มีคน เด็ก แมว ต้นไม้ สุ่มไก่ ศาลพระภูมิ พวงมะโหตร ฯลฯ เมื่อมันทำงานพร้อมๆกัน ‘ภาพจำติด’ จะสร้างให้ผู้ที่เคยสัมผัสพื้นที่เข้าใจได้ว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับชาวป้อมมหากาฬ ที่มาของแบบนั้นเป็นต้นทุนเรื่องราวที่ดี เป็นเรื่องจริง ปรากฏจริง แล้วยิ่งถ้าไม้ที่ทำด้ามตรายาง เป็นไม้ที่เหลือจากการไล่รื้อด้วยล่ะ? คุณว่ามันจะเป็นที่อื่นได้ไหม?” ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ มาหากันนะ … ส่วนงาน ต่อ […]

เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 โดยทีมโค้ชชิ่งโครงการไอซีทีแฮปปี้ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้จัดการประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี : สื่อดี พื้นที่ ภูมิดี เพื่อร่วมจัดทำและวางแผนการทำโครงการปี 2559 ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ซึ่งในปีนี้โครงการแต่ละโรงเรียนมุ่งเน้นเชิงลึกและชัดเจนมากขึ้นมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อในการบูรณาการรายวิชาและการ สร้างสื่อสร้างสรรค์ภายใต้กระบวนการสอนแบบ PBL การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน บรรยากาศในการประชุมเป็นกันเอง สบายๆ คุณครูได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วยค่ะ และทางโครงการฯ ยังได้มอบสื่อความรู้ใหม่ๆ Roll up ชุดใหม่ ของที่ระลึก ฯลฯ เพื่อให้ครูแกนนำ นำไปใช้ในกิจกรรมภายใต้โครงการฯ   ข้อมูลและภาพจาก Icthappy

เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน  ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138  ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา รุจจิราภรณ์ พรมมิ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น […]

เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว ๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย  ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด  แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์  เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์  เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้ ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา”  เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม   ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน   เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่   ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่   เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง  ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ   ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย  มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่ มาแล้วจะได้อะไร? เดินแล้วจะเห็นอะไร? แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง ๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่ กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร  ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม […]