19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560
เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) จัดอบรม กระบวนการ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ให้กับเยาวชนจำนวน 40 คน จาก 5 เมืองประกอบด้วย ชุมแสง นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.2560 ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการอบรมมีกิจกรรมเรียนรู้เพื่อตระหนักถึงพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน ฝึกการคิด การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เห็นพลังของกลุ่ม ในการอบรมเยาวชน 3 ดี
มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่ ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60 ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: […]
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมกับชุมชนวัดดวงแข เตรียมจัดงาน “มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม” ซึ่งคราวนี้มาในตอน “เรื่องกินเรื่องใหญ่” นำเสนอการทำงานพัฒนาเด็กและวิถีชุมชนภายใต้เรื่องราวของอาหารการกินอยู่ ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว พบกับกิจกรรม work shop อาหารวัฒนธรรม ,ทัวร์ชมชุมชน ,การแสดงเด็ก ,ร้านอาหารชุม ,ชมแลนด์มาร์ครองเมือง ++ พบกันวันที่ 2 เมษายน 2560 เวลา 15.00-19.00 น. ณ ถนน รองเมือง ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข ติดตามความเคลื่อนไหว้ที่ https://www.facebook.com/iamchildpage/
เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง” มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]
ภาคีเครือข่ายภาคใต้ ของ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันประชุมกลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มสงขลาฟอรั่ม กลุ่มศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ และกลุ่มยังยิ้ม ณ อำเภอเทพา จ.สงขลา เพื่อวางโมเดลการทำงานและสร้างการสื่อสารในพื้นที่ ในประเด็นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 27 และ 28 ก.พ. โดยเน้นกิจกรรมที่ควรจะสามารถ Spark คนในพื้นที่ด้วยโมเดล “การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง” รวมถึงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเด็ก และเยาวชน รวมทั้งคนในพื้นที่ภาคใต้ โดยวันที่ 28 ก.พ. 60 ภาคีเครือข่ายภาคใต้กลุ่มฐานภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ประกอบด้วยกลุ่ม กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มพัทลุงยิ้ม แล กลุ่มละครมาหยา ได้แลกเปลี่ยนและนำเสนอโมเดลกระบวนการเรียนรู้ผ่านภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ สื่อพื้นบ้าน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และSpark แรงบันดาลใจให้กับของเยาวชนในพื้นที่
ผ่านไปแล้วกับการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ถอดบทเรียน-กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมเครือข่าย สสย. ภายใต้ชื่อ “3 ดี ดีจัง Young แจ๋ว “ เพื่อถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานปีที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15-17 กพ. 60 ซึ่งงานนี้จัดโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ร่วมกับสโมสรพื้นที่นี้ดีจัง โดยมีภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับสสย. กว่า 120 คนทั่วประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในวันแรกได้ร่วมกันปักหมุด Young แจ๋ว 3 ดี ไตรพลวัต (เยาวชน กิจกรรม ชุมชน) นวัตกรรม Young แจ๋วร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของเครือข่าย วันที่สอง วันนี้เติมความแจ๋ว จากการฟังบทเรียนการทำงานเยาวชน สื่อ และชุมชน จากคุณโจ้ ปลื้มจิต สยามกัมมาจล, คุณเปี๊ยก สมเกียรติ สำนักข่าวพลเมือง ไทยพีบีเอส และคุณต่อ ระพีพัฒน์ เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนวงย่อยร่วมกัน หลังจากนั้นภาคีเครือข่ายได้ปักหมุดต้นทุนในพื้นที่จนกลายเกิดเรื่องแจ๋วๆให้กับเด็ก เยาวชนและคนในพื้นที่ และทำอย่างไร? ที่จะให้(เยาวชน+กิจกรรม+ชุมชน) […]
กลุ่มองค์กรด ้านสื่อศิลปวัฒนธรรมเพื่อเด ็กเยาวชนและชุมชนหลายองค์กร นำโดยกลุ่มละครชุมชน “กั๊บไฟ” ร่วมกับสถาบันสื่อเด็ กและเยาวชน (สสย.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนส ่งเสริมการสร้างสุขภาพ (สสส.) เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ให้กับเด็กเยาวชนและความสัม พันธ์ที่ดีในครอบครัว รวมทั้งหวังส่งเสริมการมีส่วนร ่วมของเด็กเยาวชน ชุมชน เชิดชู ศิลปิน ครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านชาติพันธุ์ต่า งๆ และองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อ ง เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนั กรู้เรื่องพื้นที่สร้างสรรค ์กับสาธารณชนในทุกๆ ปี ร่วมกับองค์กรสาธารณประโยชน ์ กลุ่มศิลปินอิสระ และองค์กรด้านสื่อสร้างสรรค ์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเด็ ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชน กว่า 20 องค์กร จัดงาน “ข่วงนี้ดีแต้” ในวันที่ 27-28 มกราคม 60 ณ โครงการบ้านข้างวัด(ซ.วัดอุ โมงค์) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ภายในงานมีกิจกรรมสร้างสรรค์หลาก หลาย […]
เครือข่ายโคราชยิ้ม จัดงาน เทศกาลงานยิ้ม โคราช 2017 พร้อมนำของดีของชุมชนตนเอง ซึ่งมีเด็กเยาวชนเป็นตัวหลักในการสืบค้นและนำมาเสนอให้เด็กๆ ผู้ปกครองที่มาร่วมงานได้ดู ได้ทำ ได้ชิม! แม้จะเป็นปีแรก และครั้งแรกของแกนนำเยาวชนที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราว วิธีการทำ อันเป็นการสืบสานภูมิปัญญา แต่ทุกคนตั้งใจ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะของเด็กๆ หนุนเสริมให้น้องเยาวชนแกนนำเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ ผู้ใหญ่ที่เป็นพี่เลี้ยงก็ชื่นใจ งานนี้มีแต่รอยยิ้ม!!! งานนี้มีอะไรไปดูกันค่ะ เรียกได้ว่า “เทศกาลยิ้ม เดิ่น เล่น สนุก ยิ้มได้ทุกวัย” ขอบคุณภาพสวยๆจาก Facebook:: โคราชยิ้ม โคราชบ้านเอง
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560 คุณครู 8 กลุ่มสาระและงานแนะแนวของโรงเรียนบางจานวิทยา คณะนักศึกษาฝึกสอน จาก มรภ.เพชรบุรี และกลุ่มลูกหว้า นำทีมโดย ป๋อม ลูกหว้า Maneeya Emton ก๊อง ลูกหว้า Artit Kong Mocha ร่วมกันเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ยิ้มเบิกบาน@บางจานวิทยา ให้กับเด็ก ๆ นักเรียน ได้ เล่น และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันอย่างสนุกสนาน โดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เฉลิม จำปาวิจิตร ก็ได้ร่วมกิจกรรมนิทานหรรษากับเด็ก ๆ อย่างเป็นกันเอง พื้นที่ดี ๆ แบบนี้ เกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเราร่วมมือกัน รายงานข่าวจาก กลุ่มลูกหว้า
20 สิงหาคม 2559 นี้พบกันครับ ณ สวนสาธารณะเขาแคน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ……………………………….. 1. สนุกมือทำ กับ ฐานกิจกรรมมากมายที่ขนมาเพื่อทุกคน ให้ทุกท่านได้ลงมือทำ อาหาร ศิลปะ ประดิษฐ์ ระบายสี ทำเอง ภูมิใจได้ของ กลับบ้าน 2. สนุกชม ดนตรีมากความสามารถจากกลุ่มวัยรุ่นที่รวมกลุ่มรวมตัวกัน มากมายในห้องซ้อมดนตรี อ.ปากช่อง พร้อมความสนุครบวัย เพราะเรามี ลิเก ศิลปะร่วมสมัย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ชมดี 3 สนุกช๊อบ ในตลาดนัดคุณหนู ที่จะชวนน้องๆค้นของเก่า เอามาขาย เรียนรู้การหา และการออม (ครอบครัวใดสนใจ เปิดแผงให้น้องๆได้เรียนรู้ ติดต่อจองพื้นที่ด่วนๆ รับจำนวนจำกัด 081-7321412) และพี่เศษสุดๆ กับการขนหนังสือมือสองมาจำน่ายในราคาเล่มล่ะ 1 บาท จากมูลนิธิกระจกเงา ………………………… ปล. งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมดีๆให้เด็ก […]
เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่ คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้ ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]
“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]
ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]
ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]
“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]