Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
RAYS OF YOUTHนักสื่อสารชายแดน | ชุมชน 3 ดี
RAYS OF YOUTHนักสื่อสารชายแดน

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…”

ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป

กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน

“ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว”

คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป ซึ่งกิกิได้ผ่านกระบวนการเหล่านี้ เธอจึงเลือกเส้นทางการสร้างเยาวชน แทนที่จะผันตัวเองไปเป็นแรงงาน

pic002

“ให้” เพื่อให้ไม่สิ้นสุด

“เท่าที่เรารู้ เราก็อยากให้คนอื่นๆได้รู้เหมือนเรารู้ แล้วพอเขารู้ก็จะป้องกันเขาไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ เพราะหนูก็เคยเป็นเด็กในศูนย์การเรียนรู้ที่แม่สอด ตอนนั้นหนูเห็นเพื่อนที่จบแล้วก็ไม่มีงานทำ เพราะไม่ได้ใบรับรองการศึกษา พ่อแม่ก็จะคิดว่ามาเรียนจบแล้วได้อะไร จบแล้วต้องทำงาน ก็เลยไม่มีใครอยากเรียนจนจบ ถึงเรียนจบไปก็ต้องไปทำงานใช้แรงงานในนา โรงงาน ร้านอาหาร เพราะเขาคิดว่าการศึกษาก็แค่การอ่านได้ก็พอแล้ว คนที่ไม่มีการศึกษาก็เลี้ยงตัวเองได้ เราอยากให้พ่อแม่รู้ว่าการศึกษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดีสำหรับการป้องกันตัวและดีสำหรับการใช้ชีวิต”

ด้วยความเชื่อนี้ทุกการอบรมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม รวมทั้งการอบรบของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ในโครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในสภาวะวิกฤติ อโดยการสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิตเพื่อการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ และเพื่อให้สังคมรับรู้ เข้าใจภาวะวิกฤติของเด็กในสภาวะยากลำบาก และนำไปสู่การความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบแนวคิดในการทำงานคือ ”อยู่ให้รอด เล่นให้ปลอดภัย คิดอย่างสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ”

เป็นการทำงานกับกลุ่มเด็กชาติพันธ์ เด็กต่างชาติที่ประสบภัยพิบัติและแรงงานเด็กต่างชาติ ทั้งจังหวัดระนอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี พังงา เชียงราย เชียงใหม่ กลุ่มเยาวชน สปป.ลาว และตาก โดยสอนการทำละครหน้าขาว หุ่นเงา และครีแอนิเมชั่น

“อบรม 3 วันค่ะ แล้วเราก็กลับมาพัฒนาตัวเองกันก่อน ค่อยจัดอบรมแกนนำเยาวชนในชุมชมอีก 20 คน ถัดไปอีกปีก็ไปสอนที่ศูนย์การเรียนรู้ของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดนดูแลอยู่ เด็กเยาวชนสอนกันได้ดีกว่าเราลงสอนเองเพราะน้องเขารู้และเข้าใจปัญหาในชุมชนดีกว่าพวกเรา ”

pic005

ศูนย์การเรียนในแม่สอดมีทั้งหมด 74 แห่ง และมี 11 แห่ง ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ ซึ่งกิกิและน้องเยาวชน ต้องเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับครูและนักเรียน

การได้ความรู้ครั้งนั้นทำให้กลุ่มเยาวชน Rays of youth ได้ใช้เป็นสื่อในการอบรม ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ รวมถึงเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านสื่อได้ ทั้งละครหน้าขาวการค้ามนุษย์ ทำให้เด็กรู้ถึงกลการหล่อลวงในรูปแบบต่างๆ รู้ถึงสิทธิของตัวเอง ใช้และบอกต่อกับครอบครัวตัวเองได้ ครีแอนิเมชั่นเรื่องจราจร ละครหุ่นเงาที่มีเนื้อหาสื่อสารความเข้าใจกับคนไทยต่อปัญหาที่คนต่างชาติต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ที่แม่สอด

“เราทำครีแอนิเมชั่นให้ความรู้เรื่องการจราจรเพราะในแม่สอดคนพม่าเยอะและไม่เข้าใจสัญญาณจราจร แค่ไฟแดง เขียว เหลือง เขายังไม่รู้กันเลย บางคนโดนรถชนก็จะไปรับการรักษาลำบากมาก เพราะไม่มีบัตร แล้วถ้าเราจะให้ความรู้เขาเรื่องนี้โดยการไปพูดให้เขาฟัง เขาก็จะไม่เห็นภาพ แต่ถ้าเราทำสื่อเป็นหนังการ์ตูน พอเขาดูแล้วก็จะทำให้เข้าใจได้มากกว่าเราไปพูดเฉยๆ เขาจะสนใจ แล้วเขาก็ได้ความรู้ด้วย”

pic004 pic006

นอกจากสื่อ 3 อย่างนั้นแล้ว ยังได้รับการอบรมผลิตสารคดีของ MTV Exit ทำให้ได้ทักษะการเขียนบทและถ่ายภาพ เข้าร่วมอบรมนักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส ทำให้สื่อสารและขยายประเด็นแรงงานต่างชาติในพื้นที่แม่สอดไม่สู่สื่อกระแสหลักได้ แต่ถึงอย่างไร กิกิ และ เพื่อนเยาวชน Rays of Youth ก็ไม่ทิ้งชุมชน นำละครไปเล่นและให้ความรู้เสมอ

“เราลงชุมชนตลอดปีแรกเราจะลง 5 ชุมชน เอาละครหน้าขาว เอาหุ่นเงาไปเล่นให้ดู ถ้าเราทำกิจกรรมตอนเช้า หรือตอนกลางวัน ชาวบ้านก็จะไม่อยู่เพราะต้องทำงาน พวกเราก็ต้องไปเล่นละครกันตอนกลางคืน เรามีเพลง มีการเต้นด้วยจะได้สนุกแล้วก็ได้ความรู้”

pic001

ก่อร่างสร้างคน

จากจุดเริ่มกลุ่มเยาวชน 3 คน นั่นคือ กิกิ จูลี่ (Su Htel Lwin) และ วิค (วิคตอเรีย ทีสุขาติ) ตอนนี้มีแกนนำเยาวชนกว่า 50 คน อบรมให้กับเยาวชนกว่า 1,000 คน

“ตอนนี้ไม่ว่าจะทำสื่ออะไรทั้งหนังสั้น เขียนบท ทำสคริป สัมภาษณ์ ทำหุ่น เล่นละคร พวกเขาทำได้หมด แล้วไม่ใช่แค่พวกเขาที่รู้นะ น้องก็จะสอนกันต่อไป

เหนื่อยนะ…(พักคิดก่อนจะตอบ) แต่ไม่เหนื่อย เพราะว่ามีกำลังใจ เห็นแล้วภูมิใจในตัวเองที่ช่วยเหลือชุมชนกะเหรี่ยงในแม่สอด เหนื่อย…ก็ไม่เป็นไร เพราะสนุกและชอบงานที่เราทำ”

จบประโยครอยยิ้มผุดพรายเต็มใบหน้าอธิบายถ้อยประโยคเมื่อครู่ ว่ามีความสุขได้เต็มภาคภูมิแล้ว ทั้งที่เธอเองก็ยังแน่ใจนักว่าหลังการเปิดเสรีอาเซียนจะเป็นอย่างไร แต่เธอก็ยอมรับว่าสิ่งที่เธอทำวันนี้คือสิ่งที่เธอได้เลือกแล้ว

pic003

ติดตามเรื่องราวของกลุ่มเยาวชน Ray of Youth ได้ที่
1. http://www.facebook.com/raysofyouth
2.http://www.raysofyouth.wordpress.com
3. http://www.youtube.com/user/RaysOfYouth

สุมาลี พะสิม สัมภาษณ์ / เรียบเรียง

เจ้าหน้าที่จัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

ภาพประกอบจาก https://www.facebook.com/pawk.ki

บทความที่เกี่ยวข้อง

20 ก.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมออกบูธงาน “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด งานนี้จัดขึ้นเพื่อประกาศการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการรวมพลังระหว่างภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐในการทำงานพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกระตุ้น เศรษฐกิจฐานราก และสร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายการประสานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยสรุปความว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสดใส ดีใจที่เห็นทุกคนมีรอยยิ้ม หน้าตามีความสุข วันนี้เรามาร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ สร้างพลังเพื่อทำความดีให้ประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง หรือข้าราชการ แต่ทำเพื่อประชาชนทุกคน ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำประชานิยม เพราะประชานิยมเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความนิยมต่อภาครัฐ โดยรัฐบาลนี้เป็นความร่วมมือของรัฐบาลกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา ภายในงาน สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนพาภาคีเครือข่ายร่วมออกงานด้วย อาทิ กลุ่มเพชรบุรี…ดีจัง นำพวงมโหตร มาจัดกิจกรรมให้คนภายในงานร่วมตัดและนำกลับไปเป็นที่ระลึก เป็นอีกสื่อดี ที่ทางสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่าย เปิดเมือง 3 ดีวิถีสุข นั่นคือ สื่อดี  พื้นที่ดี และภูมิดี ส่งผ่านแนวคิดให้กับผู้เข้าร่วมงาน ขอบคุณภาพประกอบจาก กลุ่มลูกหว้า

ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ  วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา  ต.แม่สวด  อ.สบเมย  จ.แม่ฮ่องสอน  ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน  ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ    นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย  เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ  “เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้  เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด” หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ  หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔

20 ส.ค.58 ก้าวย่างสู่ปี2. น้องๆเยาวชนอาสาบางกอกนี้…ดีจัง เข้มข้นกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและลงลึกกับกระบวนการอาสาชวนเพื่อนๆน้องๆ เข้าสู่กระบวนการตามหายิ้มในชุมชน เด็กๆชวนกันมาสกัดข้อมูลพร้อมเตรียมนำเสนอชวนผู้ใหญ่มาสร้างยิ้มให้ชุมชนมีชีวิตเด็กๆมีพื้นที่เล่น ไปให้กำลังใจเด็กๆกัน …พลเมืองอาสาสร้างยิ้ม

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]