Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
สุดคึกคัก มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่ | ชุมชน 3 ดี
สุดคึกคัก มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่


600401_news1600401_news1มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น600401_news1

“มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่ครั้งนี้ สะท้อนถึงความสำคัญของการเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้สร้างสรรค์เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญา รากเหง้าของตนเองอย่างรู้คุณค่า สื่อสารสู่สาธารณะ ขณะที่การมีส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วนเพื่อสนับสนุนการทำงานหนุนเสริมพลังของเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะในท้ายที่สุดแล้วพลังของเด็กและเยาวชนจะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อชุมชนและสังคมได้ต่อไป

 

นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า เยาวชนในเครือข่ายภาคอีสานได้ทำงานสื่อสารสร้างสรรค์ เรียนรู้ถึงศักยภาพของตนเองที่จะเป็นกำลังสำคัญสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชุมชน และสังคมได้ นอกจากนี้ ยังได้ฝึกฝนการสร้างสื่อเพื่อบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอีสาน ทำให้พวกเขาเห็นถึงความสำคัญที่จะร่วมสืบสานรากเหง้านี้อย่างภาคภูมิใจ

600401 news2

ส่วนกิจกรรมในงานได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ ลานวิถีอาหารอีสานกับแกงหน่อไม้ ขนมเทียนแก้ว ข้าวโป่ง ปลาส้ม ขนมจีน

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภาคอีสาน จะเป็นกลไกสนับสนุนสำคัญของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ หนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ ชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

600401 news3

 

ข้อมูลจาก workpoint TV

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข     ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี “ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น” ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด 3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา   “  พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี”  “ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ” ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  […]

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560  คุณครู 8 กลุ่มสาระและงานแนะแนวของโรงเรียนบางจานวิทยา คณะนักศึกษาฝึกสอน จาก มรภ.เพชรบุรี และกลุ่มลูกหว้า   นำทีมโดย ป๋อม ลูกหว้า Maneeya Emton ก๊อง ลูกหว้า Artit Kong Mocha ร่วมกันเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ยิ้มเบิกบาน@บางจานวิทยา ให้กับเด็ก ๆ นักเรียน ได้ เล่น และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันอย่างสนุกสนาน โดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เฉลิม จำปาวิจิตร ก็ได้ร่วมกิจกรรมนิทานหรรษากับเด็ก ๆ อย่างเป็นกันเอง พื้นที่ดี ๆ แบบนี้ เกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเราร่วมมือกัน รายงานข่าวจาก กลุ่มลูกหว้า

สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะทางปัญญาบนฐานชุมชน วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีดีจัง   วันที่ 1 – วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 : “วันปันยิ้ม” รู้จักทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 08.00 น.         ลงทะเบียน 09.00 น.         รู้จักแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) แนะนำเครือข่ายพื้นที่นี้…ดีจัง ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ฯ 10.00 น.         รู้จักทักทาย สื่อความหมาย “ต่างคนต่างมาจากทุกสารทิศ ด้วยชีวิตจิตใจสร้างสรรค์ชุมชน” 12.00 น.         อาหารกลางวัน 13.00 น.         เปิดตลาดนัด “บ้านเธอ บ้านฉัน เราปันยิ้ม” 17.00 น.         เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิต […]

22 ส.ค. 58 เวทีประชาคม ชุมชนวัดโพธิ์เรียง ร่วมกับสำนักงานเขตบางกอกน้อย เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ศชส.ยุติความรุนแรงชุมชนวัดโพธิ์เรียง สน.บางกอกน้อย เจ้าหน้าที่ทหาร หารือเรื่องแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงในชุมชน เช่น เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด พนัน ความรุนแรง สื่อ และแนวทางการขับเคลื่อนชุมชน 3 ดี “พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี” ไปสู่ชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง “เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ชุมชนมีชีวิต”