Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
หน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว | ชุมชน 3 ดี
หน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว

เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว
๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย  ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด  แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์  เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์  เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว

ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว

ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้
ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา”  เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม   ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า

เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน   เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่   ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่   เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง  ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง
เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ   ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย  มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่

มาแล้วจะได้อะไร?
เดินแล้วจะเห็นอะไร?
แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง

๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่
กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร  ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม  แชมพูมะกรูด งาสามสี จากไร่ดินหอม
มะขามแช่อิ่ม ผลไม้สด ๆ จากไร่กอนสะเดิน-ไร่ภูผา   ปิ้งข้าวโขบ ชิมกลอยคลุก ห่อเมี่ยงคำ จากบ้านแม่เปิน   เลือกซื้อผ้ามัดย้อมหลากสีที่บ้านเขาเขียว   เปิดหม้อกินข้าวแกงบ้าน ๆ ข้าวยำสมุนไพร กับป้าลี ไร่ไม้งาม  หยิบจับเครื่องจักสานไว้ใช้สอยที่บ้าน

นอกจากนี้ยังมีไอติมหลอดสมุนไพร ส้มตำโบราณ ปามไข่ทัพคล้ายขนมชั้น กะหรี่ปั๊บ มากมายให้เลือกกินอีกด้วย

๒.โซนอาหารพื้นบ้าน ขนมท้องถิ่น
ใครที่ยังไม่เคยชิมรสชาติอาหารแบบลาวแท้ๆ อย่างคนบ้านไร่เป็นครั้งแรกที่อาหารบ้าน ๆ จะเปิดการปรุงให้ได้ชิมกัน  จนอิ่มพุง พกกลับบ้านได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นอั่วดอกแค ดอกไม้ป่าบ้านไร่ อาหารตามฤดูกาล   เผาข้าวหลาม ตอกข้าวแตกงา ตำข้าวต้มแร่
ชิมแจ่วหลากหลาย ทั้งแจ่วมะเขือส้ม แจ่วน้ำข้าว แจ่วข้าวคั่ว  แจ่วมะเขือด้าน กินกับข้าวไร่หอม ๆ อร่อยกันไม่รู้ลืม  หรือจะชิมหลามไก่หลามหมูอาหารของชนขมุหากินได้ที่นี่ที่เดียว  ตามด้วยการทำขนมจีนเส้นสด ซดกับน้ำยาป่าจากบ้านหินตุ้ม  ตบท้ายด้วยเด็กน้อย “บ้านไร่ขยับยิ้ม” เปิดร้านปั้นตาควาย   ทอดดอกจอก หยอดลอดช่่อง น้ำสมุนไพรจากป่า  แสดงฝีมือให้คนท่องเที่ยวได้ลองลิ้มรส ขากลับแวะซื้อแหนมต้นอ้อ ภูมิปัญญาคนบ้านไร่กลับบ้านได้เลย

๓.โซนผ้าทอลือนาม เลื่องชื่อ “ลาวบ้านไร่”
ผ่าทอบ้านไร่ มีลายงดงามติดเนื้อติดตัวมาแต่เมืองลาว  งานนี้กลุ่มแม่บ้านในตำบลบ้านไร่ พากันเอาผ้าทอพื้นบ้านมาวางจำหน่ายให้เลือกซื้อ เลือกหาตามใจคนชมชอบผืนไหน เลือกผืนนั้น ตามแต่ใจที่เห็นว่างาม

๔.โซนผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผลผลิตจากในไร่ในสวนของคนบ้านไร่ ฤดูกาลที่อร่อยก็มีให้เลือกซื้อเลือกชมอย่างจุใจ ไม่ว่าจะเป็นส้มโอขาวน้ำผึ้ง ขาวแตงกวา กล้วยหอมทอง ฝรั่ง ลำใยอินทรีย์ ข้าวไร่ ฟักทอง ฟักหอม สัปปะรด ผักพื้นบ้านหมากหัวต่อ ฟักข้าว ยอดผีโพง ฯลฯ

๕.โซนวัฒนธรรมความงามประจำชุมชน
ปีนี้ ครูนาม แห้วเพ็ชร จัดเต็ม ขนความงามในชุมชนออกมาให้เรียนรู้ทุกเย็นย่ำค่ำมืดกันทุกวี่วันรำนางด้งนางแคน บ้านสะนำ รำแหย่ไข่มดแดง บ้านศาลาคลองฟังเสียงแคนดีดพิณ จากลุงชมภู กวีบ้าน ๆ จากป้าจำปี  วงซุมข้าวแลง แสตนบายทั้งบ่ายและค่ำ
ศิลปินท่านไหนอยากมาแจมด้วย รีบอ้าแขนต้อนรับไม่เกี่ยงไม่งอนแถมที่พักให้นอนสบายในสวนศิลป์แผ่นดินบ้านไร่
.
ปีใหม่ไม่รู้จะไปที่ไหน
แวะมาเที่ยวบ้านไร่ เที่ยวแก่นมะกรูดแล้ว
ขากลับลองแวะมาเดินเที่ยวตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา
ขนความอร่อยกลับบ้าน เติมหัวใจกันด้วยความงามท้องถิ่น
แล้วท่านจะรู้ว่า “ของดีบ้านไร่” มีอยู่จริง ๆ
ที่น่าสนใจ งานนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณจากหน่วยงานใด
ชาวบ้าน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานพัฒนา ต่างช่วยกัน
ก่อร่างสร้างงาน ให้ก่อเกิดกับชุมชนด้วยหัวใ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

วันที่ 16-17 ธันวาคม 59 เชิญชวนเด็กๆ เยาวชนและบุคคลทั่วไป ร่วมกิจกรรม “ตามรอยแว้งในความทรงจำ ครั้งที่ 3 ”  ปีนี้เราจะชวนน้องๆทุกคนเดินเยี่ยมชมตลาดอำเภอแว้ง เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ตามติดร่องรอยที่ยังมีให้เห็น เดินชมตึกรามบ้านช่องที่ยังคงสภาพเดิม สนทนาพาเพลินกับคนเฒ่าคนแก่ที่จะส่งกลิ่นไออบอวลแห่งความสุขในวัยเยาว์ ชมนิทรรศการภาพถ่ายของแว้งวันวาน มีหลายภาพที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน พร้อมฟังการบรรยายจากเจ้าของภาพที่จะมาบอกเล่าถึงฉากข้างหลังภาพ และพบกับกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ และเยาวชนอีกมากมาย ณ ลานหญ้าศาลามหาราช อ.แว้ง จ.นราธิวาส “พื้นที่นี้ดีจัง แว้ง…ยังยิ้ม อิ่มใจทุกวัยไปอีกนานแสนนาน” ติดตามความเคลื่อนไหวที่ Sum Nara Nara

เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน  ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138  ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา รุจจิราภรณ์ พรมมิ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น […]

4 ก.ค. 58 มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกันจัดทำโครงการโรงเรียน 3 ดี เพื่อสร้างพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย และทางโครงการฯได้ขอพบผู้บริหาร ครู และนักเรียนแกนนำโรงเรียน 3 ดี ทั้ง 11 โรงเรียน เพื่อแนะนำโครงการ แผนกิจกรรม และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่างๆ ภายในโครงการฯ และยังได้นำสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โรลอัพความรู้ ไปมอบให้กับโรงเรียนไว้ใช้ในชมรมฯ อีกด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย