Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ผอ.เสถียร พันธ์งาม: สานครู เชื่อมเด็กเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น | ชุมชน 3 ดี
ผอ.เสถียร พันธ์งาม: สานครู เชื่อมเด็กเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า  “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง”

โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน

เริ่มต้นคิด…

  ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก

“แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป”

จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ และการเรียนการสอนก็คิดว่ามันไม่ได้ผลกระทบอะไร มันก็เชื่อมโยงต่อกัน พอผ่านไปสักระยะหนึ่งเขาก็เริ่มเข้าใจ คิดว่ามันน่าจะเป็นแนวทางใหม่สำหรับในการจัดการศึกษา

“หากเราเคยทำยังไงก็ยังทำแบบนั้นไปทั่วมันก็จะแก้ปัญหาของชาติไม่ได้”

หลังจากทำไปแล้วผู้ปกครองก็เห็นว่าเราทำจริง ก็เริ่มหันมาให้ความร่วมมือให้กำลังใจทั้งคุณครูและทีมแกนนำ ตอนแรกก็ โดนผลกระทบอยู่พอสมควรวิธีแก้ปัญหาก็คือพูดคุย ทั้งพูดคุยเป็นการส่วนตัว และพูดคุยในระบบ ใครไม่เห็นด้วยตรงไหนเพราะอะไรเราก็ถามถามทีละขั้นทีละตอนทีละกิจกรรม ที่ไม่เห็นด้วยเพราะเพราะอะไร ขอให้เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นตัวตั้งอย่าเอาความสุขส่วนตัวเป็นตัวตั้งถ้าอธิบายได้ว่ามันไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมผมยินดีที่จะแก้ไขแต่ถ้ายังชี้ไม่ได้ว่าส่วนรวมเสียอะไรก็ยังยืนยันที่จะทำต่อ

กิจกรรมที่เด่นมากคือ กิจกรรมฟายเดย์อีสฟายเดย์ เกิดจากแนวคิดที่ว่าวันศุกร์คือวันบินใช้แนวคิดจากการที่ได้ไปดูงานที่ปีนังที่จอร์จทาวน์เขาหยุดปิดเมืองทำกิจกรรมกันในวันอาทิตย์ปิดถนนหลักของเมืองและให้ประชาชน ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แล้วแต่ครอบครัวแล้วแต่ความถนัดหลากหลาย ก็เลยได้แนวคิดนั้นมาแล้วมาปรับใช้ในโรงเรียน โดยให้สักวันนึงเป็นวันที่อิสระเสรีทั้งครูและนักเรียน บนหลักการที่มีเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแต่งกายเรื่องการออกแบบกิจกรรมให้เป็นอิสระของครูกับนักเรียนได้คิด ร่วมกันคิดว่า ศุกร์นี้จะทำอะไรไปที่ไหนถ้าอยู่ในห้องเรียนก็ต้องเป็นการเรียนที่เรียนได้ปฏิบัติได้ฝึกถ้าเป็นเรื่องของการสร้างทักษะการอ่านก็ให้เด็กได้ฝึกการอ่านจริงๆ ถ้าเรื่องของการคิดก็ให้คิด ถึงจะอยู่ในห้องก็ตามแต่กระบวนการต้องเป็นการฝึก  แต่ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ออกนอกห้องเรียน ออกนอกโรงเรียนเลยก็ได้ไปเรียนพอกลับมา ก็จะกลับมาสรุปบทเรียนการกลับมาใครได้ข้อมูลอะไรก็มาล้อมวงกันเป็นกลุ่มว่าไปวันนี้ได้อะไรให้ทุกคนได้มีสิทธิ์พูดถ้าไม่พูดก็เขียน จากนั้นก็จะออกมาเป็นบทสรุปว่าไปวันนี้ได้อะไร หลังจากทำกิจกรรม ฟายเดย์นี้ ประเมินโดยทางกายภาพที่สัมผัสได้ ความพึงพอใจของครูและนักเรียนชัดมากเด็กมีความสุขมากเมื่อถึงวันศุกร์ เขาจะยิ้มแย้มแจ่มใสตื่นเต้นว่าจะได้ไปที่ไหนอย่างไรและที่สำคัญเขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะไปไหน ทำมาเต็มที่ 1 เทอมที่ผ่านมาประเมินดูแล้วมั่นใจว่าโครงการนี้กิจกรรมนี้จะต้องสานต่อไปตลอดและมันมาตอบโจทย์ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของรัฐบาลด้วย ซึ่งเราจะทำลึกกว่าของเขาด้วยซ้ำ

สิ่งที่เห็นพัฒนาของเด็กคือ 1 เด็กกล้าออกแบบ เด็กกล้าบอกว่าอยากจะเรียนอะไร ซึ่งอาจจะต่างกันในแต่ละครั้งแต่สุดท้ายเขาก็จะหาบทสรุปได้ว่าจะไปไหนก่อนหลัง ประการที่ 2 เวลาที่มาสรุปบทเรียนเมื่อคุณครูตั้งโจทย์ว่า เธอไปเธอจะต้องเก็บข้อมูลทุกเรื่องที่เธอเห็นมันเป็นการฝึกให้เด็กเกิดการสังเกตทักษะทางวิทยาศาสตร์เกิดเลยไปให้เก็บบันทึกจำตามความเข้าใจไม่ว่าเห็นอะไรทุกมิติ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องบุคคล เรื่องต่างๆที่เห็นให้เก็บมาเมื่อเด็กเก็บข้อมูลทุกอย่างเด็กก็จะมีอะไรมาพูดมาแล้วทุกคนมันทำให้เด็กอยากจะแย่งกันพูดเวลาสรุปเรียนคิดว่าเป็นกระบวนการที่มองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่าเด็กกล้าพูดเพราะพูดในสิ่งที่เขาเพิ่งผ่านมาไม่ต้องคิดอะไรมากเราในสิ่งที่เขาไปพบไปเห็นมา เด็กก็จะเกิดกระบวนการสังเกตและจดบันทึกและสอดคล้องกับปรัชญาโรงเรียน เด็กได้สิ่งเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังมาแชร์กันไปที่เดียวกันหัวหมออาจจะต่างกันเป็นกระบวนการที่ประเมินแล้วไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ว่าเด็กทำได้ อย่างน้องอนุบาล ให้ถอดบทเรียน เรื่องบอกซิว่าสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงให้วาดภาพออกมาปรากฏว่ามีเด็กตอบว่าต้นไม้ทำให้เกิดเสียงซึ่งคุณครูก็ถามว่ามันเกิดเสียงได้อย่างไร ตัว ครูก็ตั้งคำตอบไว้แต่คำตอบที่เด็กตอบมันตรงกันข้าม เด็กเขาบอกว่าเอาอะไรไปเคาะมันก็เกิดเสียงเด็กเขียนสิ่งที่อยู่รอบตัวว่ามันใช่หมดเลย รถต้นไม้ถังขยะเขาวาดรูปออกมาหมดเพราะเสียงมันเกิดจากการกระทบกันของวัตถุ นั่นคือเด็กเขาไปถึงขนาดนั้นอย่างนี้เป็นต้น

ล่าสุดเราถอดบทเรียนบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้กีฬาภายในนั้นเป็นฐาน หลังจากแข่งกีฬาเสร็จเรียบร้อยก็มาถอดบทเรียนกัน ก็มีการออกแบบ มายแม๊พปิ้ง วงกลมซ้อนกัน หลายวง มีชิ้นงานมากมายเกิดขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำทั้งระบบมันได้ผลเกินคาดเพราะเด็กเราสามารถเขียนเชื่อมอยู่ได้ กีฬามันเชื่อมไปสู่การเรียนรู้ 4 ด้านอย่างไร ด้านความรู้ที่เขากำลังใช้กับ อย่าง 4H ด้านความรู้คือ Head เด็กเขาจะบอก ได้ว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาอะไรบ้างเขาก็บอกมาอันที่ 2 ก็คือเรื่องของค่านิยมคุณธรรมน้ำใจนักกีฬาเอชตัวที่ 2 Heart คือเรื่องหัวใจส่วนอันที่ 3 คือการปฏิบัติคือ Hand เขาได้ทำอะไรบ้างเขาก็จะบอกว่าได้เป็นนักกีฬาที่เป็นกองเชียร์ นวดให้เพื่อน ฝ่ายหาน้ำ ก็แตกออกมา และอันสุดท้ายก็คือสุขภาพ เอชตัวที่ 4 คือ Health เจาได้อะไร จากวงหรอ 4 เอช ก็จะไปสู่วงล้อคุณลักษณะ 8 ประการ ก็จะให้เขาบอกว่า 8 ประการได้กี่ข้อก็เขียนออกมา สุดท้ายตบด้วยวงล้อ ความเป็นพลเมืองให้เขาบอกให้ได้ว่าอะไรคือความรับผิดชอบจากกระบวนการแข่งกีฬา ให้เขาอธิบายว่าความรับผิดชอบคือยังไงการมีส่วนร่วมคือยังไงเขามีส่วนร่วมอะไรและสุดท้ายความเป็นธรรมในการแข่งกีฬาเขามองอย่างไรตอนที่เขาแข่งขันได้รับความเป็นธรรมจากกรรมการไหมหรือว่าการได้รับรางวัลต่างๆเขาพอใจไหม เรื่องของความเป็นไปด้วยความเสมอภาคเป็นตรงไปตรงมาไหมอันนี้คือสิ่งที่เราถอดกันมันเป็นอะไรที่มีความสุขมากในความรู้สึกของผอ.และคุณครูสำราญซึ่งเป็นแกนนำในเรื่องของการสร้างความเป็นพลเมือง มันมองเห็นอนาคต ถ้าเราทำแบบนี้อย่างต่อเนื่องดิตเมืองคงจะเป็นเด็กที่รอบด้านมีมิติทางความคิดมีมิติที่เชื่อมโยงเด็กกล้าแสดงออกกล้าพูด นี่คือสิ่งที่เด็กเกิดขึ้น ผอ.ได้กล่าวถึงท้ายอย่างน่าสนใจว่า

“ถ้าเราต้องการจะสร้างเด็กมีคุณภาพ คุณภาพไม่ใช่แค่ในเรื่องของการ สอบได้คะแนนเยอะ แต่ว่าคุณภาพน่าจะเป็นคนที่สมบูรณ์ คิดเป็นวิเคราะห์เป็นรับผิดชอบต่อส่วนรวม แก้ปัญหาด้วยเหตุด้วยผล กล้าที่จะนำเสนอความคิดเห็นของตนเองต่อบุคคลอื่นและปกป้องความไม่เป็นธรรม ถ้าเห็นอะไรที่ไม่ถูกต้องที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ของเขาเขากล้าที่จะออกไปอธิบายชี้แจง แต่จะไม่ส่งเสริมในลักษณะของความก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงแต่จะให้ใช้ ที่สำคัญที่อยากเห็นที่สุดคืออยากเห็นเด็กโรงเรียนเมืองคงทุกคนจบออกไป ไม่ว่าจะไปเรียนที่ไหนจะต้องเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเด็กแนวหน้า คำว่าแนวหน้าไม่ได้ใช่ว่าเรียนวิชาการเก่ง แต่จะต้องเป็นเด็กที่มีความเป็นผู้นำเป็นคนที่กล้าพูดกล้าแสดงออก มีทักษะในการทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย”

บทความที่เกี่ยวข้อง

19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]

29 พ.ค. เยาวชนบางกอกนี้…ดีจัง  และชุมชนวัดอัมพวา จัดกิจกรรม อัยย๊ะ เยาวชนเปิดท้าย สไตล์สื่อสร้างสรรค์ โดยรวมพลเยาวชนจาก 3 พื้นที่ นั่นคือบางพลัด บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย  เปิดท้ายสื่อสร้างสรรค์ บอกเล่าเรื่องดีๆ กิจกรรมดีๆ เด็กๆมีพื้นที่ได้เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ขับเคลื่อนชุมชนให้มีชีวิต ด้วย 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยการสนับสนุนของเครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง   มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และสถาบันสือเด็กและเยาวชน ติดตามกิจกรรม https://www.facebook.com/profile.php?id=100005934120805&fref=photo    

“พ่อแม่หนูทำอาชีพอะไรกันบ้างจ้า?” เสียงคุณครูถามนักเรียนในชั้นเรียน เป็นคำถามที่มีความเงียบเป็นคำตอบให้กับคุณครู คุณครูโรงเรียนบ้านเทิน จ.ศรีสะเกษ เล่าให้เราฟังว่า …..เด็กๆ ที่นี่ไม่เคยพูดถึงอาชีพพ่อแม่ตนเองเลย เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ พ่อแม่มีอาชีพเข็นบะหมี่ขายที่ กทม.และเมืองใหญ่ต่างๆ หลายต่อหลายรุ่น เด็กๆ อายและไม่ภูมิใจที่มีพ่อแม่เข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย “เหนื่อยใจไม่รู้จะบอก จะสอนเด็กๆ อย่างไร?” คุณครูกล่าว กระบวนการ “สื่อสร้างสรรค์” ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) จึงเริ่มต้นขึ้น………. เริ่มจากการ…..เหมารถบัสหนึ่งคัน พาเด็กๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ เดินทางสู่เมืองหลวง…..ค้นหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว เพื่อเก็บข้อมูลทำหนังสั้น ให้เด็กๆ ได้สืบค้นที่มาของบะหมี่ จากต้นทางแหล่งผลิต มาถึงรถเข็นของคนขายบะหมี่ และที่สุดมาสู่บะหมี่ในชามของลูกค้า เริ่มต้นการเดินทางสู่เมืองกรุง…..แสงแดดที่ร้อนแรง รถรามากมาย ฝุ่นควันคละคลุ้ง ผู้คนขวักไขว่แออัดยัดเยียด ต่างคนต่างต้องดิ้นรนเร่งรีบ ทำให้เด็กๆ หลายคนไม่สบาย เมารถ เมาผู้คน แต่ภาระกิจการตามหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว ยังต้องเดินหน้าต่อไป ครั้นเด็กเหลือบไปเห็นรถเข็นบะหมี่เกี๊ยวคันแรก การทักทายและการค้นข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ จึงเริ่มขึ้น หลังเด็กๆ ได้ฟังคำบอกเล่าของคนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย ต่างอึ้งจนพูดแทบไม่ออก เด็กบางคนถึงกับก้มหน้าน้ำตาคลอ การที่เด็กๆ ได้เห็นกับตาของตนเองว่า คนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขายในเมืองกรุง ช่างอดทนเหลือเกิน […]