
เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138 ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
รุจจิราภรณ์ พรมมิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ ที่มีความสำคัญในการทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ เพราะช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็กได้ ทั้งยังเป็นที่เตรียมความพร้อมเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีทักษะทุกด้านพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับต่อไป เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่าร้อยละ 90 มาจากครอบครัวรากหญ้าที่เป็นกลุ่มประชากรจำนวนมากที่สุดในประเทศ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เด็กกลุ่มนี้ถือเป็นเด็กกลุ่มใหญ่ที่เราเรียกได้ว่าเป็น “ความหวังของแผ่นดิน”
รุจจิราภรณ์ บอกอีกว่า ครูผู้ดูแลเด็ก คือกลุ่มคนเล็กๆที่แบกความรับผิดชอบอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยเพราะหน้าที่ของเราคือการสร้างชาติ และแน่นอนว่าการสร้างคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากนักเพราะพวกเราต่างทำหน้าที่นี้ด้วยหัวใจที่ยินดียิ่ง พวกเรามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ฝึกฝน ตั้งใจพัฒนา และลับคมอาวุธทางปัญญาของตนเองเสมอ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างคน สร้างชาติ ซึ่งเราเชื่อมั่นเหลือเกินว่า เด็กจะดีได้เพราะมีครูดีคอยอบรมสั่งสอน
โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปีที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้มีพลังใจพลังกายในการทำหน้าที่สร้างคน สร้างชาติต่อไปได้ เพราะการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าวทำให้เราได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการและสร้างพื้นที่ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยแนวคิด 3 ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดีและภูมิดี ทำให้เราได้คิดวิเคราะห์หาต้นทุน 3 ดีในท้องถิ่นของเรา เพื่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพและมีพัฒนาการสมวัย
ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการมหัศจรรย์สื่อ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ณ ผืนแผ่นดินถิ่นล้านนาจากทั้ง 51 ศพด. คือการผลิตและใช้สื่อที่มีชื่อว่า “สืบฮีตสานฮอย ………” มาส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่นอย่างมีคุณภาพให้กับเด็กๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของพวกเรา ซึ่งพวกเราได้ใช้หลักแนวคิด 3ดีและได้ค้นพบว่าผืนแผ่นดินถิ่นล้านนานี้มีของดีที่เป็นเอกลักษณ์มีคุณค่า และมีเสน่ห์มาสร้างสรรค์เป็นสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์จาวยองแห่งเมืองหละปูน , วิถีไตลื้อ ไตพวนแห่งเมืองภูกามยาว(พยาว) , จ้องก้านไม้ป๋ายกระดาษบ่อสร้างแห่งนครพิงค์ , เครื่องถ้วยก๋าไก่เขลางค์นคร , ปู่ม่าน ย่าม่านแห่งน่านนคร ,เรื่องเล่าประวัติศาตร์เมืองศรีสัชชนาลัย , ตำนานชาละวันเมืองพิจิตร , ผ้าหม้อฮ้อมเมืองแป่ หรือมนต์เสน่ห์ชาติพันธุ์อันหลากหลายจากแดนเชียงรายรฤก เป็นต้น
ด้านคุณครูนิภาพร ปาระมี แห่งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรง สังกัดเทศบาลตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการผลิตสื่อ ‘สืบฮีตสานฮอย จาวยองน้อยเมืองหละปูน หรือ ตุ๊กตาจาวยองจากถุงเท้า’ ว่า สื่อชื้นนี้เกิดจากแอบเห็นเด็กๆ นำถุงเท้าที่เพื่อนถอดแล้วเก็บใส่กระเป๋าไม่หมด นำมาสวมมือแล้วเอามาพูดคุยเล่นกับเพื่อน ตนจึงเกิดแนวคิดนำถุงเท้ามาทำตุ๊กตา โดยเริ่มจากเป็นตัวสัตว์ก่อน เมื่อนำมาใช้เล่านิทานก็พบว่า เด็กๆ ชอบมากและสามารถดึงดูดความสนใจจากพวกได้เป็นอย่างดี ตนจึงต่อยอดจากตุ๊กตารูปสัตว์สู่การทำตุ๊กตาจาวยอง โดยนำเศษผ้าฝ้ายทอมือที่เป็นเอกลักษณ์ชาวยองมาตกแต่งเพิ่มกับถุงเท้าจนเป็น ตุ๊กตาจาวยองที่สวยงาม และนำไปสู่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กๆ โดยใช้หลักแนวคิด 3ดี จากโครงการฯ เพื่อเป็นฐานเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือเด็กๆ ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรง จะได้เรียนรู้ซึมซับวิถีแห่งวัฒนธรรมอันดีงามของจาวยอง ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงภาษาพูดแบบจาวยอง การแต่งกายแบบจาวยอง อาหารการกินแบบจาวยอง รวมถึงวิถีชีวิตฮีตฮอยจาวยอง เป็นต้น
