
จังหวัดเพชรบุรี โดยเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสมทบสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัท เอกชน ชุมชนพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม ด้านเอกชนเจ้าของที่ดิน 2 แปลงให้ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลเป็นลานกิจกรรม
สืบเนื่องจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ริเริ่มจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แต่ปีนี้ทาง สสส. ลดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย
ด้านกิจกรรมในปีนี้ นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง แกนนำเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ผู้ประสานงานมหกรรมครั้งนี้ ได้กล่าวว่า “จากการที่เครือข่ายได้ร่วมกันขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์กันมาถึงปีนี้ก็เป็นปีที่ 6 แล้ว ทำให้หลายพื้นที่มีการเติบโตขึ้น จากพื้นที่สร้างสรรค์เล็ก ๆ ในชุมชน กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ทั้งชุมชน เกิดความร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้น มีพื้นที่เรียนรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปีนี้เราก็ใช้ชื่อมหกรรมว่า มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน เพื่อให้ทุกคนในเพชรบุรี ได้มาร่วมมือกัน ดูแล รักษา พื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ในชุมชนไว้ ช่วยกันเล่าช่วยกันบอกต่อให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ขึ้นในทุก ๆ พื้นที่ทุกชุมชน และก็อยากให้ทางจังหวัดเพชรบุรี ได้จัดงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ที่คนเมืองเพชรได้ร่วมกันเริ่มต้นนี้ไว้ ให้สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปเรื่อย ๆ โดยงานมหกรรมครั้งนี้ จะมีขึ้นในวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 18 – 19 มีนาคม 2560 นี้ ในพื้นทีชุมชนใจกลางเมืองเพชรบุรี มีกิจกรรมทั้งภาคกลางวันและช่วงค่ำก็จะเริ่มประมาณ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป”
“ส่วนด้านผู้ร่วมจัดกิจกรรมในงานมหกรรมปีนี้ กลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจังยังคงเป็นแกนนำในการจัดมหกรรม ร่วมกับกลุ่มรักษ์ตลาดริมน้ำและกลุ่มชุมชนชาวถนนคลองกระแชง เหมือนทุกปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้มีองค์กรที่ร่วมจัดเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สถาบันอาศรมศิลป์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.เพชรบุรี กลุ่มศิลปินถ่ายภาพและศิลปินวาดภาพ ชาวชุมชนตำบลนาพันสามและวัดนาพรม เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ชุมชนผึ้งน้อยมหัศจรรย์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัทไปรษณีย์ไทย จังหวัดเพชรบุรี ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน และจะมีเพื่อนภาคีพื้นที่นี้ดีจังจาก 6 จังหวัด มาร่วมจัดกิจกรรมด้วย โดยมีน้อง ๆ จากโรงเรียนบางจานวิทยา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มาร่วมเป็นอาสาสมัครในงาน มีหน่วยปฐมพยาบาลจากโรงพยาบาลเมืองเพชรธนบุรี และจากศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โรงพยาบาลพระจอมเกล้า มาคอยบริการหากเกิดการเจ็บป่วย ส่วนด้านการจราจรและความปลอดภัย ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากสถานีตำรวจภูธรเมืองเพชรบุรีจัดกำลังเจ้าหน้าที่มาดูแล และมี อปพร. จากเทศบาลเมืองเพชรบุรีมาร่วมสนับสนุนด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีเครือข่ายขององค์กรและชุมชนที่ร่วมจัดงานอีกหลายภาคส่วนที่ไม่สามารถจะกล่าวถึงได้หมด”
