จากเยาวชนมุสลิมที่เกือบเข้าสู่กระบวนการ กลายเป็นผู้นำที่ใช้พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กสร้างสันติภาพในใจคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“ ถ้าไม่มีวิธีการหรือสิ่งอื่นใดในการสร้างสันติภาพ ผมจะเข้าสู่กระบวนการ”
ชายหนุ่มในวัย 25 ปีที่พยายามค้นหาวิธีการสร้างสันติภาพมาตลอดชีวิตบอก
การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กใน 3 จังหวัดว่ายากแล้ว การเปิดใจผู้คนยากยิ่งกว่า…
ฮัมดีในวัยเด็กมีโอกาสได้คลุกคลีกับคุณพ่อผู้มีจิตสาธารณะ ฮัมดีจึงซึมซับความเป็นจิตอาสามาจากคุณพ่อเต็มๆ ฮัมดี หรือ แบร์ดีของเยาวชนใต้ เป็นคนมีจิตใจดี ซื่อสัตย์ ละเอียดอ่อน มีน้ำใจ คิดบวก
มีเหตุและผล ประนีประนอม เข้าใจความหลากหลายของผู้คน เข้าถึงผู้คนชุมชน เคารพชุมชน เป็นคนให้โอกาสคน ยืดหยุ่น มองจังหวะในการเข้าพัฒนางานได้ดี เปิดกว้างไม่ติดกรอบใดๆ มีมุมมองเชิงการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม มุ่งมั่นในการทำงานช่วยเหลือคนอื่น เชื่อในวิธีการสันติวิธีเพื่อสร้างสันติภาพ
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ฮัมดีเป็นกลายแกนนำในการทำกิจกรรรมต่างๆของโรงเรียนตั้งแต่ม.ต้น จนถึงเรียนมหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในกลุ่มเยาวชนของชุมชนศรัทธาทำงานพัฒนาชุมชน
“ ผมเป็นแกนนำรวมกลุ่มเด็กต่างจังหวัดยากจนที่เข้ามาเรียนในเมืองทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมทำให้พวกเรามีข้าวกิน เกิดการเรียนรู้ และเกิดประสบการณ์ที่หาจากบทเรียนไม่ได้ในห้องเรียน ”
จากการได้รับรู้สถานการณ์ความทุกข์ยากลำบากผู้คนของ 3 จังหวัด ฮัมดี ในวัย 25 ปี พยายามค้นหาวิธีเพื่อสร้างสันติภาพในดินแดนสามจังหวัดชายแดนใต้มาตลอดชีวิต และตั้งใจว่าถ้าไม่มีวิธีการหรือหนทางอื่นใดในการสร้างสันติภาพแล้ว เขาจะเข้าสู่กระบวนการ
ระหว่างช่วงทางสองแพร่งในอุดมการณ์ที่แน่วแน่เพื่อค้นหาวิธีการสร้างเปลี่ยนแปลงให้เกิดสันติภาพ ในปีพ.ศ. 2553 ฮัมดีอายุ 23 ปีได้เลือกเข้ามาทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ( มพด. ) ในหน้าที่การสร้างกลไกชุมชนเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก และฮัมดีได้ค้นพบวิธีการที่เขาค้นหามานาน และเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่การสร้างสันติภาพในที่สุด
“ ในพื้นที่ 3 จังหวัดใต้การเปิดพื้นที่สำหรับเด็กเยาวชนว่ายากแล้ว แต่การเปิดพื้นที่ในใจคน( ผู้ใหญ่ )ยากยิ่งกว่า ผมเชื่อมั่นว่าการเปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้ผู้คนไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร จะติดยา จะทำผิด หรือถูกฎหมาย จะเป็นอย่างไรก็ตาม ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกัน แลกเปลี่ยน สร้างความสัมพันธ์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของหนทางที่จะสันติภาพให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ”
“ การสื่อสารที่สร้างสรรค์ จะช่วยนำสันติภาพมาสู่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เราจะสร้างให้เด็กเยาวชนของเราเป็นนักสื่อสารที่ดี มีจิตสำนึก สื่อสารเรื่องราวที่ดีของบ้านเราสู่ผู้อื่น พลังของเยาวชนจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างสันติภาพเกิดขึ้นในที่สุด”
ฮัมดีเป็นคนเบื้องหลังที่คอยผลักดัน ให้แนวคิดการทำงาน เปิดโอกาส สนับสนุน เป็นเพื่อนร่วมเดินทางในการสร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ให้เกิดกลุ่มอิงะกัมปง และกำลังมุ่งมั่นสร้างกลุ่มเยาวชน
จิตอาสารุ่นใหม่ทั้งในมหาวิทยาลัย ของ๓จังหวัด และนอกระบบ ภายใต้ชื่อ ธนาคารใจอาสา และฮัมดียังเป็นผู้นำทางความคิดที่ขับเคลื่อนสร้างสันติภาพด้วยการเปิดพื้นที่สำหรับเด็กเยาวชน ผลักดันให้เด็กเยาวชนเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งหวังว่าการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์
จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ให้เยาวชน เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างความสัมพันธ์ของผู้คนใน 3 จังหวัด และจะเกิดสันติภาพในที่สุด
18 มิ.ย. 59 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ บทบาทพี่เลี้ยง สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) ในการทำงานพัฒนาเด็กด้วยกระบวนการ 3ดี มีผู้เข้าร่วมเกือบ 100 คนจาก 21เมือง ส่งผ่านความรู้โดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม […]
เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง” มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]
“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]