Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
กิจกรรม | ชุมชน 3 ดี
ข่าวสารและกิจกรรม
รวบรวมข่าวสารและกิจกรรมที่ผ่านมาและกำลังจะเกิดขึ้น ของ 3 ดี
กิจกรรม (13)

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเรื่องเล่นของเด็กๆ ไม่จำกัดเพศ อายุ “มาร่วมแลกเปลี่ยน” กับงานสัมมนานานาชาติ “สิทธิการเล่นของเด็กในภาวะวิกฤติ” International Seminar on Access to Play in Crisis วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องสมรรถนานา โรงแรมนูโวซิตี้ สามเสนซอย 2 เขตพระนคร กรุงเทพฯขอเพียงคุณเห็นว่าเรื่องเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กๆทุกคนบนโลก ในงานสัมมนาคุณจะได้ความรู้จาก “งานวิจัยการเล่นของเด็กในสภาวะวิกฤติ”?? โดย นักวิจัยจาก 6 ประเทศ ??️ ??️️ ??️ ?? ??️ ??️ (ญี่ปุ่น,เนปาล,อินเดีย,ไทย,เลบานอน,ตุรกรี,) และสาระความรู้เรื่องการเล่นอีกมากมาย *****มีล่ามแปลภาษา อังกฤษ-ไทย ตลอดทั้งงาน***** สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ : คุณสุนีย์ สารมิตร 02- 433-6292 กด 0

19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560

เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น 23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี 2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา 8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน อ.จะนะ จ.สงขลา 14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข […]

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ   ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]

ะ 3 มิ.ย. นี้เวลา 17.00 นี้เป็นต้นไป กลุ่มไม้ขีดไฟจัดกิจกรรมดีๆเพื่อเด็กและครอบครัวค่ะ   “เดิ่นนี้ดีจัง ตอน มหัศจรรย์การเล่น”  จูงมือกันมา ทำกิจกรรมสนุกๆที่สวนไฟฝัน พาลูกมาฟังนิทาน จากครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เพลินฟังเดี่ยวขิม และดนตรีสบายๆแบบครอบครัว ชมละครหุ่นเงา กระตุ้นจินตนาการ พ่อโอ๊ค จากพระนครนอนเล่น มาเล่าเรื่องเล่นแล้วลูกได้อะไร และมากมายกิจกรรม ลงมือทำ ศิลปะ ประดิษฐ์ ทำขนม ลงมือทำ ลงมือทาน ทำฟรี ดูฟรี ตลอดงาน กลุ่มไม้ขีดไฟฝากบอกว่าอยากชวนทุกคนมาจริงๆนะคะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ https://web.facebook.com/maikeedfaigroup/?pnref=story

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) จัดอบรม กระบวนการ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ให้กับเยาวชนจำนวน 40 คน จาก 5 เมืองประกอบด้วย ชุมแสง นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.2560 ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการอบรมมีกิจกรรมเรียนรู้เพื่อตระหนักถึงพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน ฝึกการคิด การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เห็นพลังของกลุ่ม ในการอบรมเยาวชน 3 ดี

มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: […]

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมกับชุมชนวัดดวงแข เตรียมจัดงาน “มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม” ซึ่งคราวนี้มาในตอน “เรื่องกินเรื่องใหญ่” นำเสนอการทำงานพัฒนาเด็กและวิถีชุมชนภายใต้เรื่องราวของอาหารการกินอยู่ ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว พบกับกิจกรรม work shop อาหารวัฒนธรรม ,ทัวร์ชมชุมชน ,การแสดงเด็ก ,ร้านอาหารชุม ,ชมแลนด์มาร์ครองเมือง ++ พบกันวันที่ 2 เมษายน 2560 เวลา 15.00-19.00 น. ณ ถนน รองเมือง ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข ติดตามความเคลื่อนไหว้ที่ https://www.facebook.com/iamchildpage/

เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง”  มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]

Japanดีจัง (1) พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย […]

จังหวัดเพชรบุรี โดยเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสมทบสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัท เอกชน ชุมชนพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม ด้านเอกชนเจ้าของที่ดิน 2 แปลงให้ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลเป็นลานกิจกรรม สืบเนื่องจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ริเริ่มจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แต่ปีนี้ทาง สสส. ลดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย ด้านกิจกรรมในปีนี้ นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง […]

ภาคีเครือข่ายภาคใต้ ของ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันประชุมกลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มสงขลาฟอรั่ม กลุ่มศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ และกลุ่มยังยิ้ม ณ อำเภอเทพา จ.สงขลา เพื่อวางโมเดลการทำงานและสร้างการสื่อสารในพื้นที่ ในประเด็นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน  ระหว่างวันที่ 27 และ 28 ก.พ. โดยเน้นกิจกรรมที่ควรจะสามารถ Spark คนในพื้นที่ด้วยโมเดล “การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง” รวมถึงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเด็ก และเยาวชน รวมทั้งคนในพื้นที่ภาคใต้   โดยวันที่ 28 ก.พ. 60 ภาคีเครือข่ายภาคใต้กลุ่มฐานภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ประกอบด้วยกลุ่ม กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มพัทลุงยิ้ม แล กลุ่มละครมาหยา ได้แลกเปลี่ยนและนำเสนอโมเดลกระบวนการเรียนรู้ผ่านภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ สื่อพื้นบ้าน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และSpark แรงบันดาลใจให้กับของเยาวชนในพื้นที่

บทความ (8)

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]

“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

บทสัมภาษณ์ (4)

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]