Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
น้องบิว: นักสื่อสารสร้างสรรค์ในสลัม | ชุมชน 3 ดี
น้องบิว: นักสื่อสารสร้างสรรค์ในสลัม

“ เมื่อก่อนหนูอายมากเลยนะที่จะต้องบอกกับเพื่อนว่าบ้านหนูอยู่ในสลัมดวงแข (ชุมชนวัดดวงแข )ไม่อยากให้เพื่อนมาที่บ้าน  ตอนนี้เพื่อนๆไม่เพียงแค่มาที่บ้านหนู   แต่ยังมาช่วยหนูพัฒนาชุมชน อีกด้วย” 

จากน้องบิว   (ศิริรัตน์  หนูทิม) เด็กในชุมชนแออัดเมืองที่ไม่เคยมีความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในที่อยู่ของตนเอง  มีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นแกนนำเยาวชนชุมชนวัดดวงแข ที่มีความภาคภูมิใจ  ภูมิใจรักในชุมชนแออดัดที่ตนเองอยู่  มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะไปให้ถึงฝัน แกนนำเด็กหลักที่สร้างการเปลี่ยนแปลงชุมให้กับชุมชนแออัด  กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและชุมชน  เป็นคนที่ลุกขึ้นมาบอกใครๆเรื่องปัญหาชุมชนตนเอง  เชิญชวนผู้คนมาร่วมช่วยพัฒนาชุมชน  สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน  สร้างความรู้สึกรักชุมชนให้ผู้คนในชุมชน  บิวเล่าว่า

“ ตอนเด็กๆ ก็เข้ามาเล่น และทำกิจกรรมที่บ้านพัก ( ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ) บ่อยๆ แต่ก็เข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เวลาบ้านพักมีกิจกรรมที่ไหนก็จะได้ไปกับป้าหมี  ป้าติ๋ม หยก

ต้องยอมรับว่าช่วงเวลานั้น ไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ  ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะเรียนต่อ

ม.ปลายสายอะไร จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหม  หนูยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตหนูจะทำไงต่อ แม่ให้เรียนก็เรียน ถ้าไม่ให้เรียนก็ออกมาทำงาน”

จนบิวได้ไปเข้าค่ายสื่อสารสร้างสรรค์   ในค่ายบิวได้เรียนรู้ศิลปะหลายอย่าง  ร่วมทั้งการสื่อสารด้วย   บิวก็เริ่มรู้แล้วว่าเราสนใจเรื่องอะไร  พอพี่จากมพด.มาอบรมทำหนังสั้นให้ ต้องทำหนังสั้นเผยแพร่เรื่องราวในชุมชนดวงแข  บิวได้เป็นผู้กำกับ ต้องทำทุกอย่าง ได้จับกล้อง ซึ่งมันก็ดูจะไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเด็กในเมืองที่ได้จับกล้อง แต่สำหรับตัวบิวเอง การที่บิวได้จับกล้องได้ถ่ายรูป บิวรู้สึกดี  รู้สึกชอบ ผลงานของเราถูกนำไปให้คนภายนอกได้ดู ก็รู้สึกดีใจแล้ว  หลังจากนั้นเวลา มพด.มีกิจกรรมอะไรหรือต้องไปอบรมที่ไหนก็จะอยากไปกว่าเมื่อก่อน

แต่ที่บิวคิดว่า สิ่งที่ทำให้บิวมีเป้าหมายในชีวิต  ทำให้บิวรู้ว่าบิวอยากจะเป็นอะไร ก็คือ การที่ได้ผลิตสื่อกับพี่ๆ  เพราะพี่คอยสอน  คอยบอก ติชม ภาพที่บิวถ่าย  เหมือนมีที่ปรึกษา

นอกจากหนังสั้นแนะนำชุมชนวัดดวงแขแล้ว  บิวและแกนนำเยาวชนยังผลิตสื่ออีกหลายอย่าง เช่น  โบชัวร์แผนที่เรืองยิ้ม  เป็นแผนที่แนะนำร้านอร่อยในย่านรองเมือง ซึ่งบิวและเด็กๆในชุมชนช่วยกันผลิต  เริ่มตั้งแต่สำรวจร้านอาหารที่ สะอาด  อร่อย  และถูก เด็กๆสามารถไปซื้อมารับประทานได้  หลังจากนั้นก็ช่วยกันออกแบบจนสำเร็จ  เป็นสื่อที่ภาคภูมิใจของเด็กๆและผู้ใหญ่ในชุมชนวัดดวงแข   

บิวเหมือนเด็กวัยรุ่นเมืองทั่วไป   ที่มีความคิดเป็นของตัวเอง   แต่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นออกมา ไม่ค่อยชอบอธิบาย  อาจจะเป็นเพราะกลัวพูดออกมาแล้วคนอื่นจะไม่เข้าใจ   แต่ด้วยทุกครั้งที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม บิวต้องถูกให้ออกมานำเสนอหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอด  จึงเป็นเสมือนเวทีให้บิวได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง และได้ฝึกตนเองไปโดยไม่รู้ตัว  ตอนนี้บิวเด็กที่ความคิดดีแต่ไม่ยอมพูด  กลายเป็นแกนนำเยาวชนที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กชุมชนแออัดในเมืองที่ออกมาจากความเข้าใจให้คนภายนอกได้รับรู้  บิวเคยบอกว่า

“การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งไม่เคยนึกถึงเป้าหมายในชีวิต กลายมาเป็นคนที่มุ่งมั่นตามฝันของตนเอง กลายมาเป็นเด็กที่กล้าบอกเล่าเรื่องราวชุมชนแออัดที่ตนอาศัย  กลายเป็นต้นแบบของเด็กๆในชุมชน  การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นได้จากการเปิดพื้นที่เล็กๆของสังคมให้เขาได้มีจุดยืน  ให้เขาได้มีตัวตน”

บทความที่เกี่ยวข้อง

“เพราะช่วงเวลาดีๆ จะเป็นต้นทุนดีๆในใจเด็ก ในยามที่เขาเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ต้องเผชิญปัญหา ตามลำพัง ภาพประทับจะเป็นต้นทุนเชิงบวกให้กับเด็กๆ” กลุ่มไม้ขีดไฟ และเครือข่ายเขาใหญ่ดีจัง ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ชวนคุณและครอบครัว พาลูกๆหลานๆ ออกมาร่วมกิจกรรม เขาใหญ่ดีจังคราฟต์ 25-26 กพ.60 นี้ ณ ลานหญ้า หน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มากมายกิจกรรมลานงานทำมือ ที่จะชวนคุณใช้เวลาร่วมกัน ศิลปะ ระบายสี ปั้น ตัดวาด เพื่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม พบกัน  10.00-16.30 น. *พกกระติกน้ำ พกถุงผ้า ช่วยลดขยะในอุทยาน รบกวนเพื่อนพี่น้องๆแชร์ วนๆไป ให้คนทั้งไทยได้รู้ว่า งานดีๆ งานฟรีๆ มีอยู่จริง ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://web.facebook.com/maikeedfaigroup

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข     ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี “ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น” ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด 3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา   “  พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี”  “ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ” ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  […]

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมกับชุมชนวัดดวงแข เตรียมจัดงาน “มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม” ซึ่งคราวนี้มาในตอน “เรื่องกินเรื่องใหญ่” นำเสนอการทำงานพัฒนาเด็กและวิถีชุมชนภายใต้เรื่องราวของอาหารการกินอยู่ ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว พบกับกิจกรรม work shop อาหารวัฒนธรรม ,ทัวร์ชมชุมชน ,การแสดงเด็ก ,ร้านอาหารชุม ,ชมแลนด์มาร์ครองเมือง ++ พบกันวันที่ 2 เมษายน 2560 เวลา 15.00-19.00 น. ณ ถนน รองเมือง ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข ติดตามความเคลื่อนไหว้ที่ https://www.facebook.com/iamchildpage/

อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]