วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
ความเป็นมา
แนวคิดและหลักการ 3 ดี
แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี
เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง
พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม
ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น การส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ ตระหนักในประวัติศาสตร์ชุมชนของตนเอง การอนุรักษ์ศิลปะดนตรีพื้นบ้าน การทำเกษตรอินทรีย์และพัฒนาชุมชนโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมให้เด็กได้สร้างสื่อที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง เช่น ละคร หนังสั้น ในขณะเดียวกันก็มีหลายๆองค์กรที่ทำกิจกรรมที่เน้นการสร้างกลไกปกป้องเด็กและเยาวชนจากสื่อที่มีพิษภัย การฝึกอบรมครูให้มีทักษะในการสอนกระบวนการเท่าทันสื่อแก่เด็กในโรงเรียน ภาคีเครือข่ายของสสย.ที่มาร่วมสัมมนาในครั้งนี้ มีการทำงานในหลากหลายระดับทั้งในระดับ ระดับจังหวัดและระดับชุมชน (ในระดับชุมชนอาจครอบคลุมถึงโรงเรียนและครอบครัว)
เรียนรู้และการมุ่งสู่ความยั่งยืนในอนาคต
ประเด็นที่ได้เรียนรู้คือแม้ว่าการดำเนินงานอาจจะพบอุปสรรคปัญหามากมาย แต่ยังมองเห็นแง่ที่งดงาม ความหวังจากผลงานที่ออกมาจากหลายๆโครงการ
จากการสัมมนาพบว่า กิจกรรมที่แต่ละโครงการ แต่ละองค์กรดำเนินการอยู่สร้างความสุขกายสุขใจแก่เด็ก เยาวชน คนในชุมชน และผู้จัดกิจกรรมเอง ทุกคนได้เรียนรู้ มีความสุข สนุกสนานและได้มีโอกาสพัฒนากาย จิต สังคม ปัญญาไปพร้อมๆกัน หลายกิจกรรมที่ดำเนินการเน้นการปลุกจิตสำนักให้รักบ้านเกิด หวงแหนในวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเอง เช่น ชุมชนชาวเยอ(ชนพื้นบ้านในเขตจังหวัดศรีสะเกษ) หรือ ของกลุ่มชนเผ่าที่หลากหลายชาติพันธุ์ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หลายกิจกรรมสร้างและพัฒนาให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปด้านที่ดีขึ้น เช่น การลดขนมกรุบกรอบที่ไร้ประโยชน์ การงดการดื่มน้ำอัดลม การที่สมาชิกในครอบครัวให้ความสำคัญกับการจัดเวลาให้แก่กันและกัน มีกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น และรวมถึงการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ทางความคิดของสมาชิกในชุมชน การรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ที่ชุกชุมด้วยยาเสพติด ภัยอันตรายต่างๆ กลายสภาพเป็นพื้นที่ที่เปิดสำหรับทุกคนในชุมชน สรุปได้ว่าข้อดีเด่นของกิจกรรมที่สร้างจากแนวคิด 3 ดี ทำให้คนในชุมชนและผู้ทำกิจกรรมมีความสุข และยังสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่พฤติกรรมด้านบวกของคน ครอบครัวและชุมชนอีกด้วย
ความยั่งยืนเป็นประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คำถามมีอยู่ว่าทำอย่างไรคนในชุมชนจึงจะสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมที่มีคุณค่างดงามดังที่ได้กล่าวแล้วได้เองอย่างต่อเนื่อง ในที่สัมมนามีการกล่าวถึงการสร้างแกนนำกลุ่มเยาวชน การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนโดยให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกิจกรรม 3 ดีให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การดำเนินการ การติดตามประเมินผล เพราะเยาวชนจะต้องมารับผิดชอบชุมชนของตนเองในอนาคต รวมถึงประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนี่ง ได้แก่ การผลักดันแผนการทำงานพัฒนาเด็กและเยาวชนเข้าสู่นโยบายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด) เพื่อให้การดำเนินการมีเจ้าภาพและงบประมาณที่ชัดเจนสม่ำเสมอต่อเนื่อง
20 ส.ค.58 ก้าวย่างสู่ปี2. น้องๆเยาวชนอาสาบางกอกนี้…ดีจัง เข้มข้นกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและลงลึกกับกระบวนการอาสาชวนเพื่อนๆน้องๆ เข้าสู่กระบวนการตามหายิ้มในชุมชน เด็กๆชวนกันมาสกัดข้อมูลพร้อมเตรียมนำเสนอชวนผู้ใหญ่มาสร้างยิ้มให้ชุมชนมีชีวิตเด็กๆมีพื้นที่เล่น ไปให้กำลังใจเด็กๆกัน …พลเมืองอาสาสร้างยิ้ม
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม และ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. โดย กลุ่มแผนงานสื่อสร้างสรรค์ ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนทุนแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จัด “อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้ชุด โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” เพื่อเสริมทักษะและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กเล็ก ให้เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีครบด้าน โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท อ.ศาลายา จ.นครปฐม ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่สำคัญในการดูแลและพัฒนาเด็กช่วงวัย 2-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิตมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ จะสามารถสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ มีข้อมูลการสำรวจประเมินคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากองค์การยูนิเซฟ กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีเพียงร้อยละ 67 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ สสส. จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเปิดโอกาสให้ครู ศพด. […]
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่ายในวาระ10 ปีแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมยุทธศาสตร์และทิศทางของสสย. กับภาคีเครือข่าย ระหว่างวันที่1-3 ก.ค. 59 ณ สถาบันวิชาการ TOT โดยเช้าวันแรกเริ่มด้วยการเปิดแกลอรี่3ดี ภาคีเครือข่ายสสย. ต่อด้วยการเปิดเวที ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงานและการสานสัมพันธ์ภาคีเครือข่าย และช่วงบ่าย เปิดเวที “9 สู่ปีที่ 10: ผลการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจ” ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวการขับเคลื่อนงานของ สสย. ตลอดระยะเวลา 9 ปีและการขับเคลื่อนงานสู่ปีที่ 10 โดยคุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการ สสย. หลังจากนั้นให้ภาคีผลัดกันเล่าประสบการณ์ทำงานในแต่ละกลุ่มในการสร้างการเปลี่ยน แปลงตั้งแต่ระดับเยาวชน สื่อ ชุมชน จนไปถึงระดับนโยบายภายในพื่นที่ของตน เพื่อให้เห็นภาพรวมผลของการเปลี่ยนแปลงของภาคี เครือข่าย สสย.ตลอดระยะเวลาที่ได้ร่วมงานกัน วันที่สอง (2 ก.ค. 59) ช่วงเช้าเปิดเวทีวันนี้ด้วยประเด็น “ 9 ย่างสำคัญ: ความสำเร็จเชิงสร้างสรรค์” โดยให้ตัวแทนกลุ่ม บอกเล่าเรื่องราวถอดบทเรียน 9 ย่างสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของภาคีเครือข่ายตัวอย่าง เช่น […]
เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว ๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์ เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์ เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้ ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา” เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่ ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่ เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่ มาแล้วจะได้อะไร? เดินแล้วจะเห็นอะไร? แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง ๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่ กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม […]