Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
นิทาน สร้างแนวรบความอบอุ่นให้ครอบครัว | ชุมชน 3 ดี
นิทาน สร้างแนวรบความอบอุ่นให้ครอบครัว

“ สื่อมีเยอะ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป”

พี่โก๋ หรือ จันทรกานทิยมภา กลุ่มหนอนไม้อดีตสมาชิกกลุ่มมะขามป้อมที่ทำงานด้านละครเพื่อการพัฒนา ได้ผันชีวิตตัวเองออกไปทำกิจกรรมอิสระเพื่อพัฒนาเด็ก

560703_tungsa7 560703_tungsa23

มาดูกันว่าในนิทานมีอะไร

ถ้านึกย้อนไปตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายนิทานถือว่าเป็นความสุขของเด็ก เพราะเป็นสายใยสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกถ้ามาโรงเรียนก็จะเป็นครูกับลูกศิษย์ เราจะใช้ตัวนิทานสอนเด็ก พอเด็กได้ฟังสอนเรื่องอะไรเด็กก็จะเชื่อในนิทาน แต่ในนิทานมักมีความเชื่อหลายอย่าง นิทานพื้นบ้านที่นำมาสอนเด็กได้

“การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เด็กเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรักในนิทาน พอตักอุ่นๆของพ่อแม่และ มีนิทานกับเสียงนุ่มๆ ของพ่อแม่ พอเด็กได้ฟังเด็กก็จะเป็นเพลินและหลับไปโดยมีมีนิทาน มีตักอุ่น เสียงนุ่มๆ ที่เป็นเหมือนยานอนหลับให้ลูกได้มีมีความสุขนั่นเอง”

นิทานสอนได้หลายอย่าง สอนเรื่องภาษา ศิลปะ จินตนาการ และเด็กมักจะมีจินตนาการที่มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ใหญ่คิดไม่ถึงในจินตนาการของเด็ก ถ้าเราจะแยกจินตนาการ ก็เป็นจินตนาการแบบอิสระ และ จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์

จินตนาการแบบอิสระก็คือ เด็กในวัยเล็กๆ1-2 ขวบ เด็กอาจจะยังไม่มีประสบการ์โดยตรง จินตนาการเด็กจะมีอิสระ จินตนการเรื่องอะไรก็ได้ที่เด็กได้ฟัง

จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เด็กโตมากหน่อย ที่ผ่านประสบการณ์และเอาประสบการณ์ที่เค้าพบเห็น พอเราเล่านิทานอะไรให้ฟัง เค้าก็จะร้อง อ๋อ และนึกเชื่อมโยงไปได้ เพราะฉะนั้น นิทานหนึ่งเรื่องสามารถสอนเด็กได้หลายอย่าง

560703_tungsa18

เลือกนิทานอย่างไรให้เหมาะกับเด็ก

การเลือกนิทานเราจะต้องเลือกนิทานที่ไม่ยาวมาก ต้องสั้นๆ มีความสนุก เพราะในนิทานเด็กต้องการความสนุก ความมหัศจรรย์ ตลกขบขัน เด็กต้องการเล่นกับตัวละคร และจินตนาการของเด็กเอง

<span “=””>สิ่งที่เราควรคำนึงในการเลือกนิทานคือ 1.ต้องสนุก 2.เด็กต้องมีส่วนร่วม 3.ต้องมีสาระ ไม่ต้องมากแต่นิทานเรื่องนั้นจะต้องสอนอะไรเด็กได้บ้าง

เคล็ดลับการเล่านิทานให้สนุก ทำอย่างไร

<span “=””>การเล่านิทานมีหลายรูปแบบ เล่าปากเปล่า เล่าโดยใช้สื่อ เล่าโดยใช้หนังสือ หรืออาจจะใช้ศิลปะเรื่องของดนตรี และก็สื่อใกล้ตัว ที่พอจะหยิบมาทำตัวละคร และดนตรีจะทำให้ตื่นเต้นมากขึ้น และถ้าใครร้องเพลงเป็น เล่นดนตรีเป็น ก็จะช่วยให้นิทานเรื่องนั้นๆสนุกมากยิ่งขึ้น

ถ้าคนเล่ามีความคิดสร้างสรรค์ แค่สวมถุงมือข้างเดียวเป็นตัวละครได้เยอะแยะเลย ถ้าใช้มือ ใส่ถุงมือเข้าไปเป็นปลาหมึก เป็นรูปอะไรก็ได้ สิ่งที่จะช่วยสร้างความสนุกจะอยู่ที่ถุงมือ ถ้าเอาถุงมือเข้ามาประกอบในการเล่านิทาน

นิทานกับโลกยุคใหม่

ถ้ามองย้อนไปในการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและมีจินตนาการนั้นมีโครงการ book start ให้พ่อแม่ที่ตั้งท้องเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ในท้อง เด็กก็จะซึมซับมาเรื่อยๆจนเด็กคลอดออกมา จนเด็กโต เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการทางด้านภาษาดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้อ่านตั้งแต่ตั้งท้อง

“ในปัจจุบันสื่อมีเยอะ และเครื่องมือเทคโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป หนังสือเด็กจะไม่สนใจจะไม่ค่อยจับ ถ้าพ่อแม่ปล่อยเด็กแบบนี้นานๆไปเด็กก็จะอยู่หน้าจอทีวี หน้าจอคอมพิวเตอร์ นานๆไปจินตาการเด็กจะน้อยลง ภาษาที่เค้าใช้ก็จะใช้ภาษาที่เข้ามาตามคอมพิวเตอร์ ภาษาวัยรุ่น ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ที่อยากพัฒนาเด็กหานิทานพื้นบ้าน ก็ได้ นิทานเล่มเล็กๆ ถ้าเด็กเล็กก็เลือกนิทานภาพ เพราะภาพจะทำให้เด็กสนุก และเล่านิทานให้เด็กฟังแค่วันละครั้งก่อนนอน เด็กก็จะติดนิสัยรักการอ่านขึ้นมาได้ทันที” พี่โก๋กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของนิทาน

เพราะสื่อและเทคโนโลยีที่มาเร็วจนแทบจะตั้งแนวรบด้านข้อมูลข่าวสารแทบไม่ทันของทั้งโลกโซเชียลมีเดีย ว่าที่ทีวีดิจิตอลที่จะเกิดอีกไม่กี่ปี แต่ไม่ว่าโลกการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน ลองเชื่อมสายใยรัก ด้วยการเล่านิทานสักเรื่องก่อนนอนให้ลูกได้ฟัง เชื่อว่าแนวรบด้านความอบอุ่นของครอบครัวยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

สุมาลี พะสิม // สัมภาษณ์
สวิชญา ชินพงศธร //- ถ่ายภาพ

สิรินาถ น้อยมูลศรี//เรียบเรียง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

สถาบันสือเด็กและเยาวชน ร่วมกับกลุ่ม We are Happy จัดสัมมนา “คู่มือครูพัฒนาพลเมืองเด็ก หนังสือช่วยเด็กสร้างโลก” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุม 202 อาคารดร.สิโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ การจัดสัมมนาขึ้นครั้งนี้เพื่อเผยแพร่และส่งมอบหนังสือ ช่วยเด็กสร้างโลก โดยให้ข้อมูลในการ เผยแพร่ และสาธิตกระบวนการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาครูแกนนำจำนวน 25 คนในศูนย์เด็กเล็กแกนนำให้สามารถ อธิบาย และนำคู่มือไปขยายผลได้ในกลุ่มเครือข่ายต่อไป  

“…เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย” เตือนใจ สิทธิบุรี หรือ หลายๆคนเรียกเธอว่า “ป้าป้อม” อดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์การทำงานพัฒนาและงานค่ายกิจกรรมเห็นต้นทุนทางสังคมของบ้านเกิดจึงมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเชื่อมโยงคนในชุมชน ทั้ง 3 วัยมาเป็นครอบครัวเดียวกัน เริ่มทำงานครั้งแรก ในปี 2530 กับกลุ่มสื่อเพื่อการพัฒนา (AMED) ทำงานกับชาวบ้านในชุมชนแออัด ได้ฝึกกระบวนการคิด และกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนถึงปี 2536 เปลี่ยนมาทำงานที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีโอกาสเดินทางไปการทำงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เพิ่มพูนทักษะ เทคนิคการทำงานพัฒนา การประสานงานในพื้นที่ และมีเครือข่ายการทำงานมากขึ้น ก่อนกลับมาเป็นบัณฑิตอาสา กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) และร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ในการทำงานพัฒนาที่บ้านเกิด ในตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ทำให้เห็นทุนทางสังคม และศักยภาพของพื้นที่ในด้านเกษตร เกิดตกผลึกทางความคิด จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัว ที่บ้านเกิดของตนเอง ด้วยการยึดอาชีพเกษตร ทำสวนยาง ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ควบคู่การทำงานพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น […]

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

เปิด ตลาดนัดมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำเสนอผลงาน นิทรรศการ สร้างแรงบันดาลใจสร้างเด็กให้มีภูมิคุ้มกันตามแนวคิด 3 ดี 9 มิ.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรม “ตลาดนัดมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำเสนอผลงาน นิทรรศการ สรุปประสบการณ์ความรู้ จากการนำแนวคิด3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ไปปรับประยุกต์ใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า 200 ศูนย์ทั่วประเทศ การ จัดงานครั้งนี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้ครูผู้แลเด็ก รวมถึงการนำเสนอแนวคิด ชุดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อีกท้ังเป็นการเผยแพร่ แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างกลไกการทำงาน พัฒนาเด็กและองค์ความรู้ร่วมกัน นายพศุตม์ เกิดศรีพันธ์ คุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนพิทักษา เขตบางพลัด ผู้คิดค้น PVC แคน ซึ่งประยุกต์ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว มาทำเครื่องดนตรี ไล่เสียงโน้ตดนตรีโด เร ซึ่งเด็กๆชอบเล่นกันมาก “การ ประยุกต์ใช้ ทำให้เราสามารถทำของให้เด็กๆเล่นได้ และเครื่องดนตรีชนิดนี้ให้เสียงที่เพราะและเป็นเสียงที่ไม่เคยได้ยิน เด็กจะชอบมาตี แม้จะไม่เป็นเพลงแต่เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้เรื่องเสียง การจับไม้ตีว่าควรจับแบบไหน […]