สำหรับกิจกรรมก็มีหลากหลาย ทั้งกิจกรรมเรียนรู้ที่เป็นการชวนกันลงมือทำและการแสดง มีการเปิดบ้านและการจัดกิจกรรมของคนในชุมชน ทั้งในซอยริมน้ำ ถนนคลองกระแชงและถนนดำเนินเกษม กิจกรรมทางน้ำที่ปีนี้ได้รับความเมตตาจากเจ้าอาวาสวัดนาพรม จัดเรือพายและคนในชุมชนมาร่วมสร้างสีสันให้กับมหกรรมในแม่น้ำเพชรบุรีอีกด้วย ส่วนกิจกรรมภาคกลางวันในปีนี้ก็มีเพิ่มมากขึ้น จะมีการจัดเสวนาถึงราชาเรื่องสั้น มนัส จรรยงค์ ที่จะมีนายกสามคมนักเขียนแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยนักเขียนชื่อดังระดับประเทศมาร่วมเสวนาด้วย มีกิจกรรมเดินชุมชน กิจกรรมสอนทำอาหาร และกิจกรรมทางน้ำ ส่วนพิธีเปิดก็จะมีด้วยกัน 4 พื้นที่ ต่างเวลากัน เริ่มด้วย 13.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมภาคกลางวัน โดยวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี ณ บ้านจรรยงค์ ถนนคลองกระแชง 17.00 น. เปิด ณ ลานตั้งสวัสดิรัตน์ โดยนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี ซอยริมน้ำ ใกล้สะพานจอมเกล้า 18.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิตและถนนสายกิจกรรม 3 ส. โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ณ บริเวณสี่แยกเพชรนคร 19.00 น. พิธีเปิดงานมหกรรม เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ณ ท่าน้ำวัดพลับพลาชัย และท่าน้ำตลาดสดเพชรบุรี ก็อยากจะขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และมาร่วมพิธีเปิดมหกรรมครั้งนี้พร้อม ๆ กัน”
ด้านสถานที่จัดมหกรรม ได้รับการชี้แจงจากนางสาวเนตรนภา รุ่มรวย เยาวชนกลุ่มรักษ์หนองปรง ที่รับหน้าที่หัวหน้าฝ่ายสถานที่กล่าวว่า “สำหรับพื้นที่จัดงานปีนี้ ก็ใช้พื้นที่เหมือนปีที่ผ่านมา คือ ถนนดำเนินเกษม ตั้งแต่สี่แยกไปรษณีย์ ถึงหน้า วัดมหาธาตุ ถนนหลังจวน ถนนคลองกระแชงตลอดสาย และในซอยริมน้ำซึ่งอยู่ฝั่งตลาดสด ลานรอบน้ำพุ ลานสุนทรภู่ ลานวิหารคันธารราฐ วัดพลับพลาชัย และที่พิเศษปีนี้ เราได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่ใจดี มอบพื้นที่ส่วนตัวให้ใช้เป็นลานกิจกรรม คือลานตั้งสวัสดิรัตน์ ในซอยริมน้ำ จากห้างทองไทยง่วนฮง และลานเดอะซันปันสุข บริเวณหน้าตึกชุมสายโทรศัพท์ จากเจ้าของห้างเดอะซัน และสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในตลาดสดเพชรบุรี จัดกิจกรรมได้ด้วย นอกจากนี้ก็มีชาวชุมชนอีกหลายบ้าน ที่เปิดบ้านจัดกิจกรรมร่วมกันด้วย ก็ขอถือโอกาสขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ”
งานมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน ได้รับการสนับสนุนจาก จังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี สโมสรพื้นที่นี้ ดีจัง สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับ เด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัว และผู้สนใจทั่วไป ได้มาเรียนรู้ สื่อ ศิลปะ ของพื้นที่ชุมชนตามบริบทของพื้นที่หรือองค์กรที่มาร่วมจัดกิจกรรม สร้างสังคมการเรียนรู้ไร้พรมแดน ภายใต้แนวคิด “เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน” โดยมีเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เป็นแกนนำออกแบบพื้นที่และกิจกรรมโดยใช้หลักการ 3 ส. คือ สื่อสาร สร้างสรรค์ มีส่วนร่วม เพื่อให้เกิด สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี นำสังคมไปสู่ ชุมชน วิถี ชีวิต สุขภาวะ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมงานมหกรรมในครั้งนี้ มาร่วมกัน เปลี่ยนประเทศไทยจากจุดเล็ก ๆ ด้วยจินตนาการอันยิ่งใหญ่ นี้พร้อม ๆ กัน
ขอขอบคุณพี่ ๆ สื่อมวลชนทุกท่านทุกสำนัก ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ด้วยดี ตลอดมา
