Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
เรื่องราวบันดาลใจ | ชุมชน 3 ดี
ข่าวสารและกิจกรรม
รวบรวมข่าวสารและกิจกรรมที่ผ่านมาและกำลังจะเกิดขึ้น ของ 3 ดี
เรื่องราวบันดาลใจ (10)

“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้  มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’”   นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี  ของชุมชนวัดอัมพวา  เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง  บอกเล่า  ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้  เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา   พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน  ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด  เกมต่างๆ  ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด “ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด  และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ” …ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง  แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์  ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน  เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้  ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ “ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้  ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน  เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน  ทำกิจกรรมกับพี่ๆ  เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง  ความคิดผมก็เปลี่ยน  ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต   แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’” […]

กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง  หมู่บ้านปาโงปะแต  ต.โคกสะตอ  อ.รือเสาะ  จ.นราธิวาส    จากเยาวชนไม่ถึง 10 คนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่รอดพ้นจากอิทธิพลของยาเสพติด  จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ (เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และไม่ได้เรียน ) ขี้อาย พูดไม่เก่ง กลัวผู้คน ( มีอาการเป็นไข้ บางคนหายใจ   ไม่ออก เมื่อพบเจอผู้คน ) จากเยาวชนที่ถูกสงสัยเรื่องก่อความรุนแรง  สู่แกนนำเด็กเยาวชนที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย  ปลอดยาเสพติด 100%    สร้างกองทุนเพื่อช่วยเด็กเยาวชนในชุมชนที่ยากจนไม่ได้เรียนหนังสือ และผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงพื้นที่สีแดง ทั้งเรื่องยาเสพติด ความรุนแรง  ความหวาดระแวงกันและกัน  กลายเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อแบ่งปันช่วยเหลือทำงานร่วมกันระหว่างราชการกับชุมชน  จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ ไม่รู้จักเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์  กลายเป็นผู้สร้างสื่อสร้างสรรค์หนังสั้นอนา ซีสที่สร้างผลกระทบลดเรื่องยาเสพติดในชุมชนได้อย่างแนบเนียน  เป็นกลุ่มเด็กเยาวชนกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมา การทำงานจิตอาสาเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปฏิเสธเสื้อกันหนาวไม่กี่ตัวที่ได้รับบริจาค  เพื่อการส่งต่อ และเริ่มต้นงานเล็กๆ ด้วยจิตอาสาเกินร้อย  แบกไม้กวาดไม้ถูพื้นลงพื้นที่ทำความสะอาดโรงเรียนที่น้ำท่วม( หลังน้ำลด ) กลายเป็นผู้จุดประกายงานจิตอาสาเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ […]

จากเยาวชนมุสลิมที่เกือบเข้าสู่กระบวนการ   กลายเป็นผู้นำที่ใช้พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กสร้างสันติภาพในใจคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้    “ ถ้าไม่มีวิธีการหรือสิ่งอื่นใดในการสร้างสันติภาพ  ผมจะเข้าสู่กระบวนการ”        ชายหนุ่มในวัย 25 ปีที่พยายามค้นหาวิธีการสร้างสันติภาพมาตลอดชีวิตบอก     การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กใน 3 จังหวัดว่ายากแล้ว   การเปิดใจผู้คนยากยิ่งกว่า…  ฮัมดีในวัยเด็กมีโอกาสได้คลุกคลีกับคุณพ่อผู้มีจิตสาธารณะ   ฮัมดีจึงซึมซับความเป็นจิตอาสามาจากคุณพ่อเต็มๆ   ฮัมดี หรือ แบร์ดีของเยาวชนใต้  เป็นคนมีจิตใจดี ซื่อสัตย์ ละเอียดอ่อน มีน้ำใจ  คิดบวก มีเหตุและผล ประนีประนอม  เข้าใจความหลากหลายของผู้คน เข้าถึงผู้คนชุมชน เคารพชุมชน   เป็นคนให้โอกาสคน    ยืดหยุ่น     มองจังหวะในการเข้าพัฒนางานได้ดี   เปิดกว้างไม่ติดกรอบใดๆ   มีมุมมองเชิงการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม มุ่งมั่นในการทำงานช่วยเหลือคนอื่น  เชื่อในวิธีการสันติวิธีเพื่อสร้างสันติภาพ    เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ฮัมดีเป็นกลายแกนนำในการทำกิจกรรรมต่างๆของโรงเรียนตั้งแต่ม.ต้น […]

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]

ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ  วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา  ต.แม่สวด  อ.สบเมย  จ.แม่ฮ่องสอน  ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน  ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ    นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย  เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ  “เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้  เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด” หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ  หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข     ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี “ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น” ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด 3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา   “  พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี”  “ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ” ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  […]