คุณครูนิภาพร เล่าต่ออีกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นการถ่ายทอดผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยใช้ตุ๊กตาจาวยองจากถุงเท้าเป็นสื่อการเรียนรู้ อย่างการเล่านิทาน โดยนอกจากใช้ตุ๊กตาจาวยองเป็นตัวละครแล้ว เรื่องราวที่นำมาเล่าก็ยังเป็นเรื่องราวของจาวยองด้วยเช่นกัน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายก็นำการละเล่นแบบจาวยองมาให้ เด็กได้เล่น แม้แต่ด้านโภชนาการเด็กๆ ก็จะได้ทำอาหารพื้นบ้านจาวยองและรับประทานร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการทั้งหมด ตนได้มีการออกแบบกิจกรรมเพื่อเชื่อมร้อยให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วน ร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรม ทั้งการนำพ่ออุ้ย แม่อุ้ยมาเล่านิทานพื้นบ้านจาวยองให้เด็กฟัง ด้านผู้ปกครองก็จะสาธิตและร่วมทำอาหารพื้นบ้านจาวยอง ผู้นำชุมชนเป็นวิทยากรพาเด็กๆ ไปเรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมฮีตฮอยจาวยองในหมู่บ้าน เป็นต้น
“จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยการใช้สื่ออย่าง สรรค์ดัง ทำให้เด็กๆมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้นเป็นลำดับ สำหรับผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจมากที่ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรงได้สร้างกระบวนการ เรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยนำรากเหง้าของวัฒนธรรมจาวยองมาเป็นฐาน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งกระบวนการจัดกิจกรรรมทั้งหมดที่ได้เล่ามานั้น นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กๆ แล้ว ยังสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของวิถีชีวิตจาวด้วย เช่นกัน” คุณครูนิภาพร บอกเล่าอย่างภูมิใจ
“มหัศจรรย์สื่อ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปีที่ 2” เป็นโครงที่ทำให้เกิดกระบวนการเชื่อมโยงของสื่อสร้างสรรค์ที่มอบคุณค่าแห่ง การเรียนรู้ให้กับทุกช่วงวัยได้อย่างน่ามหัศจรรย์
เรื่องโดย : รุจจิราภรณ์ พรมมิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย อบต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน
Japanดีจัง (1) พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย […]
“พ่อแม่หนูทำอาชีพอะไรกันบ้างจ้า?” เสียงคุณครูถามนักเรียนในชั้นเรียน เป็นคำถามที่มีความเงียบเป็นคำตอบให้กับคุณครู คุณครูโรงเรียนบ้านเทิน จ.ศรีสะเกษ เล่าให้เราฟังว่า …..เด็กๆ ที่นี่ไม่เคยพูดถึงอาชีพพ่อแม่ตนเองเลย เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ พ่อแม่มีอาชีพเข็นบะหมี่ขายที่ กทม.และเมืองใหญ่ต่างๆ หลายต่อหลายรุ่น เด็กๆ อายและไม่ภูมิใจที่มีพ่อแม่เข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย “เหนื่อยใจไม่รู้จะบอก จะสอนเด็กๆ อย่างไร?” คุณครูกล่าว กระบวนการ “สื่อสร้างสรรค์” ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) จึงเริ่มต้นขึ้น………. เริ่มจากการ…..เหมารถบัสหนึ่งคัน พาเด็กๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ เดินทางสู่เมืองหลวง…..ค้นหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว เพื่อเก็บข้อมูลทำหนังสั้น ให้เด็กๆ ได้สืบค้นที่มาของบะหมี่ จากต้นทางแหล่งผลิต มาถึงรถเข็นของคนขายบะหมี่ และที่สุดมาสู่บะหมี่ในชามของลูกค้า เริ่มต้นการเดินทางสู่เมืองกรุง…..แสงแดดที่ร้อนแรง รถรามากมาย ฝุ่นควันคละคลุ้ง ผู้คนขวักไขว่แออัดยัดเยียด ต่างคนต่างต้องดิ้นรนเร่งรีบ ทำให้เด็กๆ หลายคนไม่สบาย เมารถ เมาผู้คน แต่ภาระกิจการตามหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว ยังต้องเดินหน้าต่อไป ครั้นเด็กเหลือบไปเห็นรถเข็นบะหมี่เกี๊ยวคันแรก การทักทายและการค้นข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ จึงเริ่มขึ้น หลังเด็กๆ ได้ฟังคำบอกเล่าของคนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย ต่างอึ้งจนพูดแทบไม่ออก เด็กบางคนถึงกับก้มหน้าน้ำตาคลอ การที่เด็กๆ ได้เห็นกับตาของตนเองว่า คนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขายในเมืองกรุง ช่างอดทนเหลือเกิน […]
19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]