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/phetburideejung/?ref=ts&fref=ts
เครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม และวัดนาพรม จัดกิจกรรม “นาพันสามปันสุข” เปิด “โครงการท่องเที่ยววิถีไทย วิถีพุทธ วิถีพอเพียง อย่างยั่งยืน” และ วัดนาพรมประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “อาคารพิพิธภัณฑ์ชาวนา” ณ ตลาดน้ำนาพันสาม วัดนาพรม อ.เมืองเพชรบุรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 โดยมีกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” ของเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และกิจกรรมของนักศึกษาสาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี เข้าร่วมด้วย กิจกรรมนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “นาพันสามปันสุข” และนายชัยยะ อังกินันทน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” และทั้ง 2 ท่านก็ได้เดินเยี่ยมชมซุ้มกิจกรรมของเครือข่ายเพชรบุรี…ดีจัง อย่างใกล้ชิดโดยมีท่านวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี คุณศรีสมร เทพสุวรรณ์ และแกนนำเยาวชน ฝ้ายยย ย. Tanyim Sirikwan และ Sunisa […]
เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว ๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์ เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์ เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้ ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา” เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่ ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่ เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่ มาแล้วจะได้อะไร? เดินแล้วจะเห็นอะไร? แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง ๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่ กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม […]
วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ความเป็นมา แนวคิดและหลักการ 3 ดี แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น […]
เริ่มเสาร์อาทิตย์นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬมีงานชุมชนสร้างสรรค์ส่งท้ายปีเก่ามาเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคนร่วมแบ่งปัน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับคำสั่งไล่รื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า …. งาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ เป็นงานที่ศิลปิน นักออกแบบ นักจัดการทางศิลปะ ร่วมมืกับชาวบ้านเวิร์คชอปทำแพคเกจจิ้งสินค้าภายในชุมชน จัดทำของที่ระลึกและศิลปะทำมืออีกมากมายไว้รอต้อนรับเพื่อนๆ เสาร์อาทิตย์ 24-25 ธันวานี้ เบื้องหลังความคิดที่มาของงานจากปากคำ Roj Siam Ruay ผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ กล่าวไว้น่าสนใจมาก “การสร้างอัตลักษณ์อย่างง่าย : ให้จำคำนี้ไว้ “แวดล้อมคือตัวตน” ทุกสิ่งอันจะช่วยกันเล่าและเกลี้ยกล่อมให้คนดูงาน เข้าใจและนึกไปถึงถิ่นฐานที่มาได้ ในภาพเป็นชุดตรายางจากสิ่งรายรอบของชุมชนป้อมมหากาฬ(บางส่วน) มีคน เด็ก แมว ต้นไม้ สุ่มไก่ ศาลพระภูมิ พวงมะโหตร ฯลฯ เมื่อมันทำงานพร้อมๆกัน ‘ภาพจำติด’ จะสร้างให้ผู้ที่เคยสัมผัสพื้นที่เข้าใจได้ว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับชาวป้อมมหากาฬ ที่มาของแบบนั้นเป็นต้นทุนเรื่องราวที่ดี เป็นเรื่องจริง ปรากฏจริง แล้วยิ่งถ้าไม้ที่ทำด้ามตรายาง เป็นไม้ที่เหลือจากการไล่รื้อด้วยล่ะ? คุณว่ามันจะเป็นที่อื่นได้ไหม?” ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ มาหากันนะ … ส่วนงาน ต่อ […]