
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…”
ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป
กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน
“ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว”
คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป ซึ่งกิกิได้ผ่านกระบวนการเหล่านี้ เธอจึงเลือกเส้นทางการสร้างเยาวชน แทนที่จะผันตัวเองไปเป็นแรงงาน
“ให้” เพื่อให้ไม่สิ้นสุด
“เท่าที่เรารู้ เราก็อยากให้คนอื่นๆได้รู้เหมือนเรารู้ แล้วพอเขารู้ก็จะป้องกันเขาไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ เพราะหนูก็เคยเป็นเด็กในศูนย์การเรียนรู้ที่แม่สอด ตอนนั้นหนูเห็นเพื่อนที่จบแล้วก็ไม่มีงานทำ เพราะไม่ได้ใบรับรองการศึกษา พ่อแม่ก็จะคิดว่ามาเรียนจบแล้วได้อะไร จบแล้วต้องทำงาน ก็เลยไม่มีใครอยากเรียนจนจบ ถึงเรียนจบไปก็ต้องไปทำงานใช้แรงงานในนา โรงงาน ร้านอาหาร เพราะเขาคิดว่าการศึกษาก็แค่การอ่านได้ก็พอแล้ว คนที่ไม่มีการศึกษาก็เลี้ยงตัวเองได้ เราอยากให้พ่อแม่รู้ว่าการศึกษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดีสำหรับการป้องกันตัวและดีสำหรับการใช้ชีวิต”
ด้วยความเชื่อนี้ทุกการอบรมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม รวมทั้งการอบรบของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ในโครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในสภาวะวิกฤติ อโดยการสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิตเพื่อการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ และเพื่อให้สังคมรับรู้ เข้าใจภาวะวิกฤติของเด็กในสภาวะยากลำบาก และนำไปสู่การความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบแนวคิดในการทำงานคือ ”อยู่ให้รอด เล่นให้ปลอดภัย คิดอย่างสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ”
เป็นการทำงานกับกลุ่มเด็กชาติพันธ์ เด็กต่างชาติที่ประสบภัยพิบัติและแรงงานเด็กต่างชาติ ทั้งจังหวัดระนอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี พังงา เชียงราย เชียงใหม่ กลุ่มเยาวชน สปป.ลาว และตาก โดยสอนการทำละครหน้าขาว หุ่นเงา และครีแอนิเมชั่น
“อบรม 3 วันค่ะ แล้วเราก็กลับมาพัฒนาตัวเองกันก่อน ค่อยจัดอบรมแกนนำเยาวชนในชุมชมอีก 20 คน ถัดไปอีกปีก็ไปสอนที่ศูนย์การเรียนรู้ของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดนดูแลอยู่ เด็กเยาวชนสอนกันได้ดีกว่าเราลงสอนเองเพราะน้องเขารู้และเข้าใจปัญหาในชุมชนดีกว่าพวกเรา ”
ศูนย์การเรียนในแม่สอดมีทั้งหมด 74 แห่ง และมี 11 แห่ง ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ ซึ่งกิกิและน้องเยาวชน ต้องเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับครูและนักเรียน
การได้ความรู้ครั้งนั้นทำให้กลุ่มเยาวชน Rays of youth ได้ใช้เป็นสื่อในการอบรม ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ รวมถึงเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านสื่อได้ ทั้งละครหน้าขาวการค้ามนุษย์ ทำให้เด็กรู้ถึงกลการหล่อลวงในรูปแบบต่างๆ รู้ถึงสิทธิของตัวเอง ใช้และบอกต่อกับครอบครัวตัวเองได้ ครีแอนิเมชั่นเรื่องจราจร ละครหุ่นเงาที่มีเนื้อหาสื่อสารความเข้าใจกับคนไทยต่อปัญหาที่คนต่างชาติต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ที่แม่สอด
“เราทำครีแอนิเมชั่นให้ความรู้เรื่องการจราจรเพราะในแม่สอดคนพม่าเยอะและไม่เข้าใจสัญญาณจราจร แค่ไฟแดง เขียว เหลือง เขายังไม่รู้กันเลย บางคนโดนรถชนก็จะไปรับการรักษาลำบากมาก เพราะไม่มีบัตร แล้วถ้าเราจะให้ความรู้เขาเรื่องนี้โดยการไปพูดให้เขาฟัง เขาก็จะไม่เห็นภาพ แต่ถ้าเราทำสื่อเป็นหนังการ์ตูน พอเขาดูแล้วก็จะทำให้เข้าใจได้มากกว่าเราไปพูดเฉยๆ เขาจะสนใจ แล้วเขาก็ได้ความรู้ด้วย”
นอกจากสื่อ 3 อย่างนั้นแล้ว ยังได้รับการอบรมผลิตสารคดีของ MTV Exit ทำให้ได้ทักษะการเขียนบทและถ่ายภาพ เข้าร่วมอบรมนักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส ทำให้สื่อสารและขยายประเด็นแรงงานต่างชาติในพื้นที่แม่สอดไม่สู่สื่อกระแสหลักได้ แต่ถึงอย่างไร กิกิ และ เพื่อนเยาวชน Rays of Youth ก็ไม่ทิ้งชุมชน นำละครไปเล่นและให้ความรู้เสมอ
“เราลงชุมชนตลอดปีแรกเราจะลง 5 ชุมชน เอาละครหน้าขาว เอาหุ่นเงาไปเล่นให้ดู ถ้าเราทำกิจกรรมตอนเช้า หรือตอนกลางวัน ชาวบ้านก็จะไม่อยู่เพราะต้องทำงาน พวกเราก็ต้องไปเล่นละครกันตอนกลางคืน เรามีเพลง มีการเต้นด้วยจะได้สนุกแล้วก็ได้ความรู้”
ก่อร่างสร้างคน
จากจุดเริ่มกลุ่มเยาวชน 3 คน นั่นคือ กิกิ จูลี่ (Su Htel Lwin) และ วิค (วิคตอเรีย ทีสุขาติ) ตอนนี้มีแกนนำเยาวชนกว่า 50 คน อบรมให้กับเยาวชนกว่า 1,000 คน
“ตอนนี้ไม่ว่าจะทำสื่ออะไรทั้งหนังสั้น เขียนบท ทำสคริป สัมภาษณ์ ทำหุ่น เล่นละคร พวกเขาทำได้หมด แล้วไม่ใช่แค่พวกเขาที่รู้นะ น้องก็จะสอนกันต่อไป
เหนื่อยนะ…(พักคิดก่อนจะตอบ) แต่ไม่เหนื่อย เพราะว่ามีกำลังใจ เห็นแล้วภูมิใจในตัวเองที่ช่วยเหลือชุมชนกะเหรี่ยงในแม่สอด เหนื่อย…ก็ไม่เป็นไร เพราะสนุกและชอบงานที่เราทำ”
จบประโยครอยยิ้มผุดพรายเต็มใบหน้าอธิบายถ้อยประโยคเมื่อครู่ ว่ามีความสุขได้เต็มภาคภูมิแล้ว ทั้งที่เธอเองก็ยังแน่ใจนักว่าหลังการเปิดเสรีอาเซียนจะเป็นอย่างไร แต่เธอก็ยอมรับว่าสิ่งที่เธอทำวันนี้คือสิ่งที่เธอได้เลือกแล้ว
ติดตามเรื่องราวของกลุ่มเยาวชน Ray of Youth ได้ที่
1. http://www.facebook.com/raysofyouth
2.http://
3. http://www.youtube.com/user/RaysOfYouth
สุมาลี พะสิม สัมภาษณ์ / เรียบเรียง
เจ้าหน้าที่จัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
ภาพประกอบจาก https://www.facebook.com/pawk.ki
เริ่มเสาร์อาทิตย์นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬมีงานชุมชนสร้างสรรค์ส่งท้ายปีเก่ามาเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคนร่วมแบ่งปัน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับคำสั่งไล่รื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า …. งาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ เป็นงานที่ศิลปิน นักออกแบบ นักจัดการทางศิลปะ ร่วมมืกับชาวบ้านเวิร์คชอปทำแพคเกจจิ้งสินค้าภายในชุมชน จัดทำของที่ระลึกและศิลปะทำมืออีกมากมายไว้รอต้อนรับเพื่อนๆ เสาร์อาทิตย์ 24-25 ธันวานี้ เบื้องหลังความคิดที่มาของงานจากปากคำ Roj Siam Ruay ผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ กล่าวไว้น่าสนใจมาก “การสร้างอัตลักษณ์อย่างง่าย : ให้จำคำนี้ไว้ “แวดล้อมคือตัวตน” ทุกสิ่งอันจะช่วยกันเล่าและเกลี้ยกล่อมให้คนดูงาน เข้าใจและนึกไปถึงถิ่นฐานที่มาได้ ในภาพเป็นชุดตรายางจากสิ่งรายรอบของชุมชนป้อมมหากาฬ(บางส่วน) มีคน เด็ก แมว ต้นไม้ สุ่มไก่ ศาลพระภูมิ พวงมะโหตร ฯลฯ เมื่อมันทำงานพร้อมๆกัน ‘ภาพจำติด’ จะสร้างให้ผู้ที่เคยสัมผัสพื้นที่เข้าใจได้ว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับชาวป้อมมหากาฬ ที่มาของแบบนั้นเป็นต้นทุนเรื่องราวที่ดี เป็นเรื่องจริง ปรากฏจริง แล้วยิ่งถ้าไม้ที่ทำด้ามตรายาง เป็นไม้ที่เหลือจากการไล่รื้อด้วยล่ะ? คุณว่ามันจะเป็นที่อื่นได้ไหม?” ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ มาหากันนะ … ส่วนงาน ต่อ […]
“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]
อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]
“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้ มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’” นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี ของชุมชนวัดอัมพวา เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง บอกเล่า ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้ เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เกมต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด “ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ” …ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์ ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้ ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ “ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้ ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน ทำกิจกรรมกับพี่ๆ เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง ความคิดผมก็เปลี่ยน ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’” […]