“ เมื่อก่อนหนูอายมากเลยนะที่จะต้องบอกกับเพื่อนว่าบ้านหนูอยู่ในสลัมดวงแข (ชุมชนวัดดวงแข )ไม่อยากให้เพื่อนมาที่บ้าน  ตอนนี้เพื่อนๆไม่เพียงแค่มาที่บ้านหนู   แต่ยังมาช่วยหนูพัฒนาชุมชน อีกด้วย”  จากน้องบิว   (ศิริรัตน์  หนูทิม) เด็กในชุมชนแออัดเมืองที่ไม่เคยมีความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในที่อยู่ของตนเอง  มีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นแกนนำเยาวชนชุมชนวัดดวงแข ที่มีความภาคภูมิใจ  ภูมิใจรักในชุมชนแออดัดที่ตนเองอยู่  มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะไปให้ถึงฝัน แกนนำเด็กหลักที่สร้างการเปลี่ยนแปลงชุมให้กับชุมชนแออัด  กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและชุมชน  เป็นคนที่ลุกขึ้นมาบอกใครๆเรื่องปัญหาชุมชนตนเอง  เชิญชวนผู้คนมาร่วมช่วยพัฒนาชุมชน  สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน  สร้างความรู้สึกรักชุมชนให้ผู้คนในชุมชน  บิวเล่าว่า “ ตอนเด็กๆ ก็เข้ามาเล่น และทำกิจกรรมที่บ้านพัก ( ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ) บ่อยๆ แต่ก็เข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เวลาบ้านพักมีกิจกรรมที่ไหนก็จะได้ไปกับป้าหมี  ป้าติ๋ม หยก ต้องยอมรับว่าช่วงเวลานั้น ไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ  ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะเรียนต่อ ม.ปลายสายอะไร จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหม  หนูยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตหนูจะทำไงต่อ แม่ให้เรียนก็เรียน ถ้าไม่ให้เรียนก็ออกมาทำงาน” จนบิวได้ไปเข้าค่ายสื่อสารสร้างสรรค์   ในค่ายบิวได้เรียนรู้ศิลปะหลายอย่าง  ร่วมทั้งการสื่อสารด้วย   บิวก็เริ่มรู้แล้วว่าเราสนใจเรื่องอะไร  […]

น้องแซค เริ่มต้นเข้ากิจกรรมกับเครือข่ายสร้างสรรค์โดยการให้สัมภาษณ์เรื่องเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง “ผมเป็นรุ่นแรกที่ได้ไปเมืองทองในการนำผลิตภัณฑ์นักเรียนไปจำหน่าย หลังจากนั้นก็ได้ทำงานภายนอกโดยได้ร่วมงานกับ มพด. โดยมีพี่หนิง (ดวงใจ ที่ยงดีฤทธิ์) เป็นคนให้คำปรึกษาและสนับสนุนกลุ่มของผม  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสัญจร กิจกรรมออกบูทศิลปะต่างๆ” การทำงานในกลุ่มเด็ก มองเห็นว่าการทำงานของเครือข่ายพื้นที่สร้างสรรค์ ทำให้เด็กๆมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์  ให้โอกาสให้ทุกๆคนในสังคมได้มีส่วนร่วม และแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ “ผมคิดว่าทำอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์และมีการแบ่งปันโอกาสแห่งความสุขให้กับทุกคน” กิจกรรมศรีสะเกษติดยิ้มที่กำลังทำนั้นเด็กๆกลุ่มเยาวชนพลเมืองสร้างสุข ได้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ไว้และกิจกรรมที่กำลังดำเนินการตอนนี้คือ กิจกรรมตลาดบ้านฉันปันยิ้มที่จะรวมเด็กๆและผู้คนในชุมชนตลาดสดราษีไศลมาทำกิจกรรมร่วมกันโดยการบูรณากลางตลาดสดให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์โดยการนำศิลปะเข้าไปสู่ตลาดนำไปสู่การนำเสนองานศรีสะเกษติดยิ้มปี 2 การทำกิจกรรมครั้งนี้  ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน และสนับสนุนบุตรหลานเข้ามาทำกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์และยังเกิดความภาคภูมิใจในตัวของบุตรหลาน “ตอนนี้น้องๆที่เขามาในกลุ่มเราคุยกันว่าพ่อแม่พี่น้องใครในกลุ่มบ้านใครมีอะไรดีๆที่อยากมีพื้นที่ในการมาขายมาโชว์สินค้าบ้าง อยากให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการออกมาทำกิจกรรมกับลูกๆ มาเห็นว่าลูกทำอะไร เริ่มเอาครอบครัวที่สนใจ และชุมชนยังเป็นกำลังหลักในเรื่องการนำเสนอภูมิปัญญา” การทำกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆของคนในสังคม รวมทั้งได้แนวคิดในการต่อยอด “ผมคิดว่าเมื่อตัวเองได้เป็นนักปกครองอย่างที่หมาย ตามที่ผมได้เรียนมา ผมจะสนับสนุนเขตปกครองของตนเองให้เป็นตัวอย่างพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กอย่างแน่นอน” โดยก่อนที่เข้ามาทำกิจกรรมก็ยังไม่มีคนรู้จักกลุ่มเยาวชน หลังจากที่มาทำกิจกรรมคนในสังคมเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยให้บุตรหลานมาร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้น เมื่อถามว่าคิดว่าทำไมเราและคนอื่นต้องทำกิจกรรม น้องแซคได้เล่าว่า “ผมคิดว่าเรามีแรงบันดาลใจผลักดัน ยกตัวอย่างผมเองได้แรงบันดาลใจจากครู (นายอุดมวิทย์ สุระโคตร ) ผอ. โรงเรียน บ้านกระเดาอุ่มแสง และที่สำคัญ พี่หนิง (ดวงใจ เที่ยงดีฤทธิ์) ที่สนับสนุนและไม่ทิ้งเด็กๆ วันที่ไปสัมมนาที่กรุงเทพ พี่หนิงร้องให้และพูดว่าท้อ ผมเลยได้แรงบันดาลใจที่จะช่วยกันทำงานที่จะรวมพลังเด็กๆในการทำงานทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสังคมบ้านเรา” […]

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย   “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา   ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร   กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]

ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า  “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง” โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน เริ่มต้นคิด…   ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก “แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป” จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ […]

บทความ (8)

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]

“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

บทสัมภาษณ์ (4)

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]