Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้มย่านบางกอกน้อย ย่านบางกอกใหญ่ | ชุมชน 3 ดี
ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้มย่านบางกอกน้อย ย่านบางกอกใหญ่

เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน

580620_bangkok2

วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม การเสียสละช่วยเหลือซึ่งกัน “หลากหลาย แต่เข้าใจ” เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การเคารพสิทธิในความเป็นพลเมือง “ปัญหานี้ ใครแก้”ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการมีจิตอาสาร่วมสร้างสรรค์ชุมชนตกเย็นล้อมวงชวนคุย ฟังเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ “ย่านบางกอกน้อย ย่านบางกอกใหญ่” โดยปราชญ์ชุมชน

วันที่ 21 มิถุนายน 2558ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ย่านบางกอกน้อย ย่านบางกอกใหญ่โดยน้องได้เรียนรู้ ถึงความเป็นมาของชื่อชุมชน,ประวัติความเป็นมาของชุมชน,วิถีชีวิตของคนในชุมชนจากอดีตสู่ปัจจุบัน,ประเพณี วัฒนธรรมและศาสนาของคนในชุมชน,การทำกิจกรรมของชุมชน,สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดความภาคภูมิใจ / สิ่งที่มีอยู่และไม่เกิดความพึงพอใจ

580620_bangkok1
และมอบภารกิจให้น้องได้ปฏิบัติในการตามหายิ้มแต่ละชุมชน5 ภารกิจคือ
1.ตะลอนแชะภาพหายิ้ม (เพื่อนำมาเล่าสื่อสารสู่สาธารณะ)
2.แวะชม ชวนคุยและชื่นชม
3.มองแล้วชื่นชอบ…ไม่แช่มชื่นเมื่อมองเห็น
4.เบิกบานยิ้ม จะดีจังถ้าไม่เป็นแบบนี้
5.ร้อยเรื่องราวเล่าผ่านงานศิลป์ “ชุมชนยิ้ม ชุมชน 3ดี ชุมชนนี้…ดีจัง”

580620_bangkok3

580620_bangkok4
โดยแบ่งเยาวชนออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ไปเรียนรู้ชุมชน 9 ชุมชน (เขตบางกอกน้อย) ได้แก่ ชุมชนวัดโพธิ์เรียง,ชุมชนวัดครุฑ,ชุมชนวัดอัมพวา,ชุมชนวัดดงมูลเหล็ก,ชุมชนวัดรวกสุทธาราม,ชุมชนวัดมะลิ,ชุมชนวัดไชยทิศ,ชุมชนวัดสุวรรณาราม(ชุมชนบ้านบุ),ชุมชนตรอกข้าวเม่า

กลุ่มที่ 2 ไปเรียนรู้ชุมชน 9 ชุมชน (เขตบางกอกใหญ่) ได้แก่ ชุมชนตรอกกระจก,ชุมชนวัดสังข์กระจาย,ชุมชนหลังโรงกรองน้ำ,ชุมชนวัดท่าพระ,ชุมชนหลังวัดใหม่วิเชียร,ชุมชนตรอกตาแทน,ชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์,ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม,ชุมชนวัดโมลี
ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้ชุมชน เรียนรู้สังคม และได้รู้จักการแบ่งปันให้กับคนอื่น เรียนรู้ที่จะเป็นจิตอาสา ร่วมสร้างชุมชนยิ้ม ชุมชน 3 ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้  มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’”   นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี  ของชุมชนวัดอัมพวา  เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง  บอกเล่า  ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้  เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา   พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน  ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด  เกมต่างๆ  ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด “ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด  และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ” …ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง  แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์  ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน  เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้  ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ “ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้  ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน  เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน  ทำกิจกรรมกับพี่ๆ  เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง  ความคิดผมก็เปลี่ยน  ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต   แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’” […]

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]

“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]

เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว ๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย  ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด  แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์  เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์  เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้ ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา”  เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม   ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน   เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่   ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่   เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง  ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ   ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย  มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่ มาแล้วจะได้อะไร? เดินแล้วจะเห็นอะไร? แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง ๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่ กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร  ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม […]