Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ป้าหมี ป้าติ๋ม: แม่พระของเด็กในชุมชนแออัด | ชุมชน 3 ดี
ป้าหมี ป้าติ๋ม: แม่พระของเด็กในชุมชนแออัด

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ

ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน

ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข    

ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี

พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี

“ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น”

ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน

จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี

ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด

3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา     พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี” 

“ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ”

ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  ป้าหมีเป็นหนึ่งในแกนนำหลัก ที่ลุกขึ้นมาเดิน

สำรวจชุมชนสำมะโนครัว เพราะป้าหมีเชื่อว่า  ปัญหาเด็กและชุมชนจะไม่ถูปแก้ไข ถ้าชุมชนที่อยู่ไม่เป็นชุมชนของกทม.   ป้าหมีจึงเดินหน้าร่วมกับแกนนำอีก 11 คนขอยื่นการตั้งตั้งชุมชนวัดดวงแขเป็นชุมชนของกทม.  เกือบ 10 กว่าปีของการทำงานเพื่อเด็กและชุมชน  ป้าหมียังคงไม่ท้อถอยยังคงทำงานต่อเนื่องมาตลอดถึงแม้ชีวิตจะรุ่มลุ่มๆดอนๆ  แต่ป้าหมีบอกเสมอว่า   

“เด็กๆได้ดีสักคนสองคน  ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ”    

บทความที่เกี่ยวข้อง

18 มิ.ย. 59 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ บทบาทพี่เลี้ยง สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.)  ในการทำงานพัฒนาเด็กด้วยกระบวนการ 3ดี  มีผู้เข้าร่วมเกือบ 100 คนจาก 21เมือง   ส่งผ่านความรู้โดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

Japanดีจัง (1) พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย […]

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]

วันที่ 16-17 ธันวาคม 59 เชิญชวนเด็กๆ เยาวชนและบุคคลทั่วไป ร่วมกิจกรรม “ตามรอยแว้งในความทรงจำ ครั้งที่ 3 ”  ปีนี้เราจะชวนน้องๆทุกคนเดินเยี่ยมชมตลาดอำเภอแว้ง เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ตามติดร่องรอยที่ยังมีให้เห็น เดินชมตึกรามบ้านช่องที่ยังคงสภาพเดิม สนทนาพาเพลินกับคนเฒ่าคนแก่ที่จะส่งกลิ่นไออบอวลแห่งความสุขในวัยเยาว์ ชมนิทรรศการภาพถ่ายของแว้งวันวาน มีหลายภาพที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน พร้อมฟังการบรรยายจากเจ้าของภาพที่จะมาบอกเล่าถึงฉากข้างหลังภาพ และพบกับกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ และเยาวชนอีกมากมาย ณ ลานหญ้าศาลามหาราช อ.แว้ง จ.นราธิวาส “พื้นที่นี้ดีจัง แว้ง…ยังยิ้ม อิ่มใจทุกวัยไปอีกนานแสนนาน” ติดตามความเคลื่อนไหวที่ Sum Nara